เคสรีวิวผลการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในผู้ที่เคยผ่าตัดมาแล้ว

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท วิธีรักษา

ประวัติการเจ็บป่วย

คุณวันธวัช เป็นหมอนรองกระดูกหลังทับเส้นประสาท มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ชาขา ได้รักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แนะนำให้ผ่าตัดเพื่อเลาะพังผืดออก โดยจากประวัติผู้ป่วยได้ผ่าตัดไปทั้งหมด 2 ครั้ง ดังนี้

1. ผ่าตัดครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2555

  • อาการก่อนผ่าตัด : ปวดหลังร้าวลงขาข้างขวา ขาชา ปวดมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • หลังจากผ่าตัด : อาการดีขึ้นมาก สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติ แต่ต้องระวังการใช้ชีวิต เพราะไม่สามารถทำงานยกของหนัก หรือเล่นกีฬาหนักๆ ได้ แต่ผู้ป่วยเผลอไปยกของหนัก จึงทำให้อาการกลับมาทรุด มีอาการปวดชากลับมาอีกครั้ง แพทย์จึงแนะนำให้ผ่าตัดในครั้งที่ 2

2. ผ่าตัดครั้งที่ 2 ซึ่งการผ่าในครั้งนี้ ผู้ป่วยไม่รู้สึกดีขึ้นเลย โดยผู้ป่วยมีอาการดังนี้

  • ปวดหลังร้าวลงขา ขาชา
  • ปวดมากจนรบกวนชีวิตประจำวัน โดย เดินได้ไม่เกิน 10 นาที ต้องหาที่นั่งพัก ยืนนานไม่ได้ ทำให้ยืนละหมาดไม่ได้, นั่งนานไม่ได้ ทำให้ต้องนอนทำงานหน้าคอม
  • หลังแข็งตึง ก้มตัว แอ่นตัวไม่ได้เลย

ซึ่งในเบื้องต้นหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยยังต้องพักฟื้นดูอาการอยู่เป็นเดือน แต่อาการกลับไม่ค่อยดีขึ้น แพทย์จึงให้รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดด้วยการ Ultrasound และ Shockwave ซึ่งทำกายภาพบำบัดอยู่หลายครั้ง แต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น

จากนั้นแพทย์จึงสั่งทำ MRI ดูอีกครั้ง และพบว่ามีพังผืดไปเกาะบริเวณแผลผ่าตัดจนมองไม่เห็นข้อกระดูก เป็นสาเหตุให้การกดทับของเส้นประสาทไม่ดีขึ้น แพทย์จึงตัดสินใจรักษาด้วยการฉีดยาเข้าที่ข้อกระดูก

เมื่อรักษาอยู่เป็นเวลานาน แต่อาการไม่ดีขึ้นเลย ผู้ป่วยจึงได้ค้นหาวิธีรักษาทางเลือก ซึ่งหาข้อมูลอยู่นาน จนกระทั่งมาเจอชนัชพันต์คลินิก ในตอนแรกนั้นผู้ป่วยไม่เชื่อเรื่องศาสตร์การนวดรักษาเลย เพราะแพทย์มักจะสั่งห้ามนวด และคนรอบข้างก็กังวลกลัวว่าถ้านวดแล้วจะเป็นหนักขึ้น แต่เมื่อได้อ่านรายละเอียดการรักษา ดูรีวิว อ่านข้อมูลต่างๆ จนเข้าใจ ก็ได้ตัดสินใจมารักษาในที่สุด โดยเมื่อมารักษาผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

  • หลังจากการรักษา ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น โดยมีอาการปวดน้อยลง หลังแข็งน้อยลง กล้ามเนื้อคลายตัวมากขึ้น สามารถก้มหลังได้มากขึ้น ยืนได้นานขึ้น สามารถยืนละหมาดได้

จากนั้นผู้ป่วยได้กลับไปติดตามอาการกับแพทย์แผนปัจจุบัน (หมอที่ผ่าตัดให้) อยู่เหมือนเดิม แพทย์ได้เช็คอาการเบื้องต้นพบว่า กล้ามเนื้อหลังนิ่มลงอย่างเห็นได้ชัด สามารถก้มตัวได้ เคลื่อนไหวหลังได้ ซึ่งทำให้หมอค่อนข้างแปลกใจกับอาการ ผู้ป่วยจึงเล่าให้ฟังว่าได้มารักษาที่ชนัชพันต์คลินิก

ซึ่งหมอได้ฟังแล้วก็แนะนำให้มารักษาต่อเนื่องได้เลย เพราะแพทย์เห็นแล้วว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจริง ส่วนการรักษากับทางแผนปัจจุบันอาจจะชะลอไปก่อน และหมอจะนัดติดตามอาการเป็นระยะๆ ผู้ป่วยจึงค่อนข้างสบายใจที่แพทย์เห็นด้วยกับการรักษา และจึงมารักษากับทางชนัชพันต์คลินิกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เห็นผลการรักษาดีขึ้นดังนี้

  • อาการปวดหลังร้าวชาลงขา น้อยลงมากกว่า 90% สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ยืน เดิน นั่งนานได้ ยกของ/ทำงานได้เต็มที่เหมือนเดิม
  • ปัจจุบันผู้ป่วยได้รักษาไปมากกว่า 10 ครั้งแล้ว และอาการดีได้นานขึ้นเรื่อยๆ โดยครั้งล่าสุดไม่มีอาการปวดหลังชาลงขาเลยนานกว่า 6 เดือน
  • ผู้ป่วยได้ไปติดตามอาการกับแพทย์แผนปัจจุบันอีกครั้ง และได้ทำ MRI ผลปรากฎว่ารอยดำๆ ของพังผืดที่เกาะจนไม่เห็นข้อกระดูกนั้นได้หายไปแล้ว
กลับสู่สารบัญ

ตำแหน่งที่พบปัญหา

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นความผิดของบริเวณกระดูกสันหลังได้ทั้งหมด โดยเฉพาะแนวกระดูกสันหลังช่วงหลังล่าง สาเหตุเกิดจากตัวกระดูก หมอนรอง หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ เคลื่อนออกไปจากตำแหน่งเดิมจนไปกดทับ หรือเบียดเส้นประสาท ส่งผลให้เส้นประสาทไม่สามารถส่งกระแสประสาทได้ตามปกติ จึงเกิดเป็นอาการปวดร้าวลงขาไปตามแนวเส้นประสาท หรือทำให้เส้นประสาทอักเสบเกิดอาการชา หรือไฟช็อต เสียวแปล๊บ แสบร้อนขึ้นได้

โดยในเคสของผู้ป่วยท่านนี้มีอาการหลักคืออาการปวดหลังล่าง ปวดร้าวลงขา และขาชา ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่สำหรับผู้ที่เคยรักษาด้วยการผ่าตัดมาแล้วนั้้น จะรักษาได้ยากกว่า และหายช้ากว่าผู้ที่ยังไม่เคยผ่าตัดมา อย่างไรก็ตามตำแหน่งที่พบปัญหาที่ต้องรักษานั้น จะขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละท่าน แต่ส่วนมากจะนวดรักษาในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งในเคสของคุณวันธวัชเราพบปัญหาบริเวณต่างๆ ดังนี้

1. กล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนล่าง

ข้อกระดูก L4-L5 มีการกดทับของเส้นประสาท และเป็นจุดที่เคยผ่าตัดไปแล้ว ซึ่งบริเวณนี้มีพังผืดเกาะค่อนข้างเยอะ จนไปดึงรั้งตัวกระดูก หมอนรองกระดูก และกล้ามเนื้อ จนเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท Sciatic ทำให้ปวดหลังล่างร้าวชาลงขาขึ้นมา

กล้ามเนื้อหลัง มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวหลังในท่าก้มตัว เอี้ยวตัว และซัพพอร์ตการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลัง ซึ่งพบกล้ามเนื้อที่มีปัญหาดังนี้

  • Longissimus thoracis เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดยาวตั้งแต่ช่วงหลังส่วนบนจนถึงหลังล่าง
  • Multifidus เป็นกล้ามเนื้อหลังชั้นลึก
  • Quadratus lumborum เป็นกล้ามเนื้อหลังที่ช่วยในการเอียงตัว

2. กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ก้น เป็นกล้ามเนื้อสำคัญที่เป็นทางผ่านของเส้นประสาท Sciatic เพื่อไปเลี้ยงส่วนขา และมีหน้าที่ช่วยในการยืน เดิน

  • Gluteus medius เป็นกล้ามก้นในชั้นกลาง ช่วยในการเดิน วิ่ง เมื่อกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพก ก้น ปวดมากขณะเดิน ยืน นั่ง ได้ทั้งหมด
  • Piriformis กล้ามเนื้อก้น สะโพกชั้นลึก หรือที่หลายคนชอบเรียกจุดสลักเพชร เป็นมัดกล้ามเนื้อหลักที่มีเส้นประสาท Sciatic ลอดผ่านด้านล่างเพื่อเลี้ยงลงขา เมื่อมัดกล้ามเนื้อมีการเกร็งตัว หรืออักเสบ จะส่งผลต่อทางเดินของเส้นประสาท Sciatic โดยตรง ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทได้น้อยลง หรือถูกบีบรัดเกิดการอักเสบ จึงทำให้อาการปวดร้าวชาลงขารุนแรงขึ้นได้

การนวดรักษาของทางคลินิก จะเป็นการนวดตามแนวเส้นประสาท เพื่อเคลียร์ทางให้เส้นประสาทสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดทั่วไป จากตัวอย่างในเคสนี้จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยได้ MRI แล้งพบพังผืดที่เกาะบริเวณข้อกระดูกเป็นจำนวนมาก พังผืดเหล่านี้ได้ไปขัดขวางการส่งสัญญาณของเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาททำงานผิดปกติ และเกิดการอักเสบ ส่งผลให้มีอาการปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาท เกิดอาการชา แสบร้อน อ่อนแรง แปล๊บไฟช็อต เข็มแทง เป็นต้น

ดังนั้นการนวดสลายพังผืด จึงเป็นการกำจัดสาเหตุหลักของปัญหา เพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ปกติ และเพื่อให้เส้นประสาทสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ อาการปวด ร้าว ชา ก็จะดีขึ้นได้ในที่สุด แต่ในสำหรับผู้ที่เคยผ่าตัดมาแล้วนั้น จะมีพังผืดเกาะทั้งบริเวณแผลผ่าตัด และเกาะตามตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บอยู่เดิมด้วย ดังนั้นในผู้ที่เคยผ่าตัดมาแล้วจะมีพังผืดค่อนข้างเยอะ จึงรักษาได้ยากกว่าผู้ที่ยังไม่เคยผ่าตัดมา จึงต้องนวดรักษาหลายครั้งกว่าที่จะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนค่ะ

กลับสู่สารบัญ

ทำไมหลายคนผ่าตัดมาแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือกลับมาเป็นซ้ำได้

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากรักษาในทางแพทย์แผนปัจจุบัน จะใช้วิธีผ่าตัดเป็นการรักษาหลัก ยิ่งในปัจจุบันการผ่าตัดมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยหลายอย่าง ทำให้ผ่าตัดได้ง่าย และมีความเสี่ยงน้อยลง และการผ่าตัดยังเป็นวิธีที่ช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด มีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาสิ่งที่ไปกดทับเส้นประสาทออกโดยตรง เช่น ผ่าเลาะพังผืดออก ผ่าเปลี่ยนข้อกระดูก ผ่าตัดหมอนรองกระดูกออก เป็นต้น ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามปัญหาของผู้ป่วยในเคสนั้นๆ

ข้อดีของการผ่าตัด

  • เห็นผลเร็วว่าการรักษานั้นได้ผลหรือไม่
  • รักษาครั้งเดียว ไม่ต้องลงเป็นคอร์ส หรือไม่ต้องทำบ่อยๆ
  • มีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทำให้ความเสี่ยงลดน้อยลง

ข้อจำกัด

  • ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์ที่ทำการผ่าตัด
  • ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง
  • ต้องมีการพักฟื้นตัวค่อนข้างนานหลังจากการผ่าตัด
  • เป็นการรักษาที่เฉพาะจุด อาจไม่ครอบคลุมตำแหน่งที่มีปัญหาได้ทั้งหมดยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาทั้งบริเวณ คอ หลัง สะโพก ผู้ป่วยจะไม่สามารถรักษาทุกอาการให้หายได้จากการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว
  • จะแก้ปัญหาในเรื่องของข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูกได้เพียงอย่างเดียว แต่จะไม่สามารถแก้อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อรอบข้าง หรือเส้นประสาทที่อักเสบเช่นอาการ อ่อนแรง แสบร้อน ที่เกิดร่วมกับอาการหมอนรองกระดูกได้
  • อาจต้องมีการผ่าตัดซ้ำ หรือผ่าตัดใหม่อีกครั้งในอนาคต
กลับสู่สารบัญ

แล้วทำไมหลายคน ผ่าแล้วไม่ดีขึ้น หรือกลับมาเป็นซ้ำอีก ต้องผ่าใหม่อีก?

ในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับเส้นที่เคยผ่าตัดมาแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้นนั้น มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้การรักษาไม่ได้ประสิทธิภาพได้ ยกตัวอย่างเช่น

1. ผู้ป่วยมีปัญหาลามไปบริเวณอื่นๆ ไม่ได้มีปัญหาเฉพาะจุด เฉพาะตำแหน่งที่ได้รับการผ่าตัดไป เนื่องจากการผ่าตัดจะเป็นการผ่าเพียงจุดเล็กๆ เพื่อแก้ไขปัญหาตามบริเวณข้อกระดูกสันหลังนั้นๆ หากผู้ป่วยมีการกดทับของเส้นประสาทในจุดนั้นจุดเดียว การผ่าตัดจะให้ผลการรักษาที่ดีขึ้นแน่นอน แต่หากมีปัญหาลามไปหลายส่วน เช่น อาจมีปัญหาหลายตำแหน่ง หรืออาจมีปัญหาที่กล้ามเนื้อร่วมด้วย ทำให้การรักษาเพียงจุดเดียว จึงไม่สามารถรักษาอาการให้หายได้ เพราะปัญหาในส่วนอื่นๆ ไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใดนั่นเอง

2. เกิดการบาดเจ็บใหม่จากการผ่าตัด การผ่าตัดเองนั้น สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียงเกิดการบาดเจ็บได้ เพราะการผ่าตัด จะสร้างรอยแผล และทำให้เกิดพังผืดขึ้นมาเกาะเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ  ทำให้เกิดพังผืดใหม่ตามมาด้วย ส่งผลให้เกิดการดึงรั้งของเนื้อเยื่อโดยรอบของตำแหน่งที่ผ่าตัด ซึ่งอาจลุกลามและส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ เกิดการเกร็งตัว แข็งตึง และเกิดเป็นอาการปวดขึ้นในที่สุด

3. เกิดความผิดพลาดขณะผ่าตัด หรือแพทย์ผู้ผ่าตัดไม่เชี่ยวชาญมากพอ เนื่องจากในร่างกายของคนเรานั้น จะมีเส้นประสาทเล็กๆ ยึดโยงกันเป็นจำนวนมาก ในบางครั้งการผ่าตัดอาจทำให้เนื้อเยื่อ หรือเส้นประสาทข้างเคียงเกิดการบาดเจ็บ และทำให้เกิดอาการแย่ลง หรือมีอาการใหม่เพิ่มขึ้น ดังนั้นแพทย์ส่วนใหญ่จะเตือนผู้ป่วยก่อนเสมอว่า การผ่าตัดมีความเสี่ยง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการแพทย์ได้ก้าวหน้าไปไกล มีทั้งเครื่องมือ และเทคโนโลยีทางการแพทย์เข้ามาช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงขึ้นทำให้ ความเสี่ยงลดลง และทำให้หารผ่าตัดแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จะเห็นได้ว่าการผ่าตัดเองก็มีข้อจำกัดหลายๆ อย่าง จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ป่วยบางท่านได้เข้ารับการผ่าตัดแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น หรือดีขึ้นได้เพียงไม่นาน ก็กลับมามีอาการคล้ายๆ เดิมอีกครั้ง หรือในบางท่านอาจมีอาการแย่ลงกว่าเดิม หรือมีอาการใหม่เพิ่มขึ้นมา

กลับสู่สารบัญ

การรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืด จะสามารถรักษาอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นในเคสที่เคยผ่าตัดมาแล้วให้ดีขึ้นได้จริงหรือ ?

การรักษาของทางคลินิกจะรักษาด้วยวิธีการนวดสลายพังผืด ซึ่งจะครอบคลุมทุกอาการปวด ชา อ่อนแรง และความผิดปกติได้แทบทั้งหมด

จากรูปด้านบน ได้อธิบายอาการผิดปกติต่างๆ ว่าเกิดจากการที่มีพังผืดไปเกาะคลุม ดึงรั้ง โดยที่อาการจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่พังผืดเข้าไปเกาะยึด โดยหากพังผืดเข้าไปยึดเกาะบริเวณหมอนรองกระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบข้าง จะทำให้เกิดแรงดึงจนทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งปกติและสามารถไปทับโดนเส้นประสาทที่อยู่บริเวณข้างเคียง ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของขา ผู้ป่วยจึงเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา ขาชา ขาอ่อนแรง หรือที่เรียกว่าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั่นเอง

ดังนั้นเมื่อรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง พังผืดจะถูกกำจัดออกไป การดึงรั้งของข้อกระดูก หมอนรองกระดูก และเนื้อเยื่อนั้นๆ ก็จะคลายตัว การกดทับของเส้นประสาทจะคลายตัว หมอนรองกระดูก หรือตัวกระดูกที่เคลื่อน จะกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมได้เนื่องจากไม่มีการดึงรั้งแล้ว ทำให้การกดทับหายไป ส่งผลให้อาการปวดร้าว ชา เสียว แสบร้อน อ่อนแรง ไฟช็อต หรือความผิดปกติต่างๆ หายไป เพราะเส้นประสาทสามารถกลับมาทำงาน และส่งสัญญาณได้ตามปกติ

การรักษาด้วยการนวดสลายพังผืดนี้ จะรักษาแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน เพราะในผู้ป่วยแต่ละคน จะมีพังผืดเกาะยึดในตำแหน่งที่แตกต่างกัน และจะมีความเหนียว และความแข็งของพังผืดที่แตกต่างกันด้วย ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืดนี้ จึงเป็นการรักษาจากต้นเหตุที่แท้จริง และเป็นการรักษาที่เก็บรายละเอียดได้ครอบคลุมทั่วถึงทั้งในมัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และเส้นประสาท ผู้ป่วยจึงมีอาการที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน และแตกต่างจากการรักษาทั่วไป และเมื่อรักษาจนหายแล้วจะไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต

ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด และ Trigger point

การนวดสลายพังผืด แม้ว่าจะสามารถรักษาอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ ไม่ว่าจะเป็นในเคสที่เพิ่งมีอาการมา ในเคสที่มีอาการหนัก หรือแม้แต่ในเคสที่เคยผ่าตัดมาแล้ว แต่การรักษาก็มีข้อจำกัดที่ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจมารักษา โดยมีรายละเอียดดังนี้ ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืด และ trigger point

กลับสู่สารบัญ

บทส่งท้าย

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และไม่อยากเข้ารับการผ่าตัด หรือผ่าตัดมาแล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้นนั้น การรักษาด้วยวิธีการนวดสลายพังผืดอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะการนวดสลายพังผืดนั้น จะเน้นรักษาจากต้นเหตุหลัก และรักษาครอบคลุมในเนื้อเยื่อทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท ข้อต่อ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการรักษาที่ตรงจุด ให้ผลลัพธ์เทียบเท่ากับการผ่าตัด โดยไม่มีความเสี่ยงที่อาการจะแย่ลง หรือต้องพักฟื้นนาน