ปวดเข่าด้านหน้า อยากหายขาด ต้องรักษาด้วยวิธีใด

ปวดเข่าด้านหน้า

อาการปวดเข่าด้านหน้านั้น เป็นอาการที่พบได้มากในช่วงวัยกลางคนจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และในผู้สูงอายุจากความเสื่อมสภาพของร่างกาย โดยอาการปวดเข่าอาจมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย หรืออาจปวดมากจนยืน เดิน นั่งลำบาก สร้างความลำบากในชีวิตประจำวัน

ในบทความนี้เราจะกล่าวถึงอาการปวดเข่าด้านหน้า หรือปวดบริเวณลูกสะบ้า ซึ่งเป็นอาการปวดเข่าที่พบเจอได้บ่อย เนื่องจากเป็นบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณเอ็นไขว้หน้าเข่า โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวดเข่าด้านหน้า รวมถึงการรักษาอาการปวดเข่าด้านหน้าด้วยการนวดสลายพังผืด ซึ่งเป็นการรักษาที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพสูง และให้ผลที่ดีขึ้นอย่างถาวร

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่าด้านหน้า

อาการปวดเข่าด้านหน้า มักจะมีสาเหตุเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณมัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น รวมถึงข้อต่อ ที่อยู่บริเวณด้านหน้าของข้อเข่า เช่น เอ็นไขว้หน้าเข่า ลูกสะบ้า หมอนรองเข่า และกล้ามเนื้อบริเวณเข่าด้านหน้า ซึ่งการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

  • พฤติกรรมการใช้งานข้อเข่ามากเกินไป เช่น การนั่งยอง นั่งพับเพียบ นั่งคุกเข่า รวมถึงนั่งไขว้ขา นั่งไขว่ห้าง เป็นเวลานาน เนื่องจากมีการงอพับเข่าต่อเนื่อง ส่งผลให้กล้ามเนื้อ หรือ เส้นเอ็น บริเวณหน้าเข่าถูกเหยียดขยายเป็นเวลานาน เกิดความอ่อนล้า และอาจเกิดเป็นอาการบาดเจ็บได้ในที่สุด
  • การยกของหนัก ในลักษณะการย่อเข่าลงไปยก หากน้ำหนักสิ่งของมากเกินไป จะทำให้เกิดแรงกดที่ข้อเข่า อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ส่งผลให้มีการอักเสบ และปวดขึ้น
  • การออกกำลังกาย เช่น การสควอช การวิ่ง การกระโดด ที่ไม่ได้มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นให้ดีพอ หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหมมากเกินไป ก็สามารถทำให้หัวเข่าด้านหน้าเกิดการบาดเจ็บได้
  • การเล่นกีฬาบางประเภท เช่น การเตะฟุตบอล ซึ่งจะมีการใช้งานบิดหมุนหัวเข่า หรือการเล่นบาสเก็ตบอล ที่ต้องมีการกระโดด กระแทกบ่อยๆ ส่งผลให้เอ็นไขว้หน้าเข่าเกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดได้ รวมถึงการเล่นเซิร์ฟสเก็ต หรือสเก็ตบอร์ด ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุล้มเข่ากระแทก ในขณะเล่น ทำให้หัวเข่าได้รับการบาดเจ็บโดยตรง
  • อุบัติเหตุ เช่น หกล้มเข่ากระแทกพื้น ทำให้หัวเข่าด้านหน้าได้รับแรงกระแทกโดยตรง เป็นต้น

จากสาเหตุข้างต้นที่กล่าวมา เมื่อเกิดการบาดเจ็บบริเวณเข่าด้านหน้า ร่างกายจะพยามยามซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บนี้ ซึ่งหลังจากกระบวนการซ่อมแซมนั้น จะเกิดพังผืดส่วนเกินขึ้น ซึ่งตัวพังผืดนี้จะเข้าไปยึดเกาะตามมัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ ส่งผลให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนนำสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงบริเวณนั้นๆ ได้เต็มที่ กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนั้นจึงเกิดความแข็ง ขาดความยืดหยุ่น เกิดการยึด ดึงรั้ง ปวด ติดขัด ขณะเคลื่อนไหว หรืออาจทำให้ข้อเข่าไม่สามารถเหยียดพับได้สุด

พังผืดที่เกิดขึ้นแล้วนั้นไม่สามารถสลายออกไปได้เอง หากปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลให้เกิดการดึงรั้งของเนื้อเยื่อในบริเวณนั้นซ้ำไปซ้ำมา จนเกิดการบาดเจ็บลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ เช่น เข่าด้านนอก เข่าด้านใน ใต้ข้อพับเข่า จนอาจทำให้กลายเป็นภาวะเข่าเสื่อมในที่สุด หรือสามารถลุกลามไปยัง หน้าแข้ง น่อง ต้นขา หรือแม้กระทั่งบริเวณสะโพก ทำให้บริเวณที่ถูกลุกลามเกิดการอักเสบ และอาการปวดร่วมด้วย

กลับสู่สารบัญ

อาการปวดเข่าด้านหน้าที่พบบ่อย

ปวดเข่าด้านหน้ากลางลูกสะบ้า

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าด้านหน้าบริเวณกลางลูกสะบ้า มักมีสาเหตุเกิดจากการได้รับแรงกระแทกโดยตรง เช่น การหกล้มเข่ากระแทกพื้น หรือการได้รับแรงกระแทกเข้าตรงกลางเข่า ทำให้มีการอักเสบเกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อกลางลูกสะบ้า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดกลางหัวเข่าขณะขยับหัวเข่า เช่น ขณะงอเข่า ขณะขึ้นบันได เป็นต้น

ปวดเข่าด้านหน้าใต้ลูกสะบ้า

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดบริเวณเข่าด้านหน้าใต้ลูกสะบ้า มักเกิดจากการบาดเจ็บของเอ็นไขว้หน้า หรือเอ็นไขว้หน้าฉีกขาด ซึ่งเอ็นไขว้หน้านี้ มีหน้าที่ในการช่วยรักษาความมั่นคงภายในข้อเข่าให้เคลื่อนไหวได้ปกติ การบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้าในระยะแรกเริ่มที่อาการยังไม่รุนแรงนั้น มักทำให้เกิดการปวดบริเวณหัวเข่าด้านหน้าใต้ลูกสะบ้า โดยอาจมีอาการปวดไม่มาก และอาจปวดเพียงบางจังหวะ หรือปวดเมื่อออกกำลังกายหนักๆ เท่านั้นเป็นต้น

ปวดเข่าด้านหน้าใต้ลูกสะบ้าร่วมกับบริเวณอื่น

การปวดในลักษณะนี้ มักพบในผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บบริเวณเอ็นไขว้หน้า หรือเอ็นไขว้หน้าฉีกขาด แบบสะสมเรื้อรังมานาน และไม่ได้รับการรักษาที่ตรงจุด ส่งผลให้อาการลุกลามไปบริเวณข้างเคียง โดยบริเวณที่พบได้บ่อยคือบริเวณเอ็นหรือกล้ามเนื้อหัวเข่าเหนือลูกสะบ้าทั้ง 2 ข้าง อาการปวดในระยะนี้จะเริ่มรุนแรงขึ้น โดยอาจปวดหรือเสียวหัวเข่ามากขึ้น ขณะเดินลงบันได หรือในขณะวิ่ง

ปวดเข่าด้านหน้า และปวดร้าวขึ้นต้นขาด้านนอก (ITB)

อาการปวดเข่าด้านหน้า และปวดร้าวขึ้นต้นขาด้านนอก เป็นอาการที่พบได้บ่อยจากการวิ่ง เนื่องจากเอ็นบริเวณต้นขาด้านนอก หรือ Iliotibial band ที่เรารู้จักกันว่า ITB ซึ่งเป็นเส้นเอ็นหลักที่ถูกใช้งานขณะวิ่งนั้น จะทอดผ่านตั้งแต่ต้นขาจนถึงด้านข้างของหัวเข่า หากเอ็นชุดนี้เกิดอาการอักเสบเรื้อรัง จะเริ่มมีการหดเกร็ง และดึงรั้งให้เอ็นด้านหน้าหัวเข่าเกิดอาการปวดร่วมด้วย ผู้ป่วยที่เป็นนักวิ่งบางท่านจึงมีอาการปวดตั้งแต่กลางเข่า ข้างเข่า และปวดลามขึ้นต้นขาด้านนอกร่วมด้วย

ปวดเข่าด้านหน้าหลายจุด

อาการปวดเข่าด้านหน้าหลายๆ ตำแหน่งนั้น มักเกิดในผู้สูงอายุที่ข้อเข่าเริ่มมีการเสื่อมสภาพ หรือเกิดในผู้ที่มีอาการปวดเข่าเรื้อรังเป็นๆ หายๆ มานาน และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ทำให้การอักเสบลุกลามไปยังหลายจุดของหัวเข่า เกิดพังผืดยึดเกาะตามกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และบริเวณข้อต่อ ส่งผลให้เกิดอาการน้ำเลี้ยงในหัวเข่าแห้ง และเกิดเป็นภาวะเข่าเสื่อมได้ในที่สุด

กลับสู่สารบัญ

ทำไมรักษาอาการปวดเข่ามานานแต่ไม่หายสักที

การรักษาอาการปวดเข่าด้านหน้าในปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการทานยา เช่น ยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ การทำกายภาพบำบัด เช่น การทำ Ultrasound การทำ Shock wave การทำกายบริหาร การฝังเข็ม รวมถึงการนวด โดยในผู้ที่มีอาการปวดเข่าเพียงเล็กน้อยนั้น มักจะตอบสนองดีกับการรักษาทุกรูปแบบ

แต่ในผู้ที่มีอาการบาดเจ็บหนัก หรือในผู้ที่มีอาการปวดเข่าเป็นๆ หายๆ เรื้อรังมาตลอด การรักษาข้างต้นอาจไม่สามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้นจนน่าพอใจได้ เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ไม่สามารถเข้าไปแก้ปัญหาได้จากต้นเหตุ ซึ่งก็คือ พังผืดที่เกาะอยู่ตามกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นนั่นเอง

จากที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้วว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่าด้านหน้านั้น มักเกิดจากกล้ามเนื้อหน้าเข่า เส้นเอ็นหน้าเข่า รวมถึงข้อต่อบริเวณลูกสะบ้า เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งทุกครั้งที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อเกิดการบาดเจ็บ ร่างกายจะสร้างพังผืดขึ้นมายึดเกาะเพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ แต่พังผืดที่สร้างขึ้นนั้นมักจะไปยึดเกาะเนื้อเยื่อข้างเคียงร่วมด้วย จึงทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อบริเวณรอบข้าง ขาดสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงอย่างเพียง จึงเกิดการแข็งตึง ยึดล็อค ไม่ยืดหยุ่น ดึงรั้งทำให้เกิดอาการปวดหรือเสียวขณะขยับหัวเข่า

การรักษาส่วนใหญ่ที่มีในปัจจุบันนั้น จะเน้นแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ คือรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น โดยจะเน้นไปที่การลดการอักเสบ ลดอาการปวด แต่ไม่ได้มองไปถึงว่า อะไรคือสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวด ซึ่งก็คือพังผืดที่ยึดเกาะอยู่ตามเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ เมื่อการรักษาเหล่านี้มองข้ามต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดไป

ผลการรักษาที่เกิดขึ้นจึงเป็นการระงับอาการปวดเพียงชั่วคราวเท่านั้น จะดีขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ป่วยหยุดใช้งานหัวเข่า แต่เมื่อผู้ป่วยกลับไปใช้งานหัวเข่าอีกครั้ง อาการปวดก็จะกลับมาอีก เป็นๆ หายๆ ซ้ำไปมา จนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข และอาจถึงขั้นที่ต้องได้รับการผ่าตัดในที่สุด

กลับสู่สารบัญ

ทำไมการนวดแก้อาการด้วยการสลายพังผืด จึงช่วยรักษาอาการปวดเข่าด้านหน้า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากที่ได้กล่าวถึงแล้วในข้างต้นว่า พังผืด คือ ต้นเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการปวด หรือเสียวหัวเข่าด้านหน้า ดังนั้น การรักษาที่จะมีประสิทธิภาพ และให้ผลการรักษาที่ดีขึ้นถาวรนั้น จะต้องเป็นการรักษาที่กำจัดพังผืดออกไป ซึ่งในปัจจุบันนั้น จะมีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ การผ่าตัดเลาะพังผืด และการนวดสลายพังผืด

การผ่าตัดเลาะพังผืด มักจะเป็นวิธีสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เนื่องจากการผ่าตัดมีความเสี่ยงที่และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับการนวดสลายพังผืดที่มีความปลอดภัยสูง และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าค่อนข้างมาก

การนวดสลายพังผืด เป็นการนวดที่เน้นกำจัดก้อนพังผืดที่ยึดเกาะตามมัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และเส้นประสาทออก มีวัตุประสงค์เพื่อรักษาอาการปวด ชา เสียว ให้ดีขึ้นอย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกในอนาคต ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดแผนไทยโดยสิ้นเชิง เนื่องจากการนวดแผนไทยจะไม่สามารถลงลึกได้เท่าการนวดสลายพังผืด

ซึ่งขั้นตอนในการนวดสลายพังผืดนั้น จะเริ่มจากการตรวจจับคลำหาพังผืดบริเวณหัวเข่า จากนั้นจะทำการนวดสลายพังผืดที่พบออก โดยใช้นิ้วมือ หรือ ไม้นวดเล็กๆ ในขณะที่ทำการสลายพังผืด ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ แต่เมื่อพังผืดสลายตัวออก ความเจ็บก็จะหายไป การนวดแก้อาการด้วยการสลายพังผืด เป็นเทคนิคเฉพาะ ต้องอาศัยความรู้ และความชำนาญของหมอผู้นวด เพราะจุดที่มีปัญหาจะแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล โดยจุดนวดแก้อาการปวดเข่าด้านหน้า มักพบปัญหาบริเวณหลักที่สำคัญ ดังนี้

  • Quadricep femoris เป็นเส้นเอ็นหลักที่เชื่อมกล้ามเนื้อต้นขากับลูกสะบ้า
  • Patellar หรือ กระดูกลูกสะบ้า จะเป็นกระดูกที่อยู่บริเวณหน้าเข่า
  • Anterior cruciated ligament (ALC) หรือ เอ็นไขว้หน้า เป็นเอ็นหลักที่ทำหน้าที่ซัพพอร์ตข้อเข่าให้มีความมั่นคง เป็นเอ็น
  • Patellar tendon หรือ เอ็นลูกสะบ้า เป็นเส้นเอ็นที่เชื่อมลูกสะบ้ากับกระดูกหน้าแข้ง
  • Iliotebial band หรือ ITB เป็นกล้ามเนื้อพิเศษ ที่เชื่อมตั้งแต่สะโพกด้านนอกจนถึงข้อเข่าด้านนอก
  • Lateral collateral ligament (LCL) หรือ เอ็นเข่าด้านนอก
  • Fibularis longus เป็นกล้ามเนื้อชิดกระดูกหน้าแข้งด้านนอก
กลับสู่สารบัญ

ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่หายจากอาการปวดเข่า ด้วยวิธีการนวดสลายพังผืด

กลับสู่สารบัญ

ข้อควรรู้ก่อนการรักษาอาการปวดเข่าด้านหน้า ด้วยวิธีการนวดสลายพังผืด

ก่อนจะตัดสินใจรักษาอาการปวดเข่าด้านหน้า ด้วยวิธีการนวดสลายพังผืดนั้น ผู้ป่วยควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ประกอบ

1. การนวดแก้อาการด้วยวิธีนี้ ถึงแม้ว่าจะสามารถรักษาให้อาการหายขาดได้ แต่อาจไม่ได้รักษาหายภายในครั้งเดียว

ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการปวดเข่าด้านหน้า การนวดสลายพังผืดด้วยผู้ที่ชำนาญ อาจจะสามารถทำให้ดีขึ้นได้เลยภายในครั้งเดียว แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังมาสักระยะหนึ่งแล้ว อาจจะต้องใช้เวลาในการรักษา ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้อาการหายช้า หรือเร็วนั้น จะขึ้นอยู่กับ

  • ความเชี่ยวชาญของผู้นวดแก้อาการ

ผู้รักษาที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษา เมื่อตรวจอาการแล้วจะรู้ทันทีว่าต้นเหตุของอาการอยู่ที่ใด และต้องแก้ที่ตำแหน่งใด ซึ่งจะแตกต่างผู้รักษาที่ไม่มีความชำนาญโดยสิ้นเชิง เพราะผู้ที่ไม่มีความรู้ ความชำนาญ จะไม่สามารถแยกได้ว่ากล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาท ที่มีความผิดปกตินั้นเป็นอย่างไร แล้วเชื่อมโยงไปที่จุดใดบ้าง ดังนั้นการรักษาโดยผู้ที่ชำนาญการ จะสามารถรักษาได้ครอบคลุม ครบถ้วน ให้ผลการรักษาที่รวดเร็ว แม่นยำ และตรงจุดกว่าการรักษาโดยผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญ

  • ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการสะสมมา

ในกรณีที่มีอาการปวดข้อมือเรื้อรัง หรือมีอาการเป็นๆ หายๆ มานานในเคสลักษณะนี้ จะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการ เนื่องจากในผู้ป่วยที่มีอาการมานานนั้น พังผืดจะหนาตัว และจะแทรกลุกลามไปในชั้นกล้ามเนื้อชั้นลึกๆ หรือลามไปบริเวณใกล้เคียงจนรบกวนเส้นประสาทค่อนข้างชัดเจน เกิดเป็นอาการชา แสบร้อน แปล๊บคล้ายไฟช็อต เกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องรักษาหลายครั้งกว่าจะสลายพังผืดออกได้จนหมด

ในขณะที่ผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการไม่นานนั้น จะมีพังผืดเพียงเล็กน้อย และจะมีอยู่เพียงกล้ามเนื้อชั้นบนๆ ไม่ได้ฝังลงลึก และไม่ได้ลุกลามไปบริเวณอื่นๆ ดังนั้น จึงใช้เวลารักษาน้อยกว่า ได้ผลที่ชัดเจนกว่า และหายไวกว่า

  • สภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย

ผู้ป่วยแต่ละท่านมีสภาพกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องของความสามารถในการคลายตัว หรือการสลายตัวของพังผืด ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อที่คลายตัวได้เร็ว และพังผืดสลายตัวได้ง่าย ก็จะเห็นผลการรักษาที่ชัดเจน และไวกว่า

2. การนวดสลายพังผืดมีความเจ็บ

เนื่องจากการนวดสลายพังผืด จะเน้นไปที่การรักษาอาการของผู้ป่วยให้หาย ไม่ได้เน้นเรื่องความผ่อนคลาย ดังนั้น ขณะทำการรักษา ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ ซึ่งจะเจ็บมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือเทคนิคของการนวดแก้อาการในแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยวิธีการนวดสลายพังผืดนี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยที่พอทนความเจ็บได้บ้าง หากเป็นผู้ที่ทนความเจ็บไม่ได้เลย อาจจะต้องเลือกการรักษาทางอื่นแทน

3. อาจเกิดการระบม หรือรอยฟกช้ำขึ้น หลังจากการนวด

การนวดแก้อาการสลายพังผืดนั้น อาจะทำให้เกิดความระบม หรือมีรอยฟกช้ำขึ้น หลังจากการรักษา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการระบม และรอยฟกช้ำ จะเกินระยะเวลาประมาณ 3-10 วัน โดยจะระบมมาก-น้อย หรือฟกช้ำ มาก-น้อย แค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการนวดรักษาของสถานที่นวดแก้อาการแต่ละแห่ง

4. ค่าใช้จ่ายในการนวดสลายพังผืดจะสูงกว่าการนวดทั่วไป

โดยปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการสลายพังผืดจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการนวดทั่วไป เนื่องจากผู้ที่จะทำการนวดแก้อาการได้นั้น ไม่ใช่แค่ใครก็ได้ที่นวดแผนไทยเป็น แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านการสลายพังผืดในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ มากกว่าหมอนวดแผนไทยอย่างมาก ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญในด้านนี้จริงๆ มีจำนวนค่อนข้างน้อย

ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการที่พบในปัจจุบันนั้น มีตั้งแต่ 500.- จนไปถึงหลักหมื่นบาท (xx,xxx) ต่อครั้ง ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูล และปัจจัยต่างๆ ของสถานที่นวดแก้อาการแต่ละแห่งว่าที่ใดมีความเชี่ยวชาญ สามารถรักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อผู้ป่วยมากที่สุด

กลับสู่สารบัญ

บทส่งท้าย

เมื่อมีอาการปวดเข่าด้านหน้า สิ่งที่ควรทำอย่างแรก คือพักการใช้งานเข่า เพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาเบื้องต้น หากอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรพิจารณาหาการรักษาทางเลือกอื่น ควรรีบรักษาให้หายตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะถ้าเพิ่งเริ่มมีอาการ จะรักษาหายง่าย แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี ปัญหาก็จะยิ่งลุกลามไปบริเวณข้างเคียง จนอาจส่งผลให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต กลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดเปลี่ยนหัวเข่าในอนาคต