หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือ กระดูกทับเส้น เป็นโรคยอดฮิตในปัจจุบัน และเชื่อว่าทุกท่านน่าจะคุ้นชิน หรือเคยได้ยินโรคนี้มาก่อน โดยหากพูดถึงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือ กระดูกทับเส้น มักจะหมายถึงการกดทับของเส้นประสาทบริเวณหลัง โดยเฉพาะหลังส่วนล่าง ซึ่งเป็นส่วนที่เกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อนได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อเรากล่าวถึงโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น จึงหมายถึงการกดทับของเส้นประสาทหลังนั่นเอง
กระดูกทับเส้น เป็นภาวะต่อเนื่องจากการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งอาจจะเกิดจากการยกของหนัก อุบัติเหตุล้มกระแทกพื้น หรือแม้กระทั่งการอยู่ในอิริยาบทที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเวลานานๆ
กระดูกทับเส้น สามารถพบได้เกือบทุกวัย แต่จะพบมากในช่วงวัยทำงานไปจนถึงช่วงสูงอายุ แม้แต่ในผู้ที่ร่างกายแข็งแรง ก็สามารถเป็นกระดูกทับเส้นได้ เพราะภาวะกระดูกทับเส้นสามารถเกิดจากการออกกำลังกาย หรือ การเล่นกีฬาได้
ดังนั้นภาวะกระดูกทับเส้นจึงพบได้หลากหลายอาชีพ และหลายช่วงวัย โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงโรคกระดูกทับเส้นว่ามีอาการอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร เพื่อป้องกันสาเหตุดังกล่าว รวมถึงเมื่อเป็นกระดูกทับเส้นแล้วเราควรรักษาอย่างไร มีแนวทาง และรูปแบบการรักษาอะไรบ้าง
อาการของกระดูกทับเส้น
อาการกระดูกทับเส้นจะมีอาการแตกต่างกันไปตามตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกดทับไป โดยกระดูกทับเส้นนั้นจะเกิดจากข้อกระดูกสันหลังที่มีการเคลื่อน หรือบิดออกไปจากแนวปกติ จนไปกดทับเส้นประสาทบริเวณรอบข้อกระดูกนั้นๆ และสามารถเกิดได้กับทุกข้อกระดูกสันหลัง แต่จะพบมากบริเวณหลังช่วงล่างตรงตำแหน่งข้อกระดูก L4-L5-S1 ซึ่งในบทความนี้เราจะกล่าวถึงการกดทับของกระดูกสันหลังส่วนล่างนี้เป็นหลัก ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการหลักๆ ดังนี้
1. อาการปวดหลัง ปวดหลังส่วนล่าง ปวดเอว ปวดสะโพก หรือปวดก้น อาจปวดเพียงบริเวณใดบริเวณหนึ่ง หรือปวดร่วมกันทั้งหมดก็ได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของข้อกระดูกที่ไปกดทับเส้นประสาท โดยจุดที่พบการกดทับบ่อยคือช่วงข้อ L4-L5 ซึ่งเป็นตำแหน่งของข้อกระดูกที่อยู่บริเวณหลังส่วนล่างชิดกับแนวก้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังล่างเป็นส่วนมาก
2. อาการปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาท เกิดจากการที่เส้นประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณประสาทได้ปกติ หรือ เกิดภาวะเส้นประสาทอักเสบขึ้น โดยอาการของเส้นประสาทที่ทำงานผิดปกติมีหลากหลายอาการทั้งอาการชา แสบร้อน แปล๊บ ไฟช็อต เข็มแทง ตื้อๆ หนาๆ ยิบๆ ซ่าๆ เป็นต้น แต่อาการที่พบบ่อยที่สุดก็คืออาการปวดลงขา ชาขา ซึ่งการกดทับของเส้นประสาทที่พบได้บ่อยมีดังนี้
- การกดทับของเส้นประสาท Sciatic ซึ่งเป็นเส้นประสาทหลักสำคัญที่เชื่อมจากโพรงประสาทในกระดูกหลังข้อ L4-L5 ทอดผ่านลงก้น ลงขา จนถึงปลายขา เมื่อมีการกดทับของเส้นประสาท Sciatic จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ขาชา ดังนั้นอาการปวดหลังร้าวชาลงขาจึงเป็นอาการหลักที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นกระดูกหลังทับเส้นประสาท แต่หากมีการกดทับของเส้นประสาทเป็นเวลานาน หรือรุนแรงขึ้น จะส่งผลให้เส้นประสาทไม่สามารถสั่งการกล้ามเนื้อขาได้ ผู้ป่วยจะมีอาการขาอ่อนแรง หรือกลายเป็นภาวะกล้ามเนื้อลีบ ขาลีบได้ในที่สุด
- การกดทับของเส้นประสาท Cauda equina หรือเส้นประสาทหางม้า/แส้ม้า เป็นเส้นประสาทบริเวณก้นกบ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน เมื่อเส้นประสาท Cauda equina ถูกกดทับ จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดแสบร้อนก้น ก้นกบ รอบทวารหนัก เชิงกราน หรือบางรายที่มีการกดทับมากจะส่งผลต่อการขับถ่าย โดยจะควบคุมการขับถ่ายได้น้อยลง อั้นปัสสาวะ/อุจจาระไม่อยู่
เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่าอาการหลักของกระดูกหลังทับเส้นที่พบได้บ่อยคือ อาการปวดหลังส่วนล่างร้าวลงขา ขาชา แต่ก็ไม่ใช่ทุกเคสเสมอไป เพราะบางคนปวดหลัง แต่ไม่ร้าวลงขา แต่ไปมีอาการชาปลายเท้าแทน หรือบางคน ปวดเด่นที่ขา ชาขา แต่ไม่ค่อยรู้สึกปวดหลังก็มี ขึ้นอยู่กับว่า ณ ตอนนั้น เส้นประสาทชุดใดถูกกดทับ และอักเสบมากกว่ากัน ชุดที่ถูกกดทับมากกว่าจะแสดงอาการออกมาชัดเจนกว่าชุดเส้นประสาทที่ถูกกดทับ และอักเสบน้อยกว่า
กลับสู่สารบัญสาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกทับเส้น
โรคกระดูกทับเส้น เกิดได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นการทำงาน พฤติกรรม หรืออุบัติเหตุ ที่ส่งผลให้ตัวข้อกระดูก หรือเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียงกระดูกสันหลังเกิดการบาดเจ็บขึ้นมา โดยอาจเป็นเพียงการบาดเจ็บสะสมทีละน้อยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือ การบาดเจ็บที่รุนแรงจากอุบัติเหตุ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิดกระดูกทับเส้นได้ดังนี้
1. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือ อยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการนั่งเก้าอี้ยุบ หรือเบาะรองนั่งไม่ดี นั่งเอนไปด้านใดด้านหนึ่ง การนั่งไขว้ห้าง การนั่งหลังค่อม เป็นต้น
2. การยกของหนัก การยกของที่ต้องก้มๆ เงยๆ การยกของที่ต้องมีการเหวี่ยงตัว การอุ้มคน/ยกตัวผู้ป่วย รวมถึงการแบกหาม เป็นต้น ทั้งในปัจจุบัน และในอดีตที่เคยทำมา
3. การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา เช่น การยกเวทที่หนักเกินไป หรือ ยกไม่ถูกท่า การเล่นกีฬาที่มีการกระแทกอยู่เสมอๆ เช่น ยูโด เทควันโด ชกมวย บาสเก็ตบอล รักบี้ มอเตอร์ไซด์วิบาก เป็นต้น
4. อุบัติเหตุ เช่น การหกล้มก้นกระแทกพื้น ลื่นล้มขาฉีก ก้มตัวหยิบของผิดจังหวะ การขับรถตกหลุมบ่อที่เกิดการกระแทก หรืออุบัติเหตุที่มีการกระแทกบริเวณหลัง
จากสาเหตุข้างต้นนี้ล้วนสามารถทำให้เกิดภาวะกระดูกทับเส้นได้ โดยบางสาเหตุอาจทำให้เกิดอาการแบบเฉียบพลันเช่น การเกิดอุบัติเหตุ แต่บางสาเหตุจะใช้เวลาสะสมค่อนข้างนานกว่าจะเกิดเป็นภาวะกระดูกทับเส้น เช่น พฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน
กลับสู่สารบัญกระบวนการเกิดโรคกระดูกทับเส้น
กระดูกทับเส้น เกิดจากตัวกระดูกสันหลัง หรือหมอนรองกระดูก เกิดการเคลื่อนที่ออกไปจากตำแหน่งเดิม จนไปกดทับ/เบียดเส้นประสาท และเนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียง เราจึงเรียกว่า กระดูกทับเส้น หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โดยสาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูก หรือตัวกระดูกเคลื่อนออกไปได้นั้นคือ “พังผืด” ดังนั้นพังผืดจึงเป็นต้นตอ และสาเหตุหลักของโรคกระดูกทับเส้น
โดย “พังผืด” เป็นสิ่งที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมาหลังจากการซ่อมแซมการบาดเจ็บภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ โดยเมื่อเกิดการบาดเจ็บ จะเกิดกระบวนการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) และหลังจากนั้นก็จะเกิดพังผืดขึ้นตามมา โดยพังผืดนี้เองจะเข้าไปยึดเกาะตามตำแหน่งที่บาดเจ็บนั้นๆ จนเกิดการดึงรั้งกันระหว่างเยื่อที่พังผืดเข้าไปยึดเกาะ เช่น พังผืดที่เข้าไปดึงรั้งใยมัดกล้ามเนื้อก็จะทำให้กล้ามเนื้อยิดติด เมื่อพังผืดไปเกาะเส้นเอ็น ก็จะทำให้เส้นเอ็นแข็งเกร็ง หรือเข้าไปยึดเกาะข้อต่อ ก็จะทำให้ข้อต่อยึดล็อก หรือไปเกาะกระดูกก็จะทำให้กระดูกเสื่อมสภาพ
ดังนั้นเมื่อพังผืดไปยึดเกาะตามตำแหน่งใดๆ ก็จะเกิดการดึงรั้งกันระหว่างเนื้อเยื่อรอบๆ กับพังผืด จนทำให้เนื้อเยื่อนั้นๆ เกิดการบิด เคลื่อนผิดไปจากตำแหน่งเดิม จึงเกิดเป็นโรคกระดูกทับเส้นได้นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น
- พังผืดดึงรั้งให้กระดูกทั้งสองข้อเคลื่อนเข้าหากัน ก็จะเกิดแรงบีบระหว่างข้อกระดูก จะทำให้หมอนรองกระดูกถูกกดเบียดจนปลิ้นออกมากดทับเส้นประสาท จากภาพ x-ray หรือ MRI จะเห็นช่องว่างระหว่างข้อกระดูกแคบลง และเห็นภาพของหมอนรองกระดูกทรุด
- แต่หากพังผืดไปเกาะตามข้อต่อกระดูกโดยตรง ก็จะทำให้ข้อกระดูกเสื่อม ผลจากการ x-ray หรือ MRI อาจเห็นเป็นข้อกระดูกดำๆ
- หรือตัวพังผืดเกาะที่เนื้อเยื่อรอบๆ ข้อจนไปดึงรั้งตัวข้อกระดูก จะทำให้ข้อกระดูกเคลื่อน เกิดเป็นภาวะกระดูกเคลื่อน จากการ x-ray หรือ MRI จะเห็นข้อกระดูกเบี้ยวไม่ตรงตามแนวแกนสันหลัง
ซึ่งการวินิจฉัยโรคก็จะแตกต่างกันไปตามปัญหาที่พบ แต่การรักษาก็ยังรักษาเหมือนกัน เพราะเน้นรักษาไปที่การแก้การกดทับของเส้นประสาท
กลับสู่สารบัญการรักษากระดูกทับเส้นในปัจจุบัน
ในปัจจุบันมีวิธีรักษากระดูกทับเส้นหลากหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็มีรูปแบบการรักษาที่แตกต่างกันไป แบ่งได้เป็นแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์ทางเลือก ซึ่งสรุปการรักษาหลักๆ ได้ 2 ทางคือ
1. แพทย์แผนปัจจุบัน การรักษาจะมีทั้งการใช้ยารักษา เช่น กินยา ฉีดยา การรักษาด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น การทำกายภาพบำบัด การรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบันนั้นมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทั้งในการวินิจฉัยและรักษาเพื่อให้มีประสิทธิภาพ และความแม่นยำที่สูงขึ้น
2. แพทย์ทางเลือก มีหลากหลายการรักษาทั้งแผนตะวันออก แผนตะวันตก แพทย์พื้นบ้าน ยกตัวอย่างการรักษาที่นิยมในปัจจุบัน เช่น
- การฝังเข็ม ครอบแก้ว
- ฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้า
- จัดกระดูกแบบไคโรแพคติก จัดกระดูกแบบดึงผ้าขาวม้า ตอกเส้น
- นวดไทย นวดแก้อาการ นวดสลายพังผืด
ซึ่งแต่ละศาสตร์การรักษาก็จะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป รวมถึงมีการวินิจฉัย และศาตร์การวิเคราะห์โรคที่แตกต่างกัน จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่อยากรักษาด้วยวิธีการทางแผนปัจจุบัน
การรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืด สามารถรักษากระดูกทับเส้นได้อย่างไร
การรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืดของทางคลินิก มีหลักการรักษาโดยเน้นไปที่การสลายพังผืดที่ยึดเกาะกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และกระดูก ซึ่งเราเชื่อว่าเป็นการแก้ที่ต้นเหตุของโรคอย่างแท้จริง เพราะจากข้างต้นจะเห็นได้ว่าปัญหานั้นเริ่มเกิดจากพังผืด เมื่อเราแก้พังผืดออกได้เท่ากับว่าสามารถกำจัดต้นเหตุของปัญหาออกได้
เพราะเมื่อสลายพังผืดออกจนหมดแล้ว กล้ามเนื้อก็จะคลายตัว เส้นเอ็นจะกลับมามีความยืดหยุ่น การดึงรั้งระหว่างข้อกระดูกก็จะหายไป เมื่อไม่มีการดึงรั้งแล้ว ตัวกระดูก หมอนรองกระดูก ที่เคลื่อนไปก็จะกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม ทำให้การกดทับของเส้นประสาทหายไปด้วย โดยทุกอย่างนั้นสามารถฟื้นตัว และกลับเข้าสู่สภาวะเดิมได้โดยใช้ระบบการจัดการของร่างกาย เพราะร่างกายเราจะพยายามรักษาสมดุลให้สามารถทำงานได้ปกติอยู่เสมอ
ที่ชนัชพันต์คลินิก เราเป็นคลินิกที่รักษาภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นได้ทุกระยะ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จนถึงระยะทรุดหนัก ทางคลินิกรักษาด้วยวิธีการนวดสลายพังผืด และ Trigger point ซึ่งเป็นรูปแบบการรักษาเฉพาะของทางคลินิก เน้นการรักษาที่มุ่งหวังให้ผู้ป่วยดีขึ้นอย่างถาวร ที่คลินิกเรามีเคสกระดูกทับเส้นทุกวัน ผู้ป่วยมีผลการรักษาที่ดีขึ้นอย่างแตกต่างจากการรักษาทั่วไป มีรีวิวการรักษามากมาย ทั้งผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ ไปถึงผู้ที่เป็นหนักจนหมอนัดผ่าตัด รวมถึงผู้ที่ผ่าตัดมาแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น
แต่การรักษาด้วยวิธีการนวดสลายพังผืดนั้น ก็มีข้อจำกัด และสิ่งที่ผู้ป่วยควรศึกษาเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์แก่ตัวผู้ป่วยเอง โดยสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีนวดแก้อาการสลายพังผืด
รีวิวการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม
บทส่งท้าย
กระดูกทับเส้น หรือ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แท้จริงแล้วไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพียงแต่การรักษาทั่วๆ ไปอาจยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษา จึงทำให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับอาการปวดที่เรื้อรัง และรู้สึกว่าเป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะฉะนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บที่จะสามารถนำไปสู่ภาวะกระดูกทับเส้น จึงเป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่ตอนนี้
ผู้อ่านจึงควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมตนเอง ว่ามีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณหลัง หรือไม่ หากมีก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านั้น เช่น การพยายามนั่งทำงานให้ถูกท่า การลุกเปลี่ยนท่าบ่อยๆ การยกของให้ถูกท่า หรือหลีกเลี่ยงการยกของที่หนักจนเกินกำลังเพียงคนเดียว
และถึงแม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงสาเหตุข้างต้นที่ทำให้เกิดกระดูกทับเส้นได้ทั้งหมด แต่การรู้ถึงสาเหตุจะช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เราควบคุมได้ รวมถึงการรู้เท่าทันถึงอาการของตนเอง เพื่อประเมินความรุนแรงของอาการ และหาการรักษาที่เหมาะสมกับตนเอง ณ ช่วงนั้นๆ ก็เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยป้องกันไม่ให้อาการหนักขึ้น เพราะเมื่อเกิดอาการผิดปกติขึ้นมาแล้วรีบรักษา ก็จะรักษาได้ง่ายไม่สะสมจนทรุดหนักในอนาคต