อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า กระดูกทับเส้น เป็นภาวะการบาดเจ็บของแนวข้อกระดูกสันหลัง ซึ่งแนวกระดูกสันหลังของร่างกายมนุษย์นั้น จะทอดยาวตั้งแต่บริเวณต้นคอจนถึงก้นกบ แต่บริเวณที่มักเกิดการบาดเจ็บได้มาก ได้แก่ กระดูกสันหลังบริเวณต้นคอ และกระดูกสันหลังบริเวณหลังส่วนล่าง โดยมักจะพบการบาดเจ็บบริเวณหลังส่วนล่างมากที่สุด เนื่องจากเป็นบริเวณที่ต้องแบกรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบน และเป็นบริเวณที่รองรับแรงกระทำจากการก้มตัว ยกของ หรือรับแรงกดจากการนั่งนานๆ เป็นต้น
ดังนั้นเราจึงมักเข้าใจว่า ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือ กระดูกทับเส้น ป็นอาการปวดหลังส่วนล่างนั่นเอง ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังล่าง เพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุและอาการของโรค นอกจากนี้ ในบทความจะอธิบายถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมการนวดแก้อาการสลายพังผืด จึงสามารถรักษาอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สารบัญ
1. กายวิภาคศาสตร์ของกระดูกสันหลัง (Anatomy of Vertebrae)
2. อาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
3. สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
4. ทำไมรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมานาน ไม่หายสักที
5. การรักษาแบบไหน ที่สามารถรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ถ้าการนวดสามารถรักษาอาการกระดูกทับเส้นประสาทได้จริง ทำไมแพทย์จึงสั่งไม่ให้นวด
7. ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจรักษาอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ด้วยการนวดสลายพังผืด
8. คำแนะนำส่งท้าย สำหรับผู้ที่กำลังมีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
กายวิภาคศาสตร์ของกระดูกสันหลัง (Anatomy of Vertebrae)
โครงสร้าง และส่วนประกอบของกระดูกสันหลัง ที่เกี่ยวข้องกับอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่สำคัญมีดังนี้
1. กระดูกสันหลัง (Vertebrae) มีทั้งหมด 33 ชิ้น เป็นข้อกระดูกที่เชื่อมต่อกันยาวตั้งแต่ต้นคอจนถึงก้นกบ แบ่งออกเป็น
- กระดูกส่วนคอ (Cervical) 7 ชิ้น หรือ C1-C7
- กระดูกส่วนอก (Thoracic) 12 ชิ้น หรือ T1-T12
- กระดูกส่วนเอว (Lumbar) 5 ชิ้น หรือ L1-L5
- กระดูกส่วนก้น (Sacral) 5 ชิ้น หรือ S1-S5
- กระดูกส่วนก้นกบ (Coccyx) 4 ชิ้น
2. หมอนรองกระดูกสันหลัง (Intervertebral Discs) เปรียบเสมือนเจลลี่นุ่มๆ ที่กั้นระหว่างข้อกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ช่วยให้ข้อกระดูกสันหลังเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ รองรับการกระแทก บิด หมุน เอียงของข้อกระดูกแต่ละข้อ หากหมอนรองกระดูกถูกกดหรือดึงรั้งให้เคลื่อนที่ หรือปลิ้นออกไปด้านข้างและไปรบกวนเส้นประสาท ผู้ป่วยจะเกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และจะมีอาการปวดหลัง หรือปวดสะโพกร้าวลงขา ขาชา ขาอ่อนแรง
หากหมอนรองกระดูกทรุดตัวลงด้านล่างแทน จะส่งผลให้ข้อกระดูกสันหลังระหว่างข้อเกิดการเสียดสีกันขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดหลัง และหากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจจะกลายเป็นภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมได้ในอนาคต
3. เส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal Nerve) จะอยู่ภายในโพรงกระดูกสันหลังของเรา โดยเส้นประสาทไขสันหลังแต่ละเส้นนั้น มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อรวมถึงรับความรู้สึกที่แตกต่างกันไปในแต่ละเส้น ดังนั้นเมื่อเส้นประสาทไขสันหลังถูกรบกวนหรือถูกกดทับ ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ หรือกล่าวคืออาการจะแตกต่างกันไปตามจุดที่มีปัญหา
กลับสู่สารบัญอาการของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังล่างที่พบได้บ่อยนั้น ได้แก่ บริเวณข้อกระดูกสันหลังบริเวณเอว หรือ Lumbar ซึ่งประกอบไปด้วยกระดูก 5 ข้อ หรือเรียกสั้นๆ ว่าข้อ L1 – L5 ซึ่งจะเชื่อมกับกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ หรือ Sacrum อีก 5 ข้อ คือข้อ S1 – S5
โดยผู้ป่วยที่มีภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลังนั้น จะมีอาการแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บของข้อกระดูก แต่บริเวณที่พบปัญหาได้บ่อยที่สุดคือบริเวณข้อ L4-L5 , L5-S1 ซึ่งความผิดปกติที่มักพบในข้อกระดูกบริเวณหลังจากทำ X-Ray หรือ MRI ได้แก่
- ตัวข้อกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ผิดไปจากตำแหน่งเดิม โดยจะเห็นแนวข้อกระดูกบิดเบี้ยวจากแกนเดิม
- หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนที่ ปลิ้น หรือ ยุบตัวลง โดยจะเห็นช่องว่างระหว่างข้อกระดูกแคบลง
อาการแสดงของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ที่พบได้บ่อยจะมีดังนี้
- ปวดหลังร้าวลงขา
เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณหลัง โดยผู้ป่วยมักมีอาการปวดหลังส่วนล่าง ปวดร้าวลงก้น สลักเพชร กระเบนเหน็บ ต้นขา จนถึงปลายเท้า หรือในบางรายหากมีการเกร็งของกล้ามเนื้อหลังลามเข้าสะโพก จะทำให้มีอาการปวดสะโพกร่วมด้วย
- ปวดหลังร้าวมาที่หน้าท้อง
ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท ที่ควบคุมกล้ามเนื้อหน้าท้อง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย เนื่องจากเส้นประสาทไม่สามารถทำงานได้ปกติ กล้ามเนื้อหน้าท้องจึงเกิดอาการเกร็งตัว และทำให้ปวดท้อง ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้องอืด หรือมีปัญหาในระบบย่อยอาหารตามมา ในผู้ป่วยเพศหญิง อาจมีอาการปวดประจำเดือนมากกว่าปกติ
- ขาชา เสียวหน้าแข้ง
เป็นอาการของเส้นประสาทที่ถูกรบกวน เนื่องจากเส้นประสาทจะทอดยาว ตั้งแต่หลังลงมาขา จึงทำให้มีอาการชาขา เสียวหน้าแข้งเกิดขึ้น
- ขาอ่อนแรง
มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังมานาน ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือผู้ป่วยที่เส้นประสาทหลักถูกกดทับ ส่งผลให้มีอาการขาอ่อนแรงตามมา เนื่องจากเส้นประสาทไม่สามารถสั่งการกล้ามเนื้อได้เต็มที่
- ระบบขับถ่ายแปรปรวน
มักพบเฉพาะในผู้ป่วยบางรายที่มีการรบกวนของเส้นประสาทหางม้า (Cauda equina) ซึ่งเป็นเส้นประสาทบริเวณก้นกบ มีหน้าที่ควบคุมอวัยวะในอุ้งเชิงกรานรวมถึงการขับถ่าย ดังนั้นเมื่อเส้นประสาทหางม้าถูกรบกวน จึงทำให้การขับถ่ายแปรปรวนได้ เช่น ขับถ่ายไม่ปกติ ท้องผูก หรือ กลั้นการขับถ่ายไม่ได้ เป็นต้น
กลับสู่สารบัญสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เกิดจากตัวหมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ออกมากดทับ/รบกวนทางเดินของเส้นประสาท หรืออาจเกิดจากตัวข้อกระดูกสันหลังเองเคลื่อนที่ออกจากแนวกระดูกปกติจนมาเบียด/กดทับเส้นประสาทโดยตรงก็ได้ จึงทำให้เส้นประสาทถูกรบกวน เกิดเป็นอาการปวดหลังร้าวลงขาขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท สามารถแบ่งได้ดังนี้
- การยกของหนัก ยกของผิดจังหวะ
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด การยกของที่โดยใช้ท่าที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังโดยตรง เนื่องจากเกิดแรงกดของน้ำหนักสิ่งของต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะส่วนหลังล่าง (ข้อ L4-L5)
- การนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
ในขณะที่นั่งนั้น ร่างกายจะเกิดแรงกดลงไปที่หลังส่วนล่างและก้น โดยการนั่งที่ไม่มีการขยับท่าหรือการนั่งแช่อยู่ในท่าเดิมนานๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและก้นได้รับแรงกด จนเกิดการเกร็งตัว รวมถึงทำให้ข้อกระดูกสันหลังส่วนล่างต้องแบกรับน้ำหนักของร่างกายส่วนบนเป็นระยะเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อและข้อกระดูกบริเวณหลังล่างเกิดความอ่อนแอ ไม่ยืดหยุ่น และทำให้มีปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น กล้ามเนื้อหลังอักเสบ หรือ หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นต้น
- การออกกำลังกายที่มีการใช้กล้ามเนื้อหลังมากเกินไป หรือออกกำลังกายผิดท่า ผิดจังหวะ
- อุบัติเหตุ การกระแทก เช่น หกล้ม รถชน ล้มก้นกระแทกพื้น ทำให้หลังได้รับการบาดเจ็บรุนแรงแบบฉับพลัน
จากสาเหตุข้างต้น เมื่อเกิดการบาดเจ็บร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซม จนมี “พังผืด” เกิดขึ้น ซึ่งตัวพังผืดนี้จะเข้าไปยึดเกาะตามตำแหน่งที่มีการบาดเจ็บ เพื่อรักษาแผลให้หาย แต่ปัญหาคือเมื่อการบาดเจ็บหายดีแล้ว แต่ตัวพังผืดนี้จะยังคงอยู่เกาะค้างในมัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อกระดูก (บริเวณที่บาดเจ็บ) นี้ต่อไป หรือเปรียบเสมือนแผลเป็น ส่งผลให้เกิดการยึดติดของมัดกล้ามเนื้อ ขาดความยืดหยุ่น ข้อต่อกระดูกเกิดการยึดล็อก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดปัญหากระดูกทับเส้นขึ้น
พังผืดที่เกาะตามตำแหน่งต่างๆ นั้น จะส่งผลให้เกิดแรงดึงรั้งระหว่างมัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อกระดูก และอาจทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ออกไปจากตำแหน่งเดิม จนไปกดทับเส้นประสาท หรือปลิ้นออกไปทับเส้นประสาท
แต่หากพังผืดทำให้เกิดการดึงรั้งระหว่างข้อกระดูกขึ้น ข้อต่อกระดูกด้านบน-ล่าง จะถูกดึงชิดเข้าหากัน จนกลายเป็นปัญหากระดูกทรุดในภายหลัง
กลับสู่สารบัญทำไมรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมานาน ไม่หายสักที
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นปัญหาสุขภาพที่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้ป่วยมักมีอาการปวดหลัง ปวดหลังร้าวลงขา เกือบตลอดเวลาทั้งขณะ นั่ง ยืน เดิน หรือนอนหงาย บางท่านอาจมีอาการขาชา ขาอ่อนแรง ร่วมด้วยตลอดเวลา
ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่เข้ารับการรักษาด้วยวิธีต่างๆ แต่อาการที่มีอยู่ก็ยังไม่ทุเลา หรือทุเลาขึ้นแต่กลับมามีอาการใหม่ซ้ำๆ จนผู้ป่วยรู้สึกท้อและหมดกำลังใจในการรักษา เพราะคิดว่าคงไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่แท้จริงแล้วภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนี้สามารถรักษาให้หายได้ เพียงแค่ต้องรู้ถึงสาเหตุหลักของปัญหา และการแก้ไขที่ถูกต้อง
ซึ่งสาเหตุที่การรักษาโดยทั่วไปนั้น ยังไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตรงจุดได้มากพอ เนื่องจากการรักษาที่พบในปัจจุบันนี้ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ “พังผืด” ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รวมถึงอาการ ปวด ชา อ่อนแรง เมื่อต้นเหตุของปัญหาไม่ได้ถูกกำจัดออก ผลการรักษาจึงดีขึ้นได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งเมื่อผู้ป่วยกลับไปใช้งานร่างกายตามปกติ อาการก็จะกลับมาใหม่ ซ้ำๆ วนเวียนแบบนี้ไปตลอด
การรักษาโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการกายภาพบำบัด การฝังเข็ม การจัดกระดูก หรือ การนวดไทย ถึงแม้ว่าจะเป็นการรักษาที่แพร่หลาย แต่ส่วนมากมักจะเน้นไปที่การคลายกล้ามเนื้อ การทำให้เลือดลมไหลเวียนสะดวกในภาพรวม เน้นบรรเทาอาการปวดชั่วคราว หรือเน้นรักษาตามอาการ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เนื่องจากการรักษาเหล่านี้ ไม่สามารถแก้ไปถึงต้นตอของ อาการปวด ชา อ่อนแรง ได้ เนื่องจากการรักษาไม่ได้ target ไปที่พังผืดในมัดกล้ามเนื้อชั้นลึก เส้นประสาท เส้นเอ็น หรือตำแหน่งของหมอนรองกระดูกที่มีปัญหา
นอกจากนี้ การรักษาในผู้ป่วยแต่ละคนนั้น จะมีตำแหน่งที่ต้องรักษาแตกต่างกันออกไป เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้มีปัญหาที่จุดเดียวกันเสมอไป ดังนั้น การรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้นควรเป็นการรักษาที่ต้องปรับให้เฉพาะเจาะจงในแต่ละคน นี่คือสาเหตุที่ว่า ทำไมผู้ป่วยที่มีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จึงรู้สึกว่าทำไมรักษามานาน หลายที่ หลายศาสตร์แล้ว แต่ยังไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ได้รักษาอย่างตรงจุดนั่นเอง
กลับสู่สารบัญการรักษาแบบไหน ที่สามารถรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังที่ในบทความได้กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ว่าต้นเหตุของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น พังผืด ที่เกาะยึดรั้งอยู่บริเวณ ข้อกระดูก หมอนรองกระดูก และกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้าง ส่งผลให้เกิดแข็ง เกร็งตัว ไม่ยืดหยุ่น จนทำให้เกิดการดึงรั้งของกล้ามเนื้อและหมอนรองกระดูก และทำให้เกิดภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อน /ปลิ้น ออกจากตำแหน่งปกติมาทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณรอบข้างในที่สุด
ดังนั้นรักษาภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องเน้นไปที่การสลายพังผืดที่เกาะยึดอยู่ในบริเวณที่เป็นปัญหา เพื่อกำจัดการดึงรั้งระหว่างกล้ามเนื้อ และหมอนรองกระดูกออก และเมื่อไม่มีการดึงรั้งอีก หมอนรองกระดูกที่เคลื่อน/ปลิ้น ออกมา จะสามารถค่อยๆ เคลื่อนกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิมได้ด้วยกลไกการฟื้นตัวของร่างกาย เมื่อไม่มีการกดทับของเส้นประสาทแล้ว อาการปวด อาการชา และ อาการอ่อนแรง ก็จะหายไป และไม่กลับมามีอาการซ้ำๆ อีกในอนาคต ซึ่งการรักษาในลักษณะนี้ จะเป็นการแก้ปัญหาจากต้นเหตุที่แท้จริง และเป็นการแก้ปัญหาที่ทำให้ร่างกายดีขึ้นในระยะยาว
ซึ่งการรักษาโดยใช้หลักการนี้ ที่พบได้ในปัจจุบันจะเรียกว่า การนวดแก้อาการสลายพังผืด หรือการนวดสลายพังผืด ซึ่งจะไม่ใช่การนวดไทย หรือนวดแผนโบราณ แต่จะเป็นการสลายพังผืดในบริเวณที่มีปัญหาเท่านั้น จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบริเวณอื่นๆ ที่ไม่มีปัญหา
ถ้าการนวดสามารถรักษาอาการกระดูกทับเส้นประสาทได้จริง ทำไมแพทย์จึงสั่งไม่ให้นวด
สาเหตุที่แพทย์ไม่แนะนำให้นวดนั้น เป็นเพราะผู้ที่ทำอาชีพหมอนวดในปัจจุบันนี้ส่วนมากไม่มีความรู้ ความชำนาญในระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และพังผืด โดยมากจะทำได้เพียงการนวดผ่อนคลาย ซึ่งเป็นการนวดกล้ามเนื้อชั้นตื้นๆ ไม่สามารถนำมาใช้แก้อาการให้คนไข้หายป่วยได้
นอกจากนี้ หมอนวดบางคน อาจไม่เคยอบรมผ่านหลักสูตรการนวดใดๆ มาก่อน แต่อาศัยการรู้ลักพักจำ จึงทำให้เกิดความผิดพลาดหรืออันตรายในขณะนวด หมอนวดบางคน เน้นนวดหนักๆ แรงๆ เพราะคิดเอาเองว่า การนวดให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บ แปลว่าได้ผล ซึ่งในความเป็นจริงนั้น ไม่ใช่เลย
หรือในบางครั้ง หมอนวดกดผิดจุดผิดตำแหน่ง แล้วคิดเอาเองว่าถูกต้อง เช่น ผู้ป่วยปวดหลัง แต่ไปนวดเท้า หรือ ผู้ป่วยปวดขา แต่ไปนวดแขน แล้วให้เหตุผลว่า เป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งตามหลักกายวิภาคศาสตร์นั้น ไม่มีความสมเหตุสมผลใดๆ หรือหมอนวดบางคนมีการใช้การกระตุก ดัด กระชาก จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดหนักกว่าเดิม จนบางครั้งอาจยากเกินกว่าจะแก้ไขได้
ในทางกลับกัน การรักษาโดยหมอนวดผู้ชำนาญการ จะไม่นวดสะเปะสะปะ แต่จะเน้นการแก้ปัญหาตามหลักกายวิภาคศาสตร์ และสามารถอธิบายสาเหตุที่เกิดอาการผิดปกติ รวมถึงการแก้อาการได้ตามหลัก Anatomy การรักษาโดยผู้ที่เชี่ยวชาญนั้นจะ focus การรักษาไปตรงจุดที่มีปัญหาเป็นหลัก รวมถึงจุดที่มีอาการลุกลามไป โดยขั้นตอนการรักษาจะเริ่มจาก การวิเคราะห์อาการ ตรวจจับดูว่า กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อกระดูกชุดใดมีปัญหา และเริ่มทำการรักษา โดยการสลายพังผืดไปตามแนวปัญหา และจะไม่มีการกระแทก กระชาก บิด แอ่น ใดๆ ซึ่งการรักษาจะมีความปลอดภัยและไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อผู้ป่วย
ดังนั้นการที่แพทย์แผนปัจจุบัน สั่งห้ามนวดในผู้ป่วยที่มีปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เนื่องจากแพทย์ต้องการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากการนวดโดยผู้ที่ไม่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ
กลับสู่สารบัญข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจรักษาอาการ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ด้วยการนวดสลายพังผืด
ก่อนจะตัดสินใจรักษาอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ด้วยวิธีการนวดสลายพังผืดนั้น ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจกับวิธีการรักษา รวมถึงควรรับทราบข้อพึงระวังต่างๆ เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยเอง โดยผู้ป่วยสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่
คำแนะนำส่งท้าย สำหรับผู้ที่กำลังมีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
ในปัจจุบันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ทั้งจากการนั่งนาน การนั่งในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การยกของหนัก การยกของผิดจังหวะ หรืออุบัติเหตุที่มีการกระแทก เป็นต้น ซึ่งโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนี้ เป็นปัญหาที่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิต สร้างความเจ็บปวด และส่งผลต่อคุณภาพชีวิต เริ่มมีข้อจำกัดในการใช้ร่างกายเช่น ไม่สามารถวิ่ง/เดิน/ยืนนานไม่ได้ ยกของหนักได้ ไม่สามารถเล่นกีฬาได้ดังเดิม เป็นต้น
เพราะฉะนั้น หากท่านเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแล้ว ควรรีบรักษา อย่าปล่อยให้อาการเป็นเรื้อรัง จนอาการปวดรุนแรงหรือปัญหาลุกลามไปบริเวณข้างเคียง เช่น ในเริ่มแรกผู้ป่วยมักมีเพียงอาการปวดหลัง หากปล่อยทิ้งไว้จะมีอาการปวดร้าวลงขา หากเป็นมากขึ้นจะเริ่มมีอาการชา จนกระทั่งเป็นมีอาการแปรปรวนของเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการแสบร้อน ไฟช็อต เข็มแทง ยิบๆ ซ่าๆ จนกระทั่งกลายเป็นอาการอ่อนแรงและกล้ามเนื้อลีบเล็กลงในที่สุด อย่างไรก็ดี การป้องกันภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทที่ดีที่สุด คือการป้องกันสาเหตุ โดยเน้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้
- การบริหารร่างกาย หมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถช่วยป้องกันการแข็งเกร็งและการตึงของกล้ามเนื้อได้
- การยกของให้ถูกท่า หลักการคือ “ย่อเข่า หลังตรง” ตั้งท่าให้ดีและจับของให้มั่นคง ใช้แรงของกล้ามเนื้อขาช่วยพยุงตัวขึ้น ที่สำคัญคือห้ามก้มหลังลงไปยกหรือแบกของไว้บนหลัง
- การนั่งทำงานถูกท่าและปรับเปลี่ยนอริยาบถอยู่เสมอ โดยควรนั่งหลังตรงพิงพนักเก้าอี้ (อาจมีหมอนหนุนหลังส่วนล่างก็ได้) นั่งให้เต็มก้น และปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสม และที่สำคัญที่สุดคือการไม่นั่งแช่ ควรหมั่นลุกยืน เดิน ทุก 1 ชม.
- ป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นอีกสาเหตุที่พบได้บ่อย เช่น การยกเวท สคอต รวมถึงกีฬาที่มีการกระแทก หรือหกล้ม เป็นต้น ดังนั้นหลักการสำคัญคือการออกกำลังกายให้ถูกท่า ไม่หักโหม ไม่เล่นหนักจนเกินกำลังของกล้ามเนื้อ ระมัดระวังการบาดเจ็บจากการหกล้มหรือได้รับแรงกระแทก
วิธีข้างต้นนี้เป็นวิธีการป้องกันโรคหมอนรองกระดูกทับเส้น จากสาเหตุโดยตรง หากเราสามารถปฎิบัติตัวได้ดังนี้ ก็ค่อนข้างคลอบคลุมและเกิดปัญหาได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามหากมีอาการแล้ว ก็อย่ารีรอ ควรรีบหาวิธีทางรักษา เพราะหากเพิ่งเป็น อาการจะยังน้อย การแก้ไขจะทำได้ง่ายและรวดเร็ว