ไมเกรน (Migraine) เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ที่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะเมื่อมีอาการปวดที่รุนแรงเกิดขึ้น ซึ่งในบทความนี้ เราจะมากล่าวถึงสาเหตุ และอาการของไมเกรน รวมถึงการรักษาต่างๆ เพื่อผู้อ่านที่กำลังประสบปัญหาไมเกรน จะสามารถนำความรู้นี้ไปดูแลตนเอง รวมถึงเพื่อหาแนวทางการรักษา ที่เหมาะสมกับตนเองได้
สาเหตุของการเกิดไมเกรน
ไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง ที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นมากกว่าคนปกติ ส่งผลให้การหลั่งสารสื่อประสาทในสมองไม่สมดุลกัน จึงทำให้หลอดเลือดสมองบีบหรือคลายตัวมากกว่าปกติ และเกิดเป็นอาการปวดศีรษะแบบเป็นจังหวะตุบๆ ขึ้น โดยต้นเหตุที่ทำให้ระบบประสาทไวผิดปกติต่อสิ่งกระตุ้นนั้น มักสัมพันธ์กับอาการเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณ คอ ท้ายทอย หรือบริเวณบ่า
กล่าวคือเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ท้ายทอย เกิดการหดเกร็ง จะเกิดปม Trigger point แทรกตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อดังกล่าว และส่งผลให้เลือดไม่สามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนขึ้นไปเลี้ยงศีรษะได้เต็มที่ ทำให้เส้นประสาทส่งสัญญาณได้ไม่สมบูรณ์ เกิดเป็นความผิดปกติในการไหลเวียนเลือดและการส่งสารสื่อประสาท และทำให้เกิดอาการปวด ตึงบริเวณ ขมับ หลังหู หน้าผาก กระบอกตา หัวคิ้ว ตามแนวของเส้นประสาทที่ทำงานไม่สมบูรณ์
อย่างไรก็ตามอาการไมเกรน นั้นเปรียบเสมือนความผิดปกติที่แฝงอยู่ ไม่ได้แสดงอาการตลอดเวลา แต่เมื่อมีปัจจัยต่างๆ มากระตุ้นเพียงเล็กน้อย อาการก็จะกำเริบขึ้นมา ซึ่งปัจจัยที่เป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดไมเกรนนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งผู้ป่วยอาจต้องหมั่นสังเกตุอาการของตนเอง ว่าปัจจัยใดที่กระตุ้นให้มีอาการ เพื่อหาทางหลีกเลี่ยง เราสามารถแบ่งปัจจัยที่กระตุ้นให้มีอาการไมเกรนหลักๆ ได้ดังนี้
1. ปัจจัยจากตนเอง
- อารมณ์ที่รุนแรง เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล อารมณ์แปรปรวน
- การนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือนอนไม่เป็นเวลา
- ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในผู้หญิง จะสัมพันธ์กับช่วงมีรอบเดือน
- การใช้สายตาที่ผิดสุขลักษณะบ่อยๆ
2. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม
- แสง เช่น แสงสว่างจ้า แสงสลัวๆ ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้สายตา
- เสียง เช่น เสียงดัง เสียงสูงแหลม
- กลิ่น เช่น กลิ่นฉุน กลิ่นที่ไม่ชอบ
- สภาพอากาศ เช่น อากาศที่ร้อนอบอ้าว หรือการอยู่ในห้องทึบที่ไม่มีอากาศถ่ายเท เป็นต้น
3. อาหารบางชนิด ได้แก่
- คาเฟอีน ในเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ ซึ่งอาจมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยอาการไมเกรนอาจเกิดขึ้น เมื่อร่างกายได้รับคาเฟอีนมากเกินไป หรือเมื่อร่างการต้องการเคเฟอีน
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นทำให้ร่างกายเกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ (dehydration) จึงสามารถส่งผลให้เกิดอาการไมเกรนได้
- ช็อกโกแลต เพราะในช็อกโกแลตมีส่วนผสมคาเฟอีนและสาร beta-phenylethylamine ซึ่งอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดไมเกรน
- ชีสต่างๆ เนื่องจากมีสารไทรามีน ที่เกิดจากการแตกตัวของโปรตีน สารไทรามีนนั้นเป็นสารที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน
- เนื้อสัตว์แปรรูป อย่าง เบคอน ไส้กรอก หรือเนื้อสัตว์รมควัน เนื่องจากมีสาร ไนเตรต ที่สามารถกระตุ้นทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ หรือปวดไมเกรน
- อาหารที่มีรสเค็มจัด เนื่องจากเมื่อมีเกลือ (Sodium) ปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น และสามารถส่งผลให้เกิดอาการปวดหัว หรือปวดไมเกรนได้
อาการไมเกรนมีลักษณะอย่างไร
อาการปวดไมเกรนนั้น อาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันดังต่อไปนี้
- ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดหน้าผาก ปวดหลังหู ปวดกระบอกตา หรือปวดหัวคิ้ว โดยมากมักจะมีอาการเพียงข้างเดียว ซึ่งอาจสลับข้างไปมาซ้าย-ขวา แต่กรณีที่มีอาการเรื้อรังมานานหรือรุนแรง ก็อาจปวดทั้งสองข้างพร้อมกันได้
- ลักษณะการปวดจะเป็นการปวดแบบตุ้บๆ (คล้ายเส้นเลือดเต้น) หรือปวดแบบตื้อๆ ตลอดเวลา
- ในเคสที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียน ร่วมด้วย
- ในบางเคสอาจมีอาการผิดปกติด้านการมองเห็นร่วมด้วย ได้แก่ ตาพร่า เห็นแสงจ้า เห็นภาพเบลอ เป็นต้น
- ระดับความรุนแรงของอาการปวดจะเริ่มได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย พอรำคาญ จนไปถึงระดับที่รุนแรงมาก ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ ในบางรายจำเป็นต้องหยุดกิจกรรมทั้งหมดและนอนพัก เพื่อให้อาการปวดลดลง
- อาการปวดไมเกรนสามารถกินระยะเวลาได้ตั้งแต่ 4 – 72 ชม
อาการปวดศีรษะที่ไม่ใช่อาการไมเกรน และควรรีบพบแพทย์หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น
- อาการปวดศีรษะที่มีอาการแขน-ขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ใบหน้าเบี้ยวร่วมด้วย ซึ่งอาจบ่งบอกถึงปัญหาที่มาจากสมองได้ เช่น โรคหลอดเลือดในสมองตีบ/แตก (Stroke) เป็นต้น
- อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง และเฉียบพลันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งอาจบ่งบอกถึงภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง
- อาการปวดศีรษะรุนแรง คอแข็ง มีไข้ หนาวสั่น อาจบ่งบอกถึงภาวะเยื้อหุ้มสมองอักเสบ
- อาการปวดศีรษะบ่อยและค่อยๆ รุนแรงมากขึ้น โดยอาจจะปวดมากขณะนอนหลับ จนทำให้ต้องตื่น หรือมีปัญหาด้านการสื่อสาร/การพูด/การเคลื่อนไหวร่วมด้วย ซึ่งอาจบ่งบอกถึงภาวะเนื้องอกในสมอง
อาการปวดศีรษะดังกล่าว ไม่ใช่สัญญาณของไมเกรน หากเริ่มมีอาการ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที
กลับสู่สารบัญการรักษาอาการไมเกรนในปัจจุบัน และปัญหาที่พบ
การรักษาอาการไมเกรนในปัจจุบัน มีดังต่อไปนี้
- การทานยา เป็นวิธีการรักษาไมเกรนที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นการระงับอาการปวดไมเกรนได้โดยตรง แต่การทานยานั้นจะต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์ โดยหลักการทำงานของยารักษาไมเกรนนั้น มีผลในการกระตุ้นการหลั่งของสารสื่อประสาทในสมองให้สมดุลกัน และช่วยให้หลอดเลือดสมองบีบ-คลายตัวปกติ เพื่อให้เลือดสามารถเลี้ยงสมองได้สะดวกดังเดิม ส่งผลให้อาการปวดศีรษะดีขึ้น
แต่วิธีการทานยานี้ จะไม่ได้เข้าไปแก้จากต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการไมเกรนอย่างแท้จริง เป็นเพียงการบรรเทาเมื่อเกิดอาการขึ้นมาเท่านั้น ทำให้ผู้ป่วยยังคงต้องพึ่งพายาอยู่เสมอเมื่ออาการปวดกำเริบ
- กายภาพบำบัด เป็นวิธีการรักษาไมเกรนด้วยการใช้เครื่องมือทางกายภาพ เช่น แผ่นประคบร้อน (Hot Pack) หรือ การรักษานวดด้วยคลื่นอัลตร้าซาวนด์ (Ultrasound therapy) เป็นต้น เพื่อช่วยลดความเกร็งตัวของกล้ามเนื้อต้นคอ บ่า ไหล่ ชั่วคราว และทำให้เลือดสามารถไหลเวียนขึ้นไปเลี้ยงศีรษะได้ดีขึ้น ส่งผลให้อาการปวดศีรษะลดลง
- การฝังเข็ม ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาไมเกรน โดยหลักการคือจะใช้เข็มฝังไปตามตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย เพื่อช่วยกระจายเลือดลมให้ไหลเวียนทั่วร่างกาย ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนลดลง
- การนวด หรือการกดจุดตามมัดกล้ามเนื้อของร่างกาย จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวชั่วคราว และกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ดังนั้นจึงทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนลดลงได้
จะเห็นได้ว่าหลักการรักษาไมเกรนที่มีในปัจจุบันนั้น จะเน้นไปที่ การกระตุ้นให้การไหลเวียนของเลือดลมดีขึ้น เนื่องจากอาการปวดศีรษะไมเกรนที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการไหลเวียนของเลือดลมที่ติดขัด ไม่สะดวก จึงทำให้สารอาหารและออกซิเจนที่ลำเลียงไปตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเซลล์ร่างกายลดน้อยลง
แต่เมื่อมาพิจารณาถึงสาเหตุของไมเกรนแล้วนั้น ต้นเหตุหลักจริงๆ ของการที่เลือดไหลเวียนไม่สะดวกนั้น เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย ต้นคอ และบ่า เกิดการเกร็งตัว และบีบรัดให้เลือดไปเลี้ยงศีรษะได้ไม่เต็มที่ ดังนั้น วิธีการรักษาข้างต้นจึงเป็นเพียงการรักษาที่ปลายเหตุ เนื่องจากการรักษาดังกล่าว ทำได้แค่เพียงการคลายกล้ามเนื้อแบบชั่วคราว ไม่ได้เน้นไปที่การกำจัดต้นเหตุของอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ (trigger point) ในบริเวณท้ายทอย ต้นคอ บ่า ให้ออกแบบถาวร
เมื่อไม่ได้กำจัด trigger point ออกไป อาการเกร็งกล้ามเนื้อก็จะยังมีอยู่ อาการไมเกรนจึงดีขึ้นได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น และสุดท้ายผู้ป่วยจะกลับมามีอาการซ้ำๆ อีกครั้ง ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งอาการจะรุนแรงขึ้นและจะรักษายากขึ้นกว่าเดิม กล่าวคืออาจจะต้องใช้ยาที่แรงขึ้น หรือ อาการอาจไม่ตอบสนองกับวิธีการรักษาเดิม เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณ ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า เกร็งตัวมากขึ้นเรื่อยๆ จนการรักษาดังกล่าว ไม่สามารถเยียวยาได้ และต้องพึ่งยาที่แรงขึ้นเรื่อยๆ ไปตลอด
กลับสู่สารบัญการรักษาไมเกรนที่มีประสิทธิภาพ ให้ผลถาวร โดยไม่ต้องกินยาไปตลอด
จากก่อนหน้านี้ที่ได้อธิบายไปแล้วว่า อาการไมเกรนนั้น เกิดจากก้อน trigger point ที่ทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณ ท้ายทอย ต้นคอ และบ่า จนทำให้เลือดไม่สามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณสมองและใบหน้าได้สะดวก ส่งผลให้เส้นประสาทบริเวณดังกล่าวส่งสัญญาณผิดปกติ จึงทำให้ระบบประสาทไวต่อสิ่งกระตุ้น และทำให้เกิดอาการไมเกรนขึ้นในที่สุด
ดังนั้นวิธีการรักษาที่ได้ผล ตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด จะต้องแก้จากต้นเหตุ นั่นก็คือ การสลายปม trigger point ออกให้หมด เพื่อทำให้กล้ามเนื้อไม่เกร็งตัว และทำให้เลือดสามารถไหวเวียนได้สะดวก และทำให้ให้เส้นประสาทกลับมาส่งสัญญานได้ปกติดังเดิม อาการไมเกรนก็จะหายไป และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีก เนื่องจาก กล้ามเนื้อบริเวฯท้ายทอย ต้นคอ และบ่า ไม่มีอาการเกร็งอีกต่อไป
การรักษาด้วยการสลายจุด trigger point ออก จึงเป็นการรักษาที่เน้นให้ผู้ป่วยหายขาดจากไมเกรนในระยะยาว และดีขึ้นอย่างยั่งยืนและถาวร ซึ่งจะให้ผลแตกต่างจากการรักษาทั่วๆ ไป เพราะไม่ใช่การรักษาที่เห็นผลแค่สั้นๆ และกลับมามีอาการซ้ำอีกในอนาคต
การรักษาด้วยการสลายจุด trigger point ที่พบในปัจจุบัน มักจะอยู่ในรูปแบบของการนวดแก้อาการ แต่จะแตกต่างกับการนวดแก้อาการทั่วๆ ไป ตรงที่การนวดแก้อาการประเภทนี้ จะเน้นสลายปมก้อน trigger point ที่แทรกอยู่ทั้งในกล้ามเนื้อออกเป็นหลัก ซึ่งก้อน trigger point นี้ เป็นต้นเหตุของอาการปวด ชาและ อาการผิดปกติของเส้นประสาทต่างๆ
การนวดแก้อาการสลาย trigger point เพื่อรักษาไมเกรนนั้น จะเน้นการรักษาในมัดกล้ามเนื้อบริเวณ ท้ายทอย ต้นคอ บ่า ฐานกระโหลกศรีษะ หลังหู หน้าผาก ขมับ กระบอกตา หัวคิ้ว และกราม ดังรูปด้านล่าง
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจรักษาอาการไมเกรนด้วยการนวดสลาย Trigger point
เพื่อประสิทธิภาพในการรักษาที่สูงที่สุด ผู้ป่วยไมเกรนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาด้วยวิธีนวดแก้อาการสลาย trigger point รวมถึงรับทราบข้อพึงระวังต่างๆ โดยผู้ป่วยสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่
กลับสู่สารบัญคำแนะนำส่งท้ายสำหรับผู้ที่กำลังมีอาการไมเกรน
สำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรน การดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะการสังเกตุปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้อาการไมเกรนกำเริบขึ้นมา ซึ่งในแต่ละบุคคลจะมีปัจจัยกระตุ้นที่ส่งผลให้เกิดไมเกรนแตกต่างกันไป ดังนั้นการหมั่นสังเกตุอาการตนเองอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นในอนาคต แต่ในกรณีที่มีอาการเกิดขึ้นแล้วนั้น สิ่งที่ควรทำเบื้องต้นคือ การนอนหลับพักผ่อน และพยายามอยู่ในที่เงียบ สงบ เย็น เพื่อให้อาการดีขึ้นโดยเร็วที่สุด
นอกจากการดูแลตนเองเบื้องต้นแล้ว การรักษาไมเกรนให้หายขาดในระยะยาวก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ป่วยควรให้ความสำคัญ เพราะยิ่งเริ่มต้นรักษาเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งรักษาได้ง่าย และได้ผลเร็วต่อตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้นจึงไม่ควรละเลย หรือปล่อยให้อาการไมเกรนกำเริบอยู่บ่อยๆ โดยมิได้รักษา เนื่องจากอาการสามารถทรุดหนักจนทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตได้ในอนาคต