ประวัติการเจ็บป่วยอาการเจ็บเข่าด้านหน้า
คุณขจร อายุ 45 ปี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีปัญหาเจ็บปวดเข่า จากการออกกำลังกาย โดยมีอาการดังนี้
- เจ็บเข่าข้างขวา บริเวณสะบ้าด้านหน้าเข่า
- มีอาการเจ็บมากขึ้นขณะวิ่ง และเดินขึ้นลงบันได
ผู้ป่วยมีอาการมานาน 3 เดือน สาเหตุเกิดจากการออกกำลังกายดังนี้
- วิ่งเฉลี่ยเดือนละ 300 กิโลเมตร โดยฝึกซ้อมวิ่งอยู่เป็นประจำ
- ตีแบตมินตัน แต่หักโหมหนัก ทำให้ขาเกิดอาการล้าหลังจากตีเสร็จ
- สควอชอยู่เป็นประจำ ซึ่งการสคอชเป็นการออกกำลังกาย ที่มักเกิดการบาดเจ็บต่อข้อเข่าได้ง่าย หากทำไม่ถูกต้อง
ผู้ป่วยได้รักษากับแพทย์แผนปัจจุบันถึง 3 แห่ง แต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น เนื่องจากได้เพียงยาแก้อักเสบ และแก้ปวดมาทาน และแพทย์ทั้ง 3 ท่านแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยไม่อยากผ่าตัด เพราะกลัวจะกลับไปวิ่งไม่ได้เหมือนเดิม
แพทย์จึงแนะนำให้ลองทำกายภาพบำบัดด้วยการ Shock wave ดูก่อน ซึ่งได้รักษาด้วยการ Shock wave ไป 2 ครั้ง แต่กลับไม่รู้สึกดีขึ้นเลย อาการยังทรงๆ เหมือนเดิม
ผู้ป่วยจึงตัดสินใจค้นหาการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก จนได้มาเจอกับชนัชพันต์คลินิก และสนใจจะลองรักษา จึงได้สอบถามกับแพทย์ที่โรงพยาบาลว่า สามารถมานวดรักษาได้ไหม แพทย์ 2 ท่านไม่แนะนำให้นวด แต่แพทย์อีกท่านไม่ได้ห้ามอะไร สุดท้ายแพทย์ทั้ง 3 ยังคงแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเหมือนเดิม
ผู้ป่วยจึงตัดสินใจมาลองรักษาที่ชนัชพันต์คลินิก โดยยังคงติดตามผลกับแพทย์แผนปัจจุบันที่โรงพยาบาลควบคู่ไปด้วย โดยมีผลการรักษาดังนี้
- นวดรักษาครั้งที่ 1 วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2563
หลังจากการรักษา อาการดีขึ้นได้อย่างชัดเจนกว่า 80% เข่าขวาไม่เจ็บแล้ว สามารถเดินขึ้นลงบันไดได้ปกติ แต่เมื่อไปวิ่งแล้วยังมีอาการอยู่เล็กน้อย คือ ปวดลึกๆ ในเข่าขณะเริ่มออกตัวตอนวิ่ง แต่เมื่อวิ่งไปสักพักอาการก็จะหายไปเอง จึงได้เข้ามารักษาต่อในครั้งที่ 2
- มารักษาครั้งที่ 2 วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2563
หลังจากนวดไม่มีอาการปวดเข่าเลย สามมารถกลับไปวิ่งได้ ออกกำลังกายได้เหมือนเดิม ดีขึ้นได้ 100%
- มารักษาครั้งที่ 3 วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2564 (เนื่องจากเกิดอาการบาดเจ็บใหม่)
เนื่องจากผู้ป่วยได้วิ่งเร็วขึ้น และเพิ่มระยะทางมากขึ้น (วิ่งวันละ 10-20 km) จึงทำให้มีอาการปวดขาหนีบ ปวดร้าวมาก้น ขณะนั่งจะมีอาการปวดก้น ขณะวิ่งจะปวดขาหนีบ ทำให้วิ่งได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยจึงไว้วางใจมารักษาที่ชนัชพันต์คลินิกต่อเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นอาการใหม่ ไม่เกี่ยวกับหัวเข่าแล้ว
กลับสู่สารบัญตำแหน่งที่พบปัญหา
ในเคสของคุณขจรนี้ ผู้ป่วยมีปัญหาปวดเข่าจากการออกกำลังกาย ได้แก่การวิ่งระยะไกล การตีแบต และการสวอช ซึ่งจากการตรวจพบว่า อาการเจ็บเข่าของผู้ป่วยเกิดจากการวิ่งเป็นหลัก เนื่องจากการวิ่งทำให้เกิดแรงกระแทกกับข้อเข่าโดยตรง ดังนั้นจึงเกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และเส้นเอ็นภายในข้อเข่าได้ง่าย
โดยสำหรับอาการของผู้ป่วยท่านนี้ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และเส้นเอ็นภายในข้อเข่า และอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้าง ที่สัมพันธ์กับหัวเข่า ดังนี้
- เส้นเอ็นบริเวณหัวเข่า
เส้นเอ็นภายในข้อเข่าประกอบด้วยเอ็นทั้งหมด 4 เส้น ซึ่งทำหน้าที่ในการช่วยซัพพอร์ตข้อเข่าทั้ง 4 ด้าน เพื่อรักษาความมั่งคงของข้อเข่าขณะเคลื่อนไหวต่างๆ โดยปกติเส้นเอ็นนั้นจะมีความยืดหยุ่น ในขณะที่ข้อเข่าเคลื่อนไหวนั้น เส้นเอ็นจะยืดหดตัว แต่หากมีการยืดเหยียดเข่ากระทันหัน หรือใช้งานข้อเข่ามากเกินไป จะทำให้เส้นเอ็นดังกล่าวเกิดการบาดเจ็บ และเกิดการอักเสบขึ้น
เมื่อมีการอักเสบ ร่างกายจะสร้างพังผืดไปยึดเกาะในตำแหน่งนั้นๆ จนทำให้เส้นเอ็นขาดความยืดหยุ่น เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าจึงเกิดอาการปวด หรือเจ็บเกิดขึ้น รวมถึงเกิดการติดขัดของข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บเข่าขณะวิ่ง เดิน หรือยืน
สำหรับผู้ที่มีอาการเป็นบางจังหวะ หรือบางท่า บ่งบอกว่ามีการบาดเจ็บเฉพาะจุด อาจเป็นเพียงเส้นเอ็นเส้นใดเส้นหนึ่ง โดยจุดที่พบการบาดเจ็บได้บ่อยคือเอ็นไขว้หน้า ในกรณีที่ผู้ป่วยปล่อยการบาดเจ็บทิ้งไว้นาน หรือเมื่อบาดเจ็บแล้วยังคงใช้งานต่อเนื่องไม่พัก และรักษาให้หายก่อน การบาดเจ็บก็จะลุกลามไปทั้งเส้นเอ็นภายในข้อเข่าทั้ง 4 เส้น จึงทำให้มีอาการเจ็บตลอดเวลา ผู้ป่วยจะเจ็บมากขึ้นทุกท่าที่มีการเคลื่อนไหวของข้อเข่านั่นเอง
- Medial collateral ligament (MCL) หรือเอ็นเข่าด้านใน ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บบริเวณเข่าด้านใน
- Lateral collateral ligament (LCL) หรือเอ็นเข่าด้านนอก ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บบริเวณเข่าด้านนอก
- Anterior cruciate ligament (ACL) หรือเอ็นไขว้หน้าเข่า เป็นจุดที่พบการบาดเจ็บมากที่สุด พบมากในผู้ที่เล่นกีฬาฟุตบอล ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บลึกๆ ในข้อเข่าขณะวิ่ง หรือเดิน
- Posterior cruciate ligament (PCL) หรือเอ็นไขว้หลังเข่า ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บบริเวณใต้พับเข่า
- Quadriceps tendon เป็นเส้นเอ็นที่เชื่อมระหว่างกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้ากับลูกสะบ้า ทำหน้าที่เหยียดข้อเข่า เมื่อมีการบาดเจ็บผู้ป่วยจะมีอาการปวด หรือเจ็บบริเวณเข่าด้านหน้า เหนือลูกสะบ้า โดยเฉพาะขณะเหยียดขา เดินขึ้นบันได เป็นต้น
- Patellar tendon หรือเอ็นใต้ลูกสะบ้า เป็นเส้นเอ็นที่เชื่อมระหว่างกระดูกสะบ้ากับกระดูกหน้าแข้ง ทำหน้าที่ในการเหยียดข้อเข่าเช่นเดียวกัน แต่ผู้ป่วยมักมีอาการปวด หรือเจ็บใต้ลูกสะบ้า มักพบในผู้ที่ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่ใช้การกระโดด เพราะเส้นเอ็นนี้จะถูกใช้งานขณะกระโดดเป็นส่วนมาก
ในเคสของคุณขจรนี้ เราพบการบาดเจ็บในเส้นเอ็นทุกชุดที่กล่าวไปข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุด Quadriceps tendon ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บเข่าด้านหน้าบริเวณลูกสะบ้า และเจ็บเข่าขณะเดินขึ้นลงบันได และในขณะวิ่ง
และนอกจากเส้นเอ็นบริเวณหัวเข่าที่เกิดการบาดเจ็บแล้วนั้น ยังพบการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ ที่สัมพันธ์กับหัวเข่าขณะวิ่งร่วมด้วย ดังนี้
- Sartorius เป็นกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ทอดยาวพาดผ่านต้นขาด้านหน้าถึงเข่าด้านใน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพก ขาหนีบ หรือปวดเข่าด้านในร่วมด้วย
- Tensor fasciae latae หรือ TFL เป็นกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกที่เชื่อมต่อกับ ITB มีหน้าที่กางข้อสะโพก และหมุนขาเข้าด้านใน ซึ่ง TFL เป็นจุดเกาะของเส้นเอ็นพิเศษ ITB ซึ่งจะทำงานร่วมกันขณะวิ่ง ดังนั้นเมื่อเกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อมัดนี้ ขณะวิ่ง จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกด้านข้างลงตามแนวขาด้านนอก จนถึงเข่าด้านนอกขึ้น
- Iliotibial band หรือ ITB เป็นเส้นเอ็นที่เชื่อมต่อจากกล้ามเนื้อต้นขาด้านนอก หรือกล้ามเนื้อ TFL ทำหน้าที่ร่วมกันขณะวิ่ง เมื่อวิ่งมากเกิน เส้นเอ็นนี้จะถูกใช้งานมากจนเกิดการอักเสบขึ้น เกิดเป็นอาการ ITBS หรือ Iliotibial band syndrome เป็นโรคยอดฮิตในหมู่นักวิ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเข่าด้านนอก บางรายปวดลามขึ้นต้นขาด้านนอกจนถึงสะโพก ตามแนวของ ITB นั่นเอง
ทำไมการนวดสลายพังผืด และ trigger point จึงสามารถรักษาอาการปวดเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อหัวเข่าเกิดการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเกิดจากการออกกำลังกาย การใช้งานหัวเข่ามากเกินไป หรือ จากอุบัติเหตุก็ตาม เนื้อเยื่อที่บาดเจ็บนั้นๆ จะเกิดเป็นการอักเสบขึ้น เมื่อเกิดการอักเสบแล้ว ร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดเข้าไปยึดเกาะตามเนื้อเยื่อ และเส้นเอ็นบริเวณข้อเข่าที่มีการอักเสบ ส่งผลให้มีอาการปวด เจ็บ แปล๊บในข้อเข่า และเกิดการติดขัด ดึงรั้งของข้อเข่าตามมา
และหากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง พังผืดจะสะสมมากขึ้นจนเกิดการยึดล็อคของข้อเข่า จนทำให้มีอาการเข่าติด งอเหยียดเข่าไม่สุด นั่งยองไม่ได้ เดินขึ้นลงบันไดลำบาก หากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรัง จะกลายเป็นภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต
นอกจากพังผืดในบริเวณหัวเข่าแล้ว สิ่งที่เราต้องรักษาร่วมด้วยคือ อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรอบข้างที่สัมพันธ์กับหัวเข่า เพราะหากกล้ามเนื้อที่มีความสัมพันธ์กับหัวเข่า เกิดอาการเกร็งตัว มักจะดึงรั้งให้เนื้อเยื่อรอบเข่าเกิดการอักเสบขึ้นด้วย ดังนั้นหากต้องการแก้อาการปวดเข่าให้หายขาดถาวร เราจำเป็นต้องแก้ทุกๆ สาเหตุที่ทำให้หัวเข่าเกิดการอักเสบขึ้น
การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณข้างเคียงจะเกิดจาก Trigger point ที่แทรกตามมัดกล้ามเนื้อบริเวณน่อง ต้นขา หรือลามไปจนถึงก้น สะโพกได้ โดยก้อน Trigger point นี้จะไปขัดขวางทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ของเสียคั่งค้างอยู่ภายในเซลล์มัดกล้ามเนื้อ จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเกร็ง ต้นขา สะโพก ร่วมด้วยได้
จะเห็นได้ว่า พังผืด และ Trigger point นี่เอง ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการปวด เจ็บ เสียวแปล๊บ ตึงขัดข้อเข่า ดังนั้นการรักษาอาการปวดเข่าที่ตรงจุด จำเป็นจะต้องสลายพังผืด และ Trigger point ออก จึงจะช่วยให้เนื้อเยื่อบริเวณเข่าคลายตัว และกลับมามีความยืดหยุ่นดังเดิม
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมการนวดสลายพังผืด และ Trigger point จึงรักษาอาการปวดเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถรักษาต้นเหตุของอาการได้ทั้ง 2 สาเหตุ และสามารถรักษาครอบคลุมได้ทั้งในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ ดังนั้นผลการรักษาที่ได้จึงแตกต่าง และชัดเจนกว่าการรักษาทั่วไป อาการเจ็บเข่าจะดีขึ้นได้อย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีก เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาถูกกำจัดออกไปจนหมดแล้ว
กลับสู่สารบัญข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด และ trigger point
ก่อนที่ผู้ป่วยจะตัดสินใจเข้ารับการรักษาอาการเจ็บเข่า เจ็บเข่าด้านหน้า เจ็บเข่าขณะวิ่ง เจ็บเข่าขณะขึ้นลงบันได ด้วยวิธีนวดสลายพังผืด และ trigger point นั้น ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจในการรักษาให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อตัวของผู้ป่วยเอง
กลับสู่สารบัญผู้ป่วยสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่ ข้อควรรู้ก่อนการรักษาด้วยวิธีสลายพังผืด และ trigger point
บทส่งท้าย
สำหรับเคสของคุณขจรมีปัญหาปวดเข่าจากการออกกำลังกาย จนเกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นบริเวณเข่า โดยการรักษาในทางแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์มักจะแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยเองไม่อยากผ่า เพราะกลัวจะไม่สามารถกลับไปออกกำลังหรือเล่นกีฬาได้อย่างเต็มที่อีก จึงพยายามเลี่ยงการผ่าตัดมาตลอด
คุณขจรได้ปรึกษากับแพทย์แผนปัจจุบันว่าจะรักษาด้วยการนวดได้ หรือไม่ ซึ่งการที่แพทย์ 2 ท่านไม่เห็นด้วยนั้น เป็นเรื่องปกติ เนื่องจากในปัจจุบันมีร้านนวดมากมายที่ไม่ได้มีความชำชาญหรือมีความรู้จริง ทำให้การนวดอาจส่งผลเสีย หรือทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม ดังนั้นการห้ามนวดเลยจึงอาจดีกว่าการให้ผู้ป่วยไปเสี่ยงว่าจะเจอร้านนวดที่ดี หรือไม่ดี นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแพทย์ถึงไม่แนะนำให้นวดนั่นเอง
แต่สำหรับการรักษาของทางชนัชพันต์คลินิกนั้น เป็นคลินิกแพทย์ทางเลือกแผนไทยประยุกต์ โดยทางคลินิกจะใช้วิธีการนวดสลายพังผืด และ trigger point โดยยึดหลักตามกายวิภาคศาสตร์ เน้นความปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยเป็นหลัก จึงแตกต่างจากการนวดไทย หรือนวดแก้อาการทั่วไปอย่างสิ้นเชิง
ซึ่งการนวดสลายพังผืดนี้ เมื่อกระทำโดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ จะสามารถช่วยรักษาอาการปวดเข่าให้ดีขึ้นได้จริง โดยไม่ต้องผ่าตัด และได้ผลการรักษาที่แตกต่างชัดเจนกว่าการรักษาทั่วๆ ไป
อย่างไรเราแนะนำให้ผู้ป่วยศึกษาแนวทางการรักษาหลายๆ แบบ และนำข้อมูลมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย แล้วค่อยเลือกการรักษาที่คิดว่าเหมาะกับตนเอง อย่างในเคสของคุณขจร ซึ่งเป็นผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ ดั้งนั้นผู้ป่วยจึงเลือกวิธีการรักษาที่ทำให้ตนเอง สามารถกลับไปออกกำลังกายได้อย่างเต็มที่อีกครั้งในอนาคต โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกาย ถึงแม้ว่าอาจจะต้องแลกกับการทนเจ็บขณะรักษาก็ตาม