รีวิว วิธี รักษาอาการปวดสะโพก ปวดขาหนีบ จนอาการกลับมาดีขึ้นได้อย่างถาวร

วิธี รักษาอาการปวดสะโพก

ประวัติการเจ็บป่วย

คุณดาวิษ อายุ 50 ปี ประกอบอาชีพทำธุรกิจส่วนตัว ชอบออกกำลังกายด้วยการวิ่งอยู่เสมอ

1. ผู้ป่วยเกิดอุบัติเหตุหกล้มก้นแทกพื้น เมื่อ พ.ศ.2562 ทำให้มีอาการปวดหลังขึ้นมา (อาการปวดหลังเกิดจากอะไร) ได้ไปพบแพทย์ และทำการ x-ray แพทย์แจ้งว่า หมอนรองกระดูกสันหลังข้อ L5 ทรุด แต่อาการไม่ได้รุนแรงมาก แพทย์จึงให้รักษาด้วยการทานยา อาการจึงค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ

2. แต่แล้วผู้ป่วยไปล้มก้นกระแทกพื้นซ้ำอีกครั้ง เมื่อ พ.ศ.2563 ซึ่งครั้งนี้อาการรุนแรงกว่าเดิมคือมีอาการ

  • ปวดสะโพก ก้น ปวดร้าวลงขาหนีบ ข้างซ้าย
  • ปวดมากขณะนั่ง และเดิน
  • ไม่สามารถวิ่งได้

ผู้ป่วยจึงได้ทำการรักษาด้วยการ กายภาพบำบัด ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และทานยาบรรเทาอาการปวด แต่ครั้งนี้อาการไม่ดีขึ้น อาการปวดได้เรื้อรังเกือบ 3 เดือน จนกระทั่งมีเพื่อนที่เคยมารักษาที่ชนัชพันต์คลินิก ได้แนะนำให้ผู้ป่วยลองมารักษา ซึ่งหลังจากผู้ป่วยตัดสินใจมารักษามีอาการเปลี่ยนแปลงไปดังนี้

  • รักษาครั้งที่ 1 วันที่ 1 กันยายน 2563 : หลังการรักษาผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น โดยความปวดลดน้อยลงประมาณ 60%
  • รักษาครั้งที่ 2 วันที่ 17 ตุลาคม 2563 : อาการปวดลดน้อยลงอีก ประมาณ 80% แต่ผู้ป่วยไปต่างจังหวัด และนั่งรถนาน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว จนมีอาการทรุดลง คือ ปวดสะโพก และปวดรั้งขาหนีบมากจนแทบเดินไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยค่อนข้างกังวลใจ กลัวจะกลับไปวิ่งเหมือนเดิมไม่ได้ เพราะอาการตอนนี้แค่เดินยังแทบเดินไม่ได้ เลยกลับมารักษาต่อเนื่องในครั้งที่ 3
  • รักษาครั้งที่ 3 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 : อาการหายดีเกือบ 100% อาการปวดสะโพก ปวดขาหนีบหายไป ผู้ป่วยสามารถเดินได้ปกติ และสามารถกลับไปวิ่งออกกำลังกายได้เต็มที่ดังเดิม

ปัจจุบันผู้ป่วยได้เข้ามารักษาอีกครั้งเมื่อ 26 พฤษภาคม 2565 ด้วยอาการปวดหัวไหล่ จากการออกกำลังกาย ทางคลินิกจึงทราบว่าอาการปวดสะโพก ปวดขาหนีบหายสนิทดีแล้ว หลังจากนวดไปทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่งถ้านับถึงตอนนี้ ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นยาวนานมาเกือบ 2 ปี ตอนนี้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้เต็มที่ดังเดิม โดยไม่มีอาการปวดสะโพก ปวดก้น หรือปวดขาหนีบแต่อย่างใด

***ผลการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล***

กลับสู่สารบัญ

ตำแหน่งกล้ามเนื้อที่พบปัญหา

สำหรับอาการของผู้ป่วยในเคสนี้ มีปัญหาหมอนรองกระดูกทรุดทับเส้นประสาทอยู่ก่อน เนื่องจากการหกล้มก้นแทกพื้น ทำให้หมอนรองกระดูกข้อ L5 เคลื่อนทรุดตัว ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดหลังส่วนล่าง แต่เนื่องด้วยอาการไม่หนัก เมื่อรักษาด้วยการทานยาก็ดีขึ้น แต่จริงๆ แล้ว การทานยาเป็นเพียงระงับความรู้สึกปวดไว้ เพราะฉะนั้นพังผืดที่เกิดจากการล้มก้นกระแทกนั้น ได้สะสมต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนกระทั่งไปหกล้มอีกครั้งที่ 2 ทำให้พังผืดที่สะสมไว้กลายเป็นปัญหาที่ลุกลามเข้าข้อสะโพก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพก ลามเข้าขาหนีบ

ซึ่งอาการนี้พบได้บ่อยในผู้ที่เคยมีอาการปวดหลังมาก่อน เพราะกล้ามเนื้อหลัง และสะโพกจะทำงานร่วมกันในเกือบทุกอิริยาบถ ได้แก่ การยืน เดิน นั่ง วิ่ง เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อข้อต่อ และกล้ามเนื้อบริเวณหลังมีการอักเสบ และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง การอักเสบมักจะลุกลามเข้าข้อสะโพก และเข้ากล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบได้ โดยอาการของผู้ป่วยในเคสนี้ คุณหมอได้นวดสลายพังผืดที่ยึดเกาะตามใยมัดกล้ามเนื้อ และข้อต่อบริเวณหลัง และสะโพกทั้งหมดดังนี้

1. กล้ามเนื้อบริเวณหลัง

  • กล้ามเนื้อบริเวณข้อ L5 ซึ่งเป็นจุดที่เกิดการเคลื่อนทรุดของข้อกระดูกจากการหกล้มก้นกระแทกพื้น
  • Quadratus lumborum (QL) เป็นกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนล่างเชื่อมมาจนถึงเชิงกราน มีหน้าที่ช่วยให้หลังแข็งแรง กล้ามเนื้อ QL นี้จะถูกใช้งานขณะแอ่นตัว ยืน เดิน เป็นต้น

2. กล้ามเนื้อบริเวณก้น สะโพก

  • Piriformis เป็นกล้ามเนื้อก้นชั้นลึก เมื่อเกิดการเกร็งตัว จะทำให้มีอาการปวดก้น อาจปวดมากขณะนั่ง เพราะมีการกดทับกล้ามเนื้อก้น หรือหากมีการบีบรัดเส้นประสาท Sciatic ที่ทอดผ่านใต้ชั้นกล้ามเนื้อ Piriformis นี้ก็จะทำให้มีอาการปวดร้าวลงขา หรือชาได้
  • Gluteus medius เป็นกล้ามเนื้อบริเวณข้อสะโพก จะถูกใช้งานขณะเคลื่อนไหวข้อสะโพกโดยเฉพาะขณะเดิน หรือวิ่ง ดังนั้นเมื่อกล้ามเนื้อ Gluteus medius มีการอักเสบ หรือเกร็งตัว ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพก และมักจะปวดมากขึ้นขณะเดิน หรือวิ่ง เป็นต้น

3. ชุดกล้ามเนื้อที่ดึงเข้าขาหนีบ เป็นอาการที่ลามมาจากการอักเสบของข้อสะโพก จึงทำให้ปวดสะโพกลามเข้าขาหนีบ

  • Psoas major เป็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมจากหลังทอดยาวเข้าสะโพก ทำหน้าที่ในการงอสะโพก และหมุนขาออกด้านนอก
  • Iliacus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกเชิงกรานทอดผ่านเข้าสะโพก ทำหน้าที่ในการงอ และหมุนสะโพกเช่นเดียวกัน
  • Pectineus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณขาหนีบ ที่มักพบการเกร็งตัว หรือการอักเสบในผู้ที่มีอาการปวดหลัง ปวดสะโพกเรื้อรัง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดบริเวณนี้ขณะเดิน วิ่ง เป็นต้น
กลับสู่สารบัญ

ทำไมการนวดสลายพังผืด จึงสามารถรักษาอาการปวดสะโพก ปวดขาหนีบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาการปวดสะโพก เป็นอาการที่พบได้บ่อยเช่นเดียวกับอาการปวดหลัง โดยอาการปวดสะโพก อาจเป็นอาการของโรคต่างๆ ได้หลายโรค เช่น

  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดหลังล่าง หรือเคยปวดหลังมาก่อน ปวดสะโพก ปวดลงขาบริเวณข้างหน้าแข้ง ขาชา เท้าชา
  • Piriformis หรือกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดก้น ปวดสะโพก ปวดสลักเพชร ปวดขาบริเวณข้อพับเข่า ปวดน่อง ขาชา
  • ข้อสะโพกอักเสบ ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดสะโพก และบริเวณรอบข้อสะโพก เช่น ขาหนีบ ต้นขา ก้น เป็นต้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรง จะทำให้ข้อสะโพกฝืด เคลื่อนไหวติดขัด ยึดล็อก และหากได้รีบการรักษาที่ไม่ตรงจุด อาการจะทรุดหนักลงจนกลายเป็นภาวะข้อสะโพกเสื่อม หรือสะโพกขาดเลือดได้

สำหรับอาการปวดสะโพกในผู้ป่วยท่านนี้ สาเหตุเกิดจากการหกล้มก้นกระแทกพื้น ทำให้ข้อสะโพกรวมถึงบริเวณรอบข้อสะโพกเกิดการบาดเจ็บขึ้น ซึ่งได้แก่บริเวณสะโพก ก้น และขาหนีบ

โดยทุกครั้งที่มีการบาดเจ็บเกิดขึ้น ร่างกายจะสร้างพังผืดมาเกาะคลุมบริเวณที่บาดเจ็บ โดยในเคสนี้ พังผืดนี้ได้เข้าไปยึดเกาะบริเวณข้อสะโพก และบริเวณโดยรอบ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถนำพาออกซิเจน และสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณรอบข้อสะโพกได้อย่างสะดวก ทำให้อาการอักเสบจากการล้มกระแทกยังคงอยู่ และเกิดเป็นการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดสะโพก ปวดก้น ปวดขาหนีบ และเคลื่อนไหวข้อสะโพกในท่าต่างๆ ได้ลดน้อยลง หรือมีอาการเจ็บขณะขยับข้อสะโพก โดยเฉพาะขณะเดิน และวิ่ง

ในผู้ที่มีอาการข้อสะโพกอักเสบเรื้อรังมานานๆ อาการปวดจะน้อยลง หรืออาจจะไม่ปวดเลย แต่จะมีพังผืดไปเกาะรอบๆ ข้อสะโพกทั้งหมด จนเลือดไม่สามารถไหลเวียนเป็นเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณสะโพกได้ ทำให้เกิดเป็นอาการข้อสะโพกขาดเลือด ผู้ป่วยจะไม่สามารถขยับ และเคลื่อนไหวสะโพกได้เหมือนคนปกติ ไม่สามารถกาง หรือหุบขาได้ ไม่สามารถนั่งยอง หรือคุกเข่าได้ เวลาเดินจะเดินโยก เพราะข้อสะโพกไม่สามารถบิดหมุนได้เหมือนคนทั่วไป

หรือหากพังผืดที่เกาะรอบสะโพก ดึงรั้งให้ข้อสะโพกเสียดสีกันขณะเคลื่อนไหว จนข้อสะโพกเกิดเป็นแผล และสึกกร่อน ผู้ป่วยปวดสะโพกมากตลอดเวลา และจะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า อยู่ในภาวะข้อสะโพกเสื่อม นั่นเอง

จะเห็นได้ว่าอาการปวดสะโพก หรือข้อสะโพกอักเสบนั้น สาเหตุหลักจะเกิดจากพังผืดที่ไปยึดเกาะบริเวณข้อสะโพก ทำให้เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงได้อย่างสะดวก ส่งผลให้การอักเสบไม่หายไป หากไม่สลายพังผืดออก ก็จะทำให้อาการทรุดหนักลง และรักษายากขึ้นในอนาคต อาจถึงขั้นต้องผ่าตัดเปลี่ยนเป็นข้อสะโพกเทียม เพราะไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้แล้ว

เพราะฉะนั้นการรักษาดวยวิธีพวดสลายพังผืด จึงเป็นการรักษาที่ตรงจุด เพราะเมื่อพังผืดที่ยึดเกาะบริเวณข้อสะโพกถูกกำจัดออก เลือดจะสามารถนำพาออกซิเจน และสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ในบริเวณสะโพกได้ตามปกติ เมื่อข้อสะโพกที่อักเสบได้รับสารอาหาร และออกซิเจนจากเลือดเข้าไปฟื้นฟู และซ่อมแซมได้เต็มที่ การอักเสบก็จะหายไป ข้อต่อก็จะกลับมาเคลื่อนไหวได้ตามปกติ อาการปวดสะโพก ปวดขาหนีบ ปวดก้น ในขณะเคลื่อนไหวก็จะดีขึ้นอย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต

ในเคสของคุณดาวิษนี้ นอกเหนือจากอาการข้อสะโพกอักเสบแล้ว ผู้ป่วยยังมีอาการหมอนรองกระดูกสันหลังทรุดอีกด้วย โดยในการรักษานั้น ทางคลินิกได้นวดรักษาทั้ง 2 อาการเลย เพราะอาการทั้ง 2 มีความสัมพันธ์กัน (กล้ามเนื้อหลัง และสะโพกจะทำงานร่วมกัน) หากแก้แค่อาการใดอาการหนึ่ง ผู้ป่วยจะไม่สามารถดีขึ้นอย่างถาวรได้ ซึ่งในการนวดรักษาปัญหาหมอนรองกระดูกสันหลังทรุดนั้น ก็จะใช้วิธีการสลายพังผืดที่เกาะดึงรั้งให้ข้อกระดูกทรุดเข้าหากัน เมื่อพังผืดถูกสลายออก ข้อกระดูกก็จะไม่ถูกดึงรั้งอีกต่อไป ข้อกระดูกจะคลายตัวออกจากกัน และจะเคลื่อนที่กลับตำแหน่งเดิม

กลับสู่สารบัญ

ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด

ถึงแม้ว่าการนวดสลายพังผืด จะสามารถรักษาอาการปวดสะโพกให้ดีขึ้นได้จริง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความเจ็บขณะรักษา เพราะพังผืดที่ยึดเกาะบริเวณข้อสะโพก จะแทรกตามร่องข้อกระดูก ซึ่งการนวดสลายพังผืดนั้น จะต้องนวดเลาะไปตามแนวข้อต่อ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บค่อนข้างมากขณะรักษา ดังนั้นผู้ที่จะรักษาอาการปวดสะโพกด้วยวิธีนวดสลายพังผืด จึงจะต้องเป็นผู้ที่ทนเจ็บได้ในระดับหนึ่ง ผู้ป่วยสามารถอ่านข้อพึงระวังต่างๆ เกี่ยวกับการรักษา เพิ่มเติมได้ที่ (วิธีนวดแก้อาการสลายพังผืด และ trigger point)

กลับสู่สารบัญ

บทส่งท้าย

อาการปวดสะโพก ปวดขาหนีบร่วมด้วย มักเป็นอาการที่เกิดจากข้อสะโพกอักเสบ ซึ่งหากปล่อยให้ข้อสะโพกอักเสบเป็นระยะเวลานาน ก็อาจจะพัฒนากลายเป็นโรคข้อสะโพกขาดเลือด หรือโรคข้อสะโพกเสื่อมได้ในที่สุด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วยค่อนข้างมาก เพราะผู้ป่วยจะต้องเผชิญกับอาการปวด ตึงรั้ง ยึดล็อค และจะไม่สามารถ นั่ง เดิน หรือวิ่งได้เหมือนคนปกติ และมักจะลงเอยด้วยการผ่าเปลี่ยนข้อสะโพก ซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และต้องมีระยะการพักฟื้นที่ค่อนข้างนาน

ดังนั้นหากเริ่มรู้สึกว่าเริ่มมีอาการปวดสะโพก ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลย และควรรีบทำการรักษาให้หายเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะไม่กลายเป็นปัญหาที่ลุกลาม และทรุดหนักในอนาคต