ประวัติการเจ็บป่วย
คุณนุสรา อายุ 41 ปี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานทำบัญชี ซึ่งลักษณะงานต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ และอยู่ในท่าก้มหน้าทำเอกสารอยู่เป็นเวลานานทั้งวัน ซึ่งทำมาตลอด 10 ปี ส่งผลให้มีปัญหาสะสมจนเกิดอาการขึ้นดังนี้
- ปวด และชาบริเวณต้นคอ บ่า สะบัก
- ปวดร้าวลงแขนข้างขวา ชาลงแขนขวา ปวดขัดบริเวณข้อศอก และชาปลายนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนาง
- เมื่อเงยหน้าจะปวดร้าว และชาลงแขนมากขึ้น
- ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน เช่น เขียนหนังสือไม่ได้ เพราะมือสั่น และเจ็บขณะใช้งานแขน และมือ หรือจับเมาส์นานไม่ได้ เพราะแขน และมือชา
โดยผู้ป่วยเริ่มมีอาการหนักมาประมาณ 4 เดือน จึงได้ไปรักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์ได้ทำการ x-ray และแจ้งผลว่าผู้ป่วยมีภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท แพทย์รักษาด้วยการให้เพียงยาแก้ปวดมาทาน และส่งตัวไปทำกายภาพบำบัดอยู่ 2 ครั้ง อาการดีขึ้นเล็กน้อย ผู้ป่วยจึงรักษาด้วยการฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้าเพิ่มอีก 4-5 ครั้ง อาการดีขึ้นได้เพียงชั่วคราว แต่สุดท้ายอาการก็กลับมาปวด และชาดังเดิม
ซึ่งผู้ป่วยใช้เวลารักษาตัวด้วยวิธีดังกล่าวนานกว่า 3 เดือน แต่ก็ไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยจึงหาวิธีการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือกอื่นๆ จนมาเจอเพจของชนัชพันต์คลินิก ซึ่งเมื่อผู้ป่วยได้ศึกษาข้อมูล และดูรีวิวต่างๆ จนมั่นใจ จึงตัดสินใจมารักษาที่ชนัชพันต์คลินิก โดยมีผลการเปลี่ยนแปลงของอาการเปลี่ยนไปดังนี้
- มารักษาครั้งที่ 1 วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2563
หลังจากการรักษา อาการดีขึ้นอย่างชัดเจน โดยปวดคอ บ่า น้อยลง เจ็บข้อศอกน้อยลง อาการชาดีขึ้น สามารถจับเมาส์ทำงานได้นาน เขียนหนังสือได้ดีเพราะมือสั่นน้อยลง แต่ยังไม่หายเป็นปกติ
- มารักษาครั้งที่ 2 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2563
หลังการรักษา อาการดีขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด ดีขึ้นเกือบ 100% ไม่มีอาการปวด ตึง ชา เลยนานกว่า 7 เดือน อาการมือสั่นน้อยลงมากจนมากจนเกือบปกติ
- มารักษาครั้งที่ 3 วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2563
ผู้ป่วยได้ไปหิ้วของหนักๆ มา ทำให้กลับมาเริ่มมีอาการอีกครั้ง แต่ไม่รุนแรงเท่าครั้งแรก แต่ผู้ป่วยไม่อยากปล่อยทิ้งไว้ เพราะกลัวอาการจะทรุดหนักเหมือนเมื่อก่อน จึงรีบเข้ามารักษาอาการที่เพิ่งปรากฏขึ้น
กลับสู่สารบัญตำแหน่งที่พบปัญหา
ในเคสนี้ผู้ป่วยมีปัญหากระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท ซึ่งเส้นประสาทบริเวณคอนั้นจะทอดยาวจากก้านคอ หรือแนวกระดูกสันหลังบริเวณต้นคอแตกออกมาเลี้ยงบ่า ไหล่ ลงแขนจนถึงปลายมือ เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับไป จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าว หรือชาตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ อาการหลักๆ ที่พบ ได้แก่
- ปวดคอ ปวดบ่า ปวดสะบัก
- ปวดร้าวลงแขน ปวดข้อศอก
- ชาลงแขน ชาฝ่ามือ ชานิ้วมือ
- หากเป็นเรื้อรังมานาน หรือมีความรุนแรงขึ้น ก็จะมีอาการอื่นๆ ตามมา เช่น แขนอ่อนแรง กล้ามเนื้อแขนลีบ มือสั่น เป็นต้น
เพราะฉะนั้นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และทำให้เห็นผลได้ถาวรนั้น จะต้องรักษาครอบคลุมทุกตำแหน่งที่มีปัญหาทั้งในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และเส้นประสาทบริเวณคอ บ่า สะบัก แขนทั้งหมด ดังนี้
1. โครงสร้างกระดูกสันหลัง
กระดูกส่วนคอ หรือ Cervical Spine ประกอบด้วยกระดูกทั้งหมด 7 ข้อ คือ C1-C2-C3-C4-C5-C6-C7 โดยอาการกระดูกคอทับเส้นประสาทนั้น สามารถเกิดกับกระดูกข้อใดก็ได้ ซึ่งในแต่ละข้อจะมีเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแตกต่างกันไป จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแตกต่างกัน ในบางรายอาจมีอาการปวดขึ้นศีรษะ บางรายก็อาจมีอาการปวดร้าวลงแขน เป็นต้น
ซึ่งในเคสของผู้ป่วยท่านนี้ มีปัญหาหลักอยู่บริเวณข้อกระดูก C5-C6-C7 ส่งผลให้มีอาการปวดต้นคอร้าวลงแขนเกิดขึ้น
2. กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ
- กล้ามเนื้อบริเวณกระดูกคอช่วงข้อ C5-C7 เมื่อกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อกระดูกเกิดการเกร็งตัว รวมถึงมีพังผืดเข้าไปยึดเกาะ จึงเกิดแรงดึงรั้งระหว่างกล้ามเนื้อ และข้อกระดูก จึงทำให้กระดูกเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาท ซึ่งผู้ป่วยในเคสนี้มีปัญหาหลักบริเวณข้อ C5 , C6 และ C7
- Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอด้านข้างทอดยาวมาจนถึงสะบัก มีหน้าที่ก้มศีรษะ และเอียงคอ เมื่อกล้ามเนื้อ Levator scapulae มีปัญหา จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดต้นคอ บ่า และตึงต้นคอขณะก้ม หรือเอียงศีรษะ
- Scalene เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณซอกคอ มีทั้งหมด 3 มัด คือ Scalene anterior, Scalene middle และ Scalene posterior ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นประสาท Brachial plexus ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของแขน ทอดผ่าน เมื่อกล้ามเนื้อ Scalene เกร็งตัวจึงไปรบกวนเส้นประสาท Brachial plexus ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวชาลงแขน (ตามแนวของเส้นประสาท) ได้
- Sternocleidomastoid เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สุดบริเวณต้นคอ ทำหน้าที่ในการเอียงคอ และก้มศีรษะ เมื่อเกิดการเกร็งตัวจึงทำให้เคลื่อนไหวคอได้ลดน้อยลง เกิดอาการตึงรั้งขณะ ก้ม เอียงศีรษะ
3. กล้ามเนื้อบริเวณสะบัก
- Supraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณบ่า เมื่อเกิดการเกร็งตัว จึงทำให้มีอาการปวดบริเวณบ่าขึ้น
- Infraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก เมื่อเกิดการเกร็งตัว จึงทำให้มีอาการปวดสะบักร่วมด้วย
4. กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน
- Iliocostalis-cervical part เป็นกล้ามเนื้อชั้นลึกที่ทอดยาวจากช่วงคอถึงสะบัก โดยมัดกล้ามเนื้อนี้มีเส้นประสาท ที่เลี้ยงมาจากกระดูกคอข้อ C5-C7 จึงทำให้มีการรบกวนของเส้นประสาททอดยาว ตั้งแต่ต้นคอจนถึงหลังช่วงสะบัก
- Iliocostalis thoracis เป็นกล้ามเนื้อชั้นลึกบริเวณบ่าทอดยาวลงมาช่วงกลางหลัง พบมีการเกร็งตัวร่วมด้วยจากการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ทำให้มีอาการปวดตึงถึงช่วงกลางหลังได้
5. กล้ามเนื้อบริเวณแขน
- Biceps brachii เป็นกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า ซึ่งเป็นจุดที่เส้นประสาท Brachial plexus และ Median nerve ทอดผ่าน จึงจำเป็นต้องคลายมัดกล้ามเนื้อ Biceps brachii เพื่อให้เส้นประสาทส่งสัญญาณลงแขนได้สะดวก เพื่อแก้อาการร้าวชาลงแขน
- Flexor digitorum superficialis เป็นกล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างจนถึงฝ่ามือ ที่ทำหน้าที่ในการงอนิ้ว ทำให้ผู้ป่วยกำมือ เขียนหนังสือลำบาก และมือสั่น รวมถึงเป็นจุดที่เส้นประสาท Median nerve ทอดผ่านโดยตรง จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการชาแขนลงนิ้วโป้ง ชี้ กลาง นาง
6. เส้นประสาท
- Brachial plexus เป็นเส้นประสาทที่แตกออกจากบริเวณกระดูกคอข้อ C5-T1 ทอดยาวผ่านต้นคอ รักแร้ ลงต้นแขน เมื่อเส้นประสาทชุดนี้มีปัญหา ไม่ว่าจะมีสาเหตุจากกระดูกกดทับ หรือกล้ามเนื้อเกร็งหนีบรัดจนขัดขวางทางเดินของเส้นประสาท จึงทำให้มีอาการร้าวชาลงตามแนวเส้นประสาทชุดนี้
- Median nerve เป็นเส้นประสาทที่แตกแขนงออกจาก Brachial plexus มาเลี้ยงบริเวณข้อศอกลงแขนท่อนล่างด้านหน้า จนถึงนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนิ้วนาง
เมื่อเส้นประสาทถูกรบกวนจากการกดทับจากข้อกระดูก หรือพังผืด จะส่งสัญญาณผิดเพี้ยนไป จึงเกิดเป็นอาการชา แสบร้อน แปล๊บๆ คล้ายไฟช็อต หรือ เข็มแทง หรือบางรายรู้สึกตื้อๆ หนาๆ เกิดขึ้นตามแนวเส้นประสาทชุดนั้น ซึ่งอาการของผู้ป่วยในเคสนี้ค่อนข้างสัมพันธ์กับเส้นประสาท Brachial plexus และ Median nerve นั่นเอง อย่างไรก็ตามหากมีการกดทับของเส้นประสาทเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้อาการรุนแรงขึ้น โดยผู้ป่วยมักจะมีอาการอ่อนแรง สั่น จนกระทั่งกล้ามเนื้อลีบตามมา
กลับสู่สารบัญการรักษาอาการกระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยการนวดสลายพังผืด และ trigger point
การรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องเข้าใจสาเหตุหลักที่เป็นปัญหา ที่ส่งผลให้เกิดโรคนั้นๆ และทำการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด และได้ผลการรักษาที่ดีขึ้นอย่างถาวรโดยในเคสของอาการกระดูกคอทับเส้นประสาทนั้น อาการปวด ชา ที่พบ จะเกิดจากข้อต่อกระดูกคอเคลื่อนตำแหน่งออกจากแนวเดิม จนไปกดทับรบกวน หรือกดทับเส้นประสาทบริเวณข้างเคียง ทำให้เส้นประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณได้ตามปกติ ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ หรืออวัยวะต่างๆ ที่เส้นประสาทดังกล่าวควบคุมอยู่
เพราะฉะนั้นในเคสของกระดูกคอเคลื่อนทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการหลักๆ คือ ปวดคอ ปวดบ่า ปวดสะบัก ปวดแขน ชาแขน ชาปลายมือ หรือในบางรายอาจปวดขึ้นหัว ปวดขมับ ปวดกระบอกตา หรือเป็นไมเกรนร่วมด้วย โดยอาการจะแตกต่างกันไปตามชุดเส้นประสาทที่ถูกรบกวนไป
ซึ่งโดยปกติแล้ว อาการปวด ชา ที่เกิดขึ้นจากกระดูกคอทับเส้นประสาทนั้น จะมีต้นเหตุหลักๆ ดังนี้
1. Trigger point ในกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็น
Trigger point คือ กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นที่เกร็งตัวจนเป็นก้อนปม และแทรกอยู่ใบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก เลือดไม่สามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้อย่างสะดวก ทำให้ของเสียคั่งค้างอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ ผู้ป่วยจึงมีอาการปวด ตึง เมื่อย เกิดขึ้น
ดังนั้นยิ่งมี trigger point มาก กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นในบริเวณนั้นๆ จะยิ่งอ่อนแอ และเกิดอาการเกร็งมากขึ้น เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้รับสารอาหาร และออกซิเจนไม่เพียงพอ และเมื่อกล้ามเนื้อเกร็งตัวมากจนถึงจุดหนึ่ง จะสามารถเบียด หนีบ หรือรบกวน แนวเส้นประสาทบริเวณรอบข้างได้ ทำให้เส้นประสาททำงานผิดปกติไปจากเดิม ผู้ป่วยจึงเกิดอาการชา แสบร้อน อ่อนแรง ไฟช็อต ตามแนวเส้นประสาทที่ถูกรบกวน เป็นต้น
สาเหตุของการเกิด trigger point นั้น จะได้แก่ การใช้งานมัดกล้ามเนื้อในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมนานๆ จนกล้ามเนื้อ คอบ่าไหล่ เกิดอาการเกร็งตัว การอยู่ในท่าก้มหรือเงยคอนานๆ การขับรถนานๆ จนกล้ามเนื้อคอบ่าเกิดอาการเมื่อยล้า การสะพายกระเป๋าหนักทับบริเวณบ่าเป็นเวลานานๆ เป็นต้น
2. พังผืด
พังผืดเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และเส้นเอ็นต่างๆ บริเวณคอ ที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บนั้นๆ ซึ่งพังผืดนี้จะค่อยๆ สะสมอยู่ภายในมัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อ และทำให้เกิดการยึดรั้งในบริเวณที่มีพังผืดไปเกาะคลุม
โดยหากพังผืดยึดรั้งระหว่างกล้ามเนื้อด้วยกัน ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวด ตึง ในขณะทำอิริยาบถที่ต้องใช้มัดกล้ามเนื้อนั้นๆ แต่หากพังผืดไปเกาะคลุมบริเวณกล้ามเนื้อ และข้อต่อ จะส่งผลให้เกิดแรงดึงรั้งให้ข้อต่อ ข้อกระดูก หรือหมอนรองกระดูก เคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งปกติ และอาจไปกดทับเส้นประสาทบริเวณข้างเคียงได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวด ชา อ่อนแรง กล้ามเนื้อสั่น ไปตามเนวเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
โดยสาเหตุของการเกิดพังผืดบริเวณคอนั้น มีได้หลายสาเหตุุ ได้แก่ อุบัติเหตุ เช่น การขับรถชน หรือมีรถมาชนท้าย เพราะจะเกิดแรงกระชากบริเวณต้นคออย่างกระทันหัน จึงทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บไม่รู้ตัว หรือเกิดจากการอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกลักษณะซ้ำๆ เป็นเวลานานๆ จนมี trigger point เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวซ้ำๆ และเกิดเป็นการบาดเจ็บขึ้นในที่สุด
จะเห็นได้ว่า ตัวเหตุหลักที่ทำให้มีปัญหากระดูกคอทับเส้นประสาทนั่นก็คือ พังผืด และ trigger point เพราะฉะนั้นการรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืด และ trigger point จึงเป็นการกำจัดปัญหาออกโดยตรง
กล่าวคือ เมื่อพังผืด และ trigger point ถูกสลายออก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ จะคลายตัวจากอาการเกร็ง ยึดรั้ง และกลับมามีความยืดหยุ่นดังเดิม เลือดจะสามารถไหลเวียนนำพาสารอาการ และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เคยมีปัญหาได้อย่างเต็มที่ เส้นประสาทก็จะกลับมาทำงานได้ตามปกติ อาการปวด ชา และอาการผิดปกติอื่นๆ ก็จะหายไป และไม่กลับมามีอาการซ้ำๆ อีก เพราะไม่มีการยึดรั้งเกิดขึ้น
รวมถึงตัวกระดูกคอที่เคลื่อนไปนั้น เมื่อไม่มีพังผืดมาดึงรั้งแล้ว ร่างกายจะค่อยๆ ปรับให้ข้อกระดูกกลับเข้าตำแหน่งเดิมเองได้ เพราะฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าการนวดสลายพังผืด และ trigger point สามารถรักษาอาการกระดูกคอทับเส้นประสาทได้อย่างตรงจุด เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้นได้อย่างชัดเจน และถาวร
กลับสู่สารบัญข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด และ trigger point
ก่อนผู้ป่วยจะตัดสินใจรักษาอาการ กระดูกคอทับเส้นประสาท ด้วยวิธีการนวดสลายพังผืด และ trigger point นั้น ผู้ป่วยควรพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการรักษา รวมถึงข้อควรระวังอื่นๆ เพื่อผลลัพธ์สูงสุดต่อตัวผู้เอง โดยสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่
กลับสู่สารบัญบทส่งท้าย
สำหรับเคสของคุณนุสรา สาเหตุของอาการกระดูกคอทับเส้นประสาทที่เกิดขึ้น เกิดจากการนั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน และด้วยท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง ทั้งการก้มหน้ามากเกินไป การนั่งแช่และไม่ได้ขยับร่างกายทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่า สะบักเกิดการเกร็งตัว เกิดเป็น trigger point และมีพังผืดไปเกาะจนขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดคอ บ่า สะบักเกิดขึ้น
และเมื่อมีการสะสมเป็นระยะเวลานานเข้า พังผืดจะเข้าไปเกาะคลุมข้อกระดูกคอ ทำให้เกิดอาการดึงรั้งระหว่างข้อกระดูก และกล้ามเนื้อรอบข้าง ส่งผลให้ข้อกระดูกเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งปกติไปกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจึงเกิดอาการปวดคอ ปวดร้าวลงแขน ชาแขน และชามือเกิดขึ้น
ซึ่งจากอาการของคุณนุสรามีการกดทับของเส้นประสาทค่อนข้างรุนแรง ทำให้ใช้งานแขนและมือลำบาก เพราะนอกจากปวด และชาแล้ว ยังมีอาการมือสั่นร่วมด้วย โดยอาการในลักษณะนี้ถือว่าเป็นอาการที่ค่อนข้างหนัก ซึ่งการรักษาทั่วๆ ไปเป็นเพียงการบรรเทาอาการได้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะไม่ได้มีการกำจัดพังผืด และ trigger point ออก จึงไม่สามารถรักษาอาการให้ดีขึ้นได้อย่างแท้จริง ผู้ป่วยจึงมีอาการดีขึ้นได้เพียงชั่วคราว และกลับมามีอาการซ้ำๆ จนถึงจุดหนึ่งอาการเลยทรุดหนักลง จนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ไม่สามารถทำงานได้
การรักษาของชนัชพันต์คลินิกจะแตกต่างจากกรักษาทั่วไป เพราะเราจะเน้นการสลายพังผืด และ trigger point ที่เป็นต้นเหตุที่แท้จริงของอาการ ปวด ชา ออก ดังนั้น ผลการรักษาจึงดีขึ้นได้อย่างถาวร จะเห็นได้จากผลการรักษาของคุณนุสรา ซึ่งมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่การรักษาครั้งแรก ประกอบกับผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว จึงทำให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจนแทบหายเป็นปกติภายในการรักษาเพียง 2 ครั้ง ซึ่งการรักษาโดยทั่วๆ ไป ไม่สามารถให้ผลแบบนี้ได้
ข้อสรุปคือ อาการกระดูกคอทับเส้นประสาท สามารถดีขึ้นได้อย่างถาวร หากได้รับการรักษาที่ตรงจุด และแก้ไขจากต้นเหตุที่แท้จริง โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด