คอตกหมอน แก้อย่างไร ให้หายขาด ไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ มาดูกัน

คอตกหมอน แก้ยังไง

ประวัติการเจ็บป่วย

คุณสมชาย มีอาชีพเป็นผู้รับผลิตเม็ดพลาสติก จึงมีการใช้ร่างกายค่อนข้างหนัก หนักโดยตลอด ทั้งยกของ แบกของ ขับรถส่งของนานๆ และยังมีการออกกำลังกายหนักๆ ได้แก่ การเล่นฟุตบอล วิ่ง และเวทเทรนนิ่ง ทำให้เกิดการบาดเจ็บกล้ามเนื้อ และมีอาการปวดตามร่างกายอยู่บ่อยๆ ซึ่งคุณสมชายได้ให้ความไว้วางใจ และมารักษาอาการกับทางชนัชพันต์คลินิกอยู่เป็นประจำ ซึ่งอาการที่คุณสมชายเคยเข้ารับการรักษาจากทางคลินิก และหายแล้วมีดังนี้

  • ไมเกรน ปวดศีรษะ ขมับ กระบอกตา ซึ่งเป็นเรื้อรังมานานกว่า 5 ปี
  • ปวดข้อศอก จากการยกของ
  • ปวดเข่า และข้อเท้าพลิก จากการเตะฟุตบอล
  • ปวดข้อมือ จากการวิดพื้น
  • ปวดหลัง เอว จากการก้มๆ เงยๆ เพื่อยกของ และขับรถเยอะ
  • ปวดคอ บ่า จากยกของพาดบ่า และจากการยกเวท

และในครั้งล่าสุดนี้คุณสมชายมารักษาอาการคอตกหมอน โดยทางคลินิกจะขอนำอาการนี้มาอธิบายให้ผู้อ่านได้ทราบถึงกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับอาการคอตกหมอน และวิธีการรักษาคอตกหมอนที่มีประสิทธิภาพ

คุณสมชายมีอาการคอตกหมอน ดังนี้

  • ปวดต้นคอ บ่า ข้างซ้าย
  • หันซ้ายไม่สุด ต้องหันไปทั้งตัว
  • เริ่มมีอาการหลังจากตื่นนอน และมีอาการมา 3 วันแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้นเลย

ผู้ป่วยได้เข้ามารักษาที่คลินิก มีอาการดีขึ้นทันทีตั้งแต่หลังนวด โดยจากในคลิปจะเห็นได้ว่า

  • ไม่มีอาการปวดต้นคอ บ่าข้างซ้ายแล้ว
  • หันซ้ายได้สุด
  • แต่หลังจากการนวดรักษา จะยังมีอาการระบมอยู่ (เจ็บผิวบริเวณที่มีการนวด) ซึ่งอาการระบมนั้นจะค่อยๆ หายไปเองภายใน 2-5 วัน

***ผลการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล***

อาการคอตกหมอน สามารถรักษาได้ด้วยการนวดแก้อาการ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นมาไม่นาน ค่อนข้างเห็นผลดีตั้งแต่หลังนวดครั้งแรก แต่หากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรังก็จะยิ่งรักษายากขึ้น และอาจจะกลายเป็นอาการอื่นที่รักษายากขึ้น เช่น กลายเป็นอาการปวดคอร้าวลงแขน แขนชา หรือกระดูกก้านคอเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นต้น

กลับสู่สารบัญ

ตำแหน่งกล้ามเนื้อที่พบปัญหาในอาการคอตกหมอน

คอตกหมอน เป็นอาการของกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ ที่เกิดการอักเสบขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งสาเหตุนั้นจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อเกร็งตัวอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะขณะนอนหลับ เพราะตอนนอนร่างกายจะไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว

ดังนั้น หากต้นคอไม่ได้อยู่ในท่าที่ถูกสุขลักษณะขณะนอนหลับ กล้ามเนื้อต้นคอจะเกิดอาการเกร็งค้างอยู่เป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบ เมื่อผู้ป่วยตื่นขึ้นมาจะรู้สึกปวดต้นคอ หัน เอียง คอไม่ได้ จึงเรียกอาการนี้ว่า คอตกหมอน สำหรับการรักษาอาการคอตกหมอนด้วยวิธีนวดแก้อาการของทางคลินิกนั้น จะโฟกัสการนวดไปที่กล้ามเนื้อต้นคอ บ่าที่เกิดอาการแข็ง เกร็งตัว ดังนี้

1. กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ เป็นกล้ามเนื้อชุดหลักที่เกิดการเกร็งตัว และอักเสบ และส่งผลให้กล้ามเนื้อคอแข็ง เคลื่อนไหวต้นคอไม่ได้ โดยชุดกล้ามเนื้อที่พบปัญหาบ่อยๆ ได้แก่

  • Scalene เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก 3 มัด ที่อยู่ภายในซอกคอ ทำหน้าที่ในการเอียงคอ และก้มศีรษะ ดังนั้นเมื่อกล้ามเนื้อ Scalene หดเกร็งตัวและอักเสบ จะส่งผลให้มีอาการเอียงคอไม่สุด ตึงคอขณะก้มศีรษะ
  • Sternocleidomastoid เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณลำคอ ทำหน้าที่ขณะหันศีรษะ ดังนั้น เมื่อกล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid หดเกร็ง และอักเสบ จะส่งผลให้หันศีรษะไม่สุด

2. กล้ามเนื้อบริเวณบ่า สะบัก ที่มีการเกร็งตัว และอักเสบร่วมด้วย เพราะเป็นกล้ามเนื้อบริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับต้นคอ และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกับต้นคอ จึงจำเป็นจะต้องนวดคลายกล้ามเนื้อบริเวณนี้เช่นกัน

  • Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอทอดยาวลงมาบ่า ทำหน้าที่ในการหมุนคอ ยกสะบัก ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวต้นคอ และปวดตึงรั้งลงบ่าร่วมด้วย
  • Supraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณบ่า จะทำให้มีการปวดเกร็งบริเวณบ่าร่วมด้วย
กลับสู่สารบัญ

ทำไมการนวดสลายพังผืด และ trigger point จึงสามารถรักษาอาการคอตกหมอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คอตกหมอน เป็นอาการกล้ามเนื้อคออักเสบเฉียบพลัน ทำให้ตื่นมาแล้วมีอาการปวดคอ หัน เอียงคอไม่ได้ ส่วนมากเกิดจากนอนในท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ บ่าเกร็งค้างจนเกิดการอักเสบ และปวดขึ้น นอกจากนี้ อาการคอตกหมอน ยังสามารถเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกสุขลักษณะอื่นๆ เช่น

  • การนอนหมอนสูงเกินไป
  • การนอนโดยใช้ศีรษะพาดกับขอบโซฟา
  • การก้ม-เงยคอมากเกินไปเป็นระยะเวลานาน เช่น การเงยคอดูทีวี การเงยคอสอยผลไม้ การก้มคอเล่นมือถือ เป็นต้น

โดยพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอเกิดการหดเกร็งตัว จนขมวดกลายเป็นก้อนปมอยู่ภายในมัดกล้ามเนื้อ หรือเรียกว่า trigger point แทรกอยู่บริเวณคอ บ่า เมื่อใช้มือคลำจะพบกล้ามเนื้อที่แข็งเป็นก้อนเหล่านี้ ซึ่ง trigger point นี้เองจะไปขัดขวางการไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เกิดของเสียคั่งค้างอยู่ภายในมัดกล้ามเนื้อ ส่งผลกล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกปวดไม่หาย

นอกจากนี้เมื่อเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ เกิดการอักเสบ ร่างกายจะสร้างพังผืดไปเกาะคลุมบริเวณที่อักเสบ ซึ่งพังผืดนี้อาจเข้าไปยึดเกาะภายในข้อต่อกระดูกต้นคอ หรือเกาะยึดตามใยมัดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่สามารถยืดหดตัวได้อย่างเต็มที่ หรือทำให้ข้อต่อเคลื่อนไหวติดขัด ดังนั้นผู้ป่วยจึงเกิดอาการหันหน้าไม่สุด เอียงไม่สุด หรือก้มเงยลำบาก เนื่องจากพังผืดไปยึดล็อค ส่งผลให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด

จะเห็นได้ว่าอาการคอตกหมอน มีสาเหตุหลักเกิดจาก trigger point ที่ทำให้เกิดอาการปวด และพังผืดที่ทำให้การเคลื่อนไหวของคอถูกจำกัด ส่งผลให้ผู้ป่วยเอียงศีรษะ หรือหันศีรษะได้ไม่สุด ดังนั้นการรักษาด้วยการนวดสลาย trigger point และพังผืดออก จึงเป็นการรักษาอาการคอตกหมอนได้อย่างตรงจุด เพราะช่วยกำจัดสาเหตุหลักของอาการที่แท้จริง จึงให้ผลการรักษาอย่างที่มีประสิทธิภาพ

โดยเมื่อ trigger point ถูกสลายออกแล้ว กล้ามเนื้อก็จะคลายตัวอย่างถาวร เลือดก็จะไหลกลับเข้าไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อได้ตามปกติ อาการปวดเกร็งต้นคอ และอาการอักเสบก็จะหายไป และเมื่อสลายพังผืดออกแล้ว กล้ามเนื้อก็จะกลับมายืดหดตัวได้เต็มที่ดังเดิม ข้อต่อก็เคลื่อนไหวได้ปกติ ผู้ป่วยก็จะกลับมาหันหน้า เอียงศีรษะ ก้มเงย ได้เป็นปกติ และจะไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต เพราะกล้ามเนื้อ และข้อต่อกลับมามีความยืดหยุ่น และแข็งแรงดังเดิม

กลับสู่สารบัญ

ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลาย trigger point และพังผืด

การนวดสลาย trigger point และพังผืด เป็นวิธีการนวดแก้อาการด้วยศาสตร์เฉพาะของทางคลินิก ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดไทยทั่วไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการรักษาของทางคลินิกจะเน้นกำจัดสาเหตุหลักของอาการคอตกหมอนอย่าถาวร

อย่างไรก็ตาม การรักษานี้ ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความเจ็บขณะนวด ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทนต่อความเจ็บได้ระดับหนึ่ง ซึ่งหากผู้ป่วยสามารถทนเจ็บได้มาก คุณหมอจะสามารถสลาย trigger point และพังผืดออกได้มาก ทำให้สามารถเห็นผการรักษาที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน ในระยะเวลาอันรวดเร็ว

นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่จะบอกได้ว่าผู้ป่วยจะหายเร็ว หรือช้านั้น คือระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการมา ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการแล้วรีบมารักษา การรักษาจะง่าย และเห็นผลค่อนข้างไว แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง หรือปล่อยให้มีอาการเป็นๆ หายๆ มาหลายครั้ง โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาก็จะยาก และกินเวลานานหลายครั้ง

สำหรับผู้ป่วยที่สนใจมารักษาสามารถอ่านข้อพึงระวังในการรักษาด้วยวิธีสลายพังผืด ได้ที่นี่ (สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีนวดแก้อาการสลายพังผืด)

กลับสู่สารบัญ

บทส่งท้าย

อาการคอตกหมอน เป็นอาการกล้ามเนื้ออักเสบที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ที่พบได้บ่อย ซึ่งโดยปกติอาการคอตกหมอนที่ไม่รุนแรงนั้นจะสามารถหายเองได้ แต่หากอาการไม่หายไปเองภายใน 72 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจจะต้องเริ่มทำการรักษาเพิ่มเติมเพื่อให้อาการหายเป็นปกติ

โดยหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ กล้ามเนื้อที่เกร็งตัวจะสามารถคลายออกได้อย่างถาวร ทำให้ไม่กลับมาเป็นอีกซ้ำๆ ในอนาคต และป้องกันไม่ให้อาการเรื้อรังจนกลายเป็น ออฟฟิศซินโดรม ปวดคอร้าวลงแขน แขนชา หรือกระดูกคอทับเส้นประสาทในอนาคต

ในเคสของคุณสมชายนี้ ได้รับการรักษาค่อนข้างเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยจะเข้ามารักษาทันที หากรู้ว่าตนเองมีอาการปวด ขัด ตึง ทำให้อาการที่มีไม่สะสม จึงรักษาได้ง่าย และมักจะเห็นผลดีขึ้นทันทีตั้งแต่หลังนวดในทุกๆ อาการ