ประวัติการเจ็บป่วย
จากประวัติคุณวิทยา อายุ 39 ปี ประกอบธุรกิจส่วนตัว คุณวิทยาชอบออกกำลังกายด้วยการเตะฟุตบอลอยู่เป็นประจำ และเกิดการบาดเจ็บอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการหกล้ม หรือการโดนกระแทก จนทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า และมีอาการปวดเข่าเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง ซึ่งโดยปกติอาการปวดเข่าจะหายไปได้เองเมื่อหยุดเล่นฟุตบอล (ปวดเข่าจากการออกกำลังกาย) แต่ในครั้งนี้อาการปวดเข่าไม่หายไปถึงแม้จะหยุดเล่นฟุตบอลแล้วก็ตาม ซึ่งในครั้งนี้ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่านานกว่า 10 เดือน จนอาการเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ ผู้ป่วยจึงเริ่มมองหาการรักษา ซึ่งเริ่มจาก
- การทำกายภาพบำบัด โดยใช้ Ultrasound , Shock wave , ประคบร้อน ผู้ป่วยรักษาอยู่ 3-4 ครั้ง แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงหยุดรักษาไป
- การนวดแผนโบราณ เมื่อปวดมากๆ ผู้ป่วยก็เลือกไปนวดคลายกล้ามเนื้อทั้งหลัง และขา ซึ่งสามารถบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อขาได้ แต่ไม่ได้ช่วยให้อาการปวดเข่าดีขึ้นเลย
เนื่องจากการรักษาที่ผ่านๆ มาอาจไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอ จึงทำให้อาการของผู้ป่วยเป็นหนักขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอาการดังต่อไปนี้
1. ปวดเข่า
2. ชาขา หน้าแข้ง
- ยืนได้เพียง 10 นาทีจะมีอาการปวดเข่าชาลงขา
- วิ่งได้ไม่เต็มที่ เพราะเมื่อผิดจังหวะจะเจ็บแปล๊บเข่าขึ้นมาทันที
- เดินขึ้นบันไดไม่ค่อยได้ เพราะจะปวด และเสียวหัวเข่า
เมื่ออาการเริ่มทรุดหนักลง ผู้ป่วยจึงไม่สามารถนิ่งนอนใจ และได้ค้นหาวิธีการรักษาทางเลือกอื่นๆ จนกระทั่งมาเจอชนัชพันต์คลินิก เมื่อศึกษาข้อมูลดีแล้ว จึงตัดสินใจมารักษา โดยมีอาการเปลี่ยนแปลงดังนี้
มารักษาครั้งที่ 1 วันที่ 3 ธันวาคม 2563
- หลังจากนวดรักษา 2 สัปดาห์ ทางคลินิกได้โทรติดตามผลการรักษา : ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นกว่า 80% ไม่ค่อยมีอาการปวดเข่าแล้ว เดินขึ้นบันไดได้ปกติโดยไม่มีอาการเสียวเข่า ยืนได้นานโดยไม่ปวด และไม่ชาลงหน้าแข้ง ทางคลินิกจึงแนะนำให้ผู้ป่วยกลับไปเตะฟุตบอลได้เลย เพื่อเช็คว่ายังมีอาการปวดตรงจุดไหนหลงเหลืออยู่ไหม
- เมื่อผู้ป่วยกลับไปเตะฟุตบอล : โดยรวมอาการดีขึ้นได้กว่า 95% สามารถวิ่ง และเตะฟุตบอลได้เต็มที่โดยไม่มีอาการปวดเข่าแล้ว
ผู้ป่วยได้มารักษาครั้งที่ 2 วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 (ห่างจากครั้งแรกประมาณ 1 ปี 2 เดือน)
ด้วยอาการปวดเข่าอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้สาเหตุมาจากการเตะฟุตบอลเช่นเดิม แต่เพิ่งเริ่มมีอาการได้ 3 วัน ผู้ป่วยจึงรีบเข้ามารักษาทันที เพราะกลัวว่าถ้าปล่อยไว้ อาการอาจทรุดหนักลงเหมือนในครั้งแรก อีกทั้งผู้ป่วยทราบแล้วว่าการรักษาของทางคลินิก สามารถรักษาอาการของผู้ป่วยได้อย่างตรงจุด และมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยจึงไม่รีรอ และรีบเข้ามารักษาทันที โดยในครั้งนี้ผู้ป่วยมีอาการดังนี้
- ปวดเข่าทั้ง 2 ข้าง โดยเฉพาะเข่าด้านหน้า
- ปวดมากขณะยืน วิ่งเร็วไม่ได้ เตะฟุตบอลแล้วเข่าลั่น
ซึ่งหลังจากการรักษาครั้งที่ 2 ทางคลินิกได้มีการโทรสอบถามอาการ ผู้ป่วยแจ้งว่าไม่มีอาการเข่าลั่นแล้ว อาการปวดเข่าก็ลดลงอย่างชัดเจน
การรักษาของทางคลินิกจะมุ่งหวังให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตได้เต็มที่ดังเดิม สามารถกลับไปเล่นกีฬา หรือออกกำลังกายได้เหมือนเดิม สามารถกลับไปทำงานได้เต็มที่แบบไม่มีข้อจำกัดทางร่างกาย เพราะเมื่อผู้ป่วยรักษากับทางคลินิกจนหายดีแล้ว ทางคลินิกจะไม่มีข้อห้ามใดๆ ไม่ว่าจะเป็น การห้ามยกของ ห้ามทำงาน ห้ามเล่นกีฬา ห้ามทำอิริยาบถนี้ๆ เป็นต้น เนื่องจากเราเข้าใจดีว่า ทุกคนมีอาชีพ และมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน บางคนมีสิ่งที่ต้องทำ มีกีฬาที่ชอบ ดังนั้นถ้าจะต้องทำ ก็ทำได้เลย เพียงแค่ให้ระวัง พยายามอย่าให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นใหม่
หรือหากเกิดการบาดเจ็บขึ้นกับร่างกายแล้ว อย่าปล่อยทิ้งไว้ ผู้ป่วยก็ควรรีบรักษาโดยทันที และต้องเป็นการรักษาที่ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถแก้อาการได้จริง เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของปัญหาจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง เพื่อให้ร่างกายของเราดีพร้อมใช้งานได้อย่างเต็มที่ไปตลอดจนถึงวัยชราภาพ
กลับสู่สารบัญตำแหน่งกล้ามเนื้อที่พบปัญหา
สำหรับอาการของคุณวิทยา มีปัญหาบริเวณข้อเข่าหลายส่วน โดยเฉพาะเส้นเอ็นภายในข้อเข่าที่ช่วยยึดกระดูกให้เชื่อมติดกัน รวมถึงมีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อเข่าในท่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน วิ่ง รวมถึงการงอเหยียดเข่า พร้อมทั้งยังเสริมความแข็งแรง และมั่นคงให้แก่ข้อเข่า เพราะฉะนั้นเส้นเอ็นจึงเป็นส่วนสำคัญของข้อเข่ามาก เมื่อข้อเข่ามีความผิดปกติ เส้นเอ็นจึงเป็นสิ่งแรกๆ ที่จะเกิดการบาดเจ็บขึ้น โดยอาการของคุณวิทยานั้น พบการบาดเจ็บของเส้นเอ็นภายในข้อเข่าหลายจุด ดังนี้
- Quadriceps tendon เป็นเส้นเอ็นที่เชื่อมระหว่างลูกสะบ้ากับกล้ามเนื้อต้นขา (Quadriceps femoris) มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อเข่าทั้งการเดิน วิ่ง กระโดด
- Patellar tendon เป็นเส้นเอ็นบริเวณใต้ลูกสะบ้า ทำหน้าที่ในการเหยียดข้อเข่า โดยเฉพาะในท่ากระโดด
- Anterior cruciate ligament (ACL) หรือเอ็นไขว้หน้า เป็นเส้นเอ็นภายในข้อเข่า ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงข้อเข่ามั่นคง มีผลต่อการเคลื่อนไหวของข้อเข่าโดยตรง และเอ็นไขว้หน้านี้เองที่เกิดการบาดเจ็บบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในการเล่นฟุตบอล
- Posterior cruciate ligament (PCL) หรือ เอ็นไขว้หลัง เป็นเอ็นภายในข้อเข่าเช่นเดียวกับเอ็นไขว้หน้า ซึ่งทั้งสองเส้นนี้จะยึดเกาะโดยไขว้กันอยู่ภายในข้อเข่า พบการอักเสบร่วมด้วย
กล้ามเนื้อที่พบการอักเสบเกร็งตัวจากการใช้งานขาเป็นส่วนมาก ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้งานสัมพันธ์กันทั้ง 2 มัดในขณะเหวี่ยงขาเพื่อเตะลูกฟุตบอล โดยกล้ามเนื้อทั้ง 2 มัดนี้คือ
- Rectus femoris เป็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า เป็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเหยียดขา
- Hamstring เป็นกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ทำหน้าที่ในการงอขา
กล้ามเนื้อขา ก็เป็นส่วนหนึ่งที่พบการอักเสบร่วมด้วย ทั้งจากการขับรถ เหยียบคลัชบ่อย การเตะฟุตบอล จึงจำเป็นต้องนวดแก้อาการบริเวณกล้ามเนื้อปลายขาร่วมด้วย ยกตัวอย่างเช่น
- Tibialis anterior หรือกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้ง ทำให้ปวดหน้าแข้ง
- Gastrocnemius หรือกล้ามเนื้อน่อง พบการเกร็งตัว และอักเสบลามลงมาจนถึงปลายขา ทำให้มีอาการปวดล้าน่อง และขาได้
เส้นประสาทที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้เกิดอาการชาขา ชาปลายเท้า จะเห็นได้ว่าข้อเข่านั้นมีเส้นประสาททอดผ่านหลายเส้น โดยเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
- เส้นประสาท Sciatic หรือเรียกว่าเส้นประสาทไซอาติก เป็นเส้นประสาทใหญ่ที่เลี้ยงตั้งแต่ช่วงหลังล่างไปจนถึงขา
- Tibial nerve เป็นเส้นประสาทที่แตกแขนงออกจากไซอาติก เลี้ยงบริเวณข้อพับเข่า น่อง จนปลายขา
- Fibular nerve เป็นเส้นประสาทที่แตกแขนงออกจากไซอาติก เลี้ยงบริเวณเข่าด้านนอก หน้าแข้ง จนปลายขา
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้หัวเข่าเกิดอาการปวด
อาการปวดเข่าเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากอุบัติเหตุ จากการได้รับแรงกระแทกบริเวณเข่า จากการเล่นกีฬา หรือจากการใช้งานข้อเข่าที่มากเกินไป เช่น น้ำหนักตัวมากเกินไป หรือการนั่งยองบ่อย เป็นต้น ซึ่งทุกสิ่งที่กล่าวมานั้น ล้วนส่งผลให้ข้อเข่าเกิดการบาดเจ็บได้ทั้งสิ้น แต่ความรุนแรงนั้นจะแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น
- การบาดเจ็บของข้อเข่าจากการเล่นกีฬาเช่น วิ่ง บาสเก็ตบอล และโดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลที่พบการบาดเจ็บของข้อเข่ามากที่สุด เนื่องจากการเตะฟุตบอลนั้นมีแรงกระแทกของข้อเข่าขณะวิ่ง มีการยืดหดของเอ็นข้อเข่าอย่างกระทัน ทั้งในการวิ่งเร็วแล้วหยุดกระทันหัน การบิดตัวหลบหลีก การออกแรงเตะลูกฟุตบอล เป็นต้น รวมถึงยังมีการกระแทก หรือปะทะกันระหว่างผู้เล่น ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงเป็นเหตุผลให้มีการบาดเจ็บของข้อเข่าจากการเตะฟุตบอลมากที่สุด และมักจะเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรง ฉับพลัน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการขึ้นทันที
- การบาดเจ็บของข้อเข่าจากสาเหตุอื่นที่นอกเหนือจากการเล่นกีฬา ที่พบบ่อยได้แก่ อุบัติเหตุหกล้มเข่ากระแทก ซึ่งผู้ป่วยมักจะเกิดการอักเสบขึ้นมาทันที นอกจากนี้ก็จะเป็นปัจจัยเสริม หรือการสะสมอาการที่เกิดจากการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป เช่น น้ำหนักตัวที่มาก นั่งยองบ่อยๆ เป็นต้น ซึ่งการบาดเจ็บในลักษณะนี้มักจะไม่รุนแรงทันที แต่จะค่อยๆ สะสมปัญหาไปทีละน้อย ดังนั้นผู้ป่วยจะเริ่มจาก มีอาการเล็กน้อยจนไปถึงมีอาการรุนแรง
โดยหลังจากเกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ร่างกายจะพยายามซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บนั้นๆ เกิดเป็นกระบวนการอักเสบขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวด หรืออาจมีอาการบวม แดง ร้อน ซึ่งอาการอักเสบนี้จะอยู่ในช่วง 1-5 วันหลังจากมีการบาดเจ็บ และหลังจากการอักเสบจบสิ้น ร่างกายจะสร้างพังผืดตามมา ซึ่งเยื่อพังผืดนี้เองเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆ บริเวณข้อเข่า ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผิดปกตินี้แบบเป็นๆ หายๆ หรือไม่หายขาด แม้ว่าการอักเสบจะดีขึ้นแล้ว โดยอาการผิดปกตินี้ได้แก่
- อาการ ตึง ปวด เพราะพังผืดทำให้เกิดการอักเสบค้างอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ
- อาการงอเข่าไม่สุด เหยียดเข่าไม่สุด เหยียดแล้วเกิดอาการเสียว เข่าหลวม/เข่าหลุดง่าย เนื่องจากพังผืดไปเกาะทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อเข่าขาดความยืดหยุ่น และอาจทำให้เอ็นฉีกขาดเพิ่มอีกในอนาคต
- เสียงดังในหัวเข่าขณะขยับ เนื่องจากพังผืดได้ไปเกาะคลุมหมอนรองข้อเข่า หรือกระดูกอ่อนข้อเข่า ทำให้ขณะเดิน หรือเคลื่อนไหวข้อเข่า เนื้อเยื่อบริเวณนี้เกิดการเสียดสีกันอยู่ตลอด จนหมอนรองเข่า หรือกระดูกอ่อนสึกกร่อน และเกิดเป็นภาวะข้อเข่าเสื่อมในที่สุด
ทำไมการนวดสลายพังผืด และ trigger point จึงสามารถรักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรักษาด้วยวิธีการนวดสลายพังผืดนั้น สามารถรักษาอาการปวดเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการกำจัดที่ต้นเหตุหลักของอาการปวดเข่าโดยตรง เพราะพังผืดจะถูกสร้างขึ้นมาหลังจากกระบวนอักเสบที่มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บต่างๆ เช่น หกล้มเข่ากระแทกพื้น ได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอลที่พบการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่าสูงกว่ากีฬาประเภทอื่นๆ ซึ่งพังผืดที่เกิดขึ้นนี้เองจะเข้าไปยึดเกาะตามใยมัดกล้ามเนื้อบริเวณเข่า เส้นเอ็นภายในข้อเข่า รวมถึงข้อต่อเข่า หมอนรองกระดูกเข่า และเนื้อเยื่อต่างๆ ภายในข้อเข่า
เมื่อพังผืดเข้าไปยึดเกาะที่ตำแหน่งใด ก็จะทำให้เกิดความผิดปกติของส่วนนั้นๆ ส่งผลให้มีอาการปวด จากการไหลเวียนของเลือดที่ลดลงเนื่องจากถูกพังผืดบีบรัด รวมถึงส่งผลให้ข้อเข่ายึดล็อก ทำให้เคลื่อนไหวเข่าที่ท่าต่างๆ ได้ลดน้อยลง เช่น งอเข่าไม่สุด เหยียดเข่าไม่สุด นั่งยองไม่ได้ และยังส่งผลต่อการยืน การเดิน เช่น เดินขึ้นลงบันไดลำบาก เดินกระเผลก เดินไกลไม่ได้ เนื่องจากการใช้งานของข้อเข่าที่ถูกจำกัด จึงกระทบต่อชีวิตประจำวันโดยตรง
เพราะฉะนั้นการรักษาอย่างตรงจุดที่สุดนั่นคือ การกำจัดพังผืดออก ซึ่งปัจจุบันมีการกำจัดพังผืดด้วยการผ่าตัดในทางแผนปัจจุบัน และการนวดสลายพังผืดในแพทย์ทางเลือก ที่สามารถกำจัดพังผืดออกได้โดยตรง ดังนั้นเมื่อพังผืดถูกสลายทิ้งจนหมด กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อต่างๆ ก็จะกลับมามีสุขภาพดีดังเดิม ส่งผลให้การเคลื่อนไหวข้อเข่ากลับเป็นปกติ อาการปวดเกร็ง เสียวหัวเข่า และอาการยึดล็อคก็จะหายไป และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีก
การนวดสลายพังผืดนี้จึงเป็นการรักษาอาการผิดปกติ บริเวณหัวเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาจากต้นเหตุที่แท้จริง และให้ผลที่ชัดเจน และยั่งยืน
ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด และ trigger point
การนวดสลายพังผืดเพื่อรักษาอาการปวดเข่า เป็นอีกหนึ่งการรักษาทางเลือก สำหรับผู้ที่มีอาการปวดเข่าแต่ไม่อยากทานยาไปตลอด ไม่อยากผ่าตัด หรือรักษามาหลายวิธีแต่อาการยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร
การรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืดนี้เป็นการกำจัดถึงต้นตอของอาการปวด ขัด เสียว แปล๊บบริเวณข้อเข่าได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเกิดจากการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การใช้งานหัวเข่าที่มากเกินไป หรือเกิดจากอุบัติเหตุ
แต่ถึงแม้ว่าการรักษาด้วยการนวดสลายพังผืดนี้ จะสามารถรักษาอาการปวดเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จริง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความเจ็บที่เกิดขึ้นขณะรักษา หรือการรักษาต่อเนื่องที่ไม่ได้มาเพียง 1 ครั้งแล้วหายขาดทันที เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลการรักษาเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์แก่ตัวู้ป่วยเอง โดยสามารถอ่านรายละเอียดการรักษาก่อนเข้าใช้บริการได้ที่นี่ ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืด และ trigger point
บทส่งท้าย
การบาดเจ็บหัวเข่าจากการเล่นฟุตบอลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เนื่องจากฟุตบอลเป็นกีฬาที่มีการใช้หข้อเข่าหนัก รวมถึงเป็นกีฬาที่มีการชนปะทะกันอย่างบ่อยครั้ง ซึ่งการบาดเจ็บในแต่ละครั้งจะสะสมปัญหาไปเรื่อยๆ ทีละเล็ก ทีละน้อย จนในที่สุด หัวเข่าจะเริ่มมีความผิดปกติต่างๆ เช่น อาการปวด/เสียว/ขัด/ชา/แปล๊บ การลงน้ำหนักไม่ได้ การงอเหยียดเข่าได้ไม่สุด และเมื่อมีอาการหนักถึงจุดหนึ่ง การรักษาด้วยวิธีทั่วๆ ไป อาจไม่สามารถทำให้อาการที่มีอยู่หายไปได้ จนอาจทำให้บางท่านต้องหยุดเล่นถาวร และละทิ้งจากการเตะฟุตบอลไปเลย
ดังนั้นเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บขึ้น ผู้ป่วยต้องตระหนักถึงอาการที่ตนเป็นอยู่ ไม่ควรปล่อยปละละเลย และควรรีบหาทางรักษา เพื่อจะได้กลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ กับการเล่นกีฬา หรือการออกกำลังกายได้อีกครั้ง
ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีวิธีการรักษามากมาย ผู้ป่วยจึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาหลายๆ แห่ง และนำมาพิจารณาว่าการรักษาแบบไหนที่เหมาะสมแก่ตัวเรา เช่น
- รูปแบบการรักษา : ดูว่าที่ที่เราจะไปรักษานั้น มีการรักษาอย่างไร แล้วจะช่วยให้อาการของเราหายได้อย่างไร เพราะการรักษาที่ดีนั้น ต้องรู้สาเหตุการเกิดโรค และรู้วิธีแก้ไข สามารถอธิบาย และมีข้อเท็จจริงมารองรับ
- รีวิว/ผลการรักษา : เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะหากมีคนอาการเหมือนเราแล้วรักษาหาย อาจจะจากการบอกเล่าแบบปากต่อปาก หรือ จากสื่อต่างๆ ของสถานที่รักษา ยิ่งมีรีวิวเยอะ ก็เป็นตัวบ่งบอกได้ว่าสามารถรักษาได้จริง ก็มีโอกาสที่เราจะรักษาแล้วหายนั้นเป็นไปได้สูง
- นอกจากนี้ยังมีส่วนอื่นๆ ประกอบกัน เช่น ผู้รักษา ยิ่งมีความรู้ ความชำนาญ รวมถึงประสบการณ์มาก ก็ยิ่งเป็นตัวบ่งบอกประสิทธิภาพในการรักษาได้ เป็นต้น