ประวัติการเจ็บป่วย
คุณวรานิษฐ์ อายุ 37 ปี เป็นพนักงานออฟฟิศ ด้วยลักษณะงานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมตลอดทั้งวัน ทำให้มีอาการ
1. ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก เรื้อรังมานานกว่า 10 ปี ในลักษณะเป็นๆ หายๆ มาตลอด จนพักหลังมาอาการเริ่มปวดหนักมากยิ่งขึ้น
2. เริ่มมีอาการไมเกรนตามมา คือ ปวดขึ้นศีรษะ ขมับ หน้าผาก หัวคิ้ว กระบอกตา ตาพร่า จนอาการปวดรุนแรงขึ้นจนรบกวนชีวิตประจำวัน และปวดแทบทุกวันจนต้องหาวิธีรักษาโดยผู้ป่วยได้เคยรักษาด้วยการ
- ฝังเข็มตามศาสตร์แพทย์แผนจีน มากกว่า 10 ครั้ง
- ฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้าไป 2 ครั้ง
- นวดไทยอยู่เสมอ
แต่การรักษาดังกล่าวช่วยบรรเทาอาการได้เพียงเล็กน้อย โดยหลังจากฝังเข็มอาการก็ยังทรงๆ ส่วนการนวดไทยก็ทำให้อาการดีขึ้นได้เพียง 1-2 วัน และก็กลับมาปวดดังเดิม ผู้ป่วยได้ค้นหาการรักษาทางเลือกอื่นๆ จนมาเจอชนัชพันต์คลินิกเมื่ออ่านข้อมูลก็ตัดสินใจมารักษา โดยมีอาการเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
- หลังการรักษาครั้งที่ 1 วันที่ 12 เมษายน 2562 : อาการดีขึ้นตั้งแต่ครั้งแรก ปวดน้อยลง สามารถใช้ชีวิตได้ปกตินานกว่า 1 เดือน แล้วค่อยๆ เริ่มกลับมามีอาการปวด
- หลังจากนวดครั้งที่ 3 วันที่ 22 กันยายน 2562 : ไม่มีอาการตาพร่าแล้ว อาการปวดหัวไมเกรน และปวดคอ บ่า ดีขึ้น
- หลังจากนวดครั้งที่ 5 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 : อาการดีได้นาน 3 เดือน มีปวดอยู่บ้าง แต่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ทรมานเหมือนเดิม
- หลังจากนวดครั้งที่ 7 วันที่ 7 สิงหาคม 2563 : อาการดีขึ้นได้อย่างชัดเจน ไม่มีอาการปวดเลย อาจจะมีตึงคอ บ่าขึ้นมาเล็กน้อย พอยืดเหยียดกล้ามเนื้อก็จะดีขึ้นเอง ไม่ต้องนวดไทยบ่อยๆ เหมือนเดิม เพราะไม่นวดก็อยู่ได้โดยไม่มีอาการปวดรบกวนชีวิตประจำวัน อาการดีได้นานกว่า 1 ปี
- ปัจจุบันผู้ป่วยได้เข้ามารักษาครั้งที่ 8 วันที่ 12 มกราคม 2565 จากนั่งทำงานนาน ทำให้ปวดหลังล่าง (อาการใหม่ที่ยังไม่เคยรักษามาก่อน)
***ผลการรักษาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล***
ตำแหน่งกล้ามเนื้อที่พบปัญหา
ผู้ป่วยมีอาการออฟฟิศซินโดรมร่วมกับอาการไมเกรน ซึ่งจะพบปัญหาบริเวณหลังส่วนบนทั้งหมด ครอบคลุมทั้งบริเวณคอ บ่า สะบัก และขึ้นด้านบนศีรษะ โดยจุดที่มีปัญหาของผู้ป่วยในเคสนี้สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. กล้ามเนื้อบ่า สะบัก เมื่อมีการเกร็งตัวจนเกิดเป็นก้อน Trigger point และมีพังผืดไปยึดเกาะตามใยมัดกล้ามเนื้อ จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตามแนวใยมัดกล้ามเนื้อนั้นๆ โดยอาการออฟฟิศซินโดรม มักเจอปัญหาที่กล้ามเนื้อ บ่า สะบักดังนี้
- Trapezius เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ชั้นตื้นบริเวณต้นคอ บ่า สะบัก ครอบคลุมบริเวณหลังส่วนบน โดยผู้ที่เป็นออฟฟิศซินโดรมที่ไม่รุนแรง มักจะพบปัญหาทั้งการเกร็งตัว และพังผืดไปยึดเกาะบริเวณมัดกล้ามเนื้อ Trapezius นี้เป็นหลัก จึงส่งผลให้มีอาการปวดคอ บ่า สะบัก
- Supraspinatus เป็นมัดกล้ามเนื้อบริเวณบ่า เมื่อมีปัญหา จึงทำให้มีอาการปวดบ่า
- Infraspinatus เป็นมัดกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก เมื่อมีปัญหา จึงทำให้มีอาการปวดสะบัก
2. กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ ในผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม มักจะมีอาการปวดเมื่อยต้นคอ เพราะมี Trigger point และพังผืดเข้าไปยึดเกาะ โดยในผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม มักจะพบกล้ามเนื้อต้นคอที่มีปัญหาดังนี้
- Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอทอดยาวจนถึงบ่า ช่วยในการเอียงศีรษะ และช่วยยกบ่า สะบัก ทำให้มีอาการปวดต้นคอ บ่า ซึ่งเป็นอาการสำคัญของออฟฟิศซินโดรม
- Spenius capitis เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอทอดยาวจนถึงฐานกระโหลก ทำหน้าที่ขณะหมุนคอ เมื่อกล้ามเนื้อนี้มีปัญหา จึงทำให้มีอาการคอแข็ง ปวดตึงก้านคอ
3. กล้ามเนื้อบริเวณฐานกระโหลก สำหรับผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมเรื้อรังมานาน มักจะมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณฐานกระโหลก นี้เองเกิดการเกร็งตัวอักเสบ และมีพังผืดเข้าไปยึดเกาะ จนไปขัดขวางการไหลเวียนเลือด และการทำงานของเส้นประสาท ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และเส้นประสาททีไปเลี้ยงส่วน หน้าผาก ขมับ หัวคิ้ว กระบอกตา ทำงานผิดปกติ จึงเกิดเป็นอาการปวดท้ายทอย ปวดไมเกรน ปวดกระบอกตา ปวดขมับขึ้น ซึ่งชุดกล้ามเนื้อที่เป็นส่วนสำคัญของอาการไมเกรนมีดังนี้
- Semispinalis capitis เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอมัดลึก ทอดยาวตั้งแต่ช่วงต้นคอถึงฐานกระโหลก ทำให้มีอาการปวดท้ายทอย และปวดศีรษะได้
- Rectus capitis posterior major , Rectus capitis posterior minor เป็นกล้ามเนื้อบริเวณฐานกระโหลก โดยจะมีเส้นประสาท Subocipital nerve ที่เลี้ยงศีรษะ ซึ่งหากเส้นประสาทชุดนี้ถูกรบกวน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ขมับ กระบอกตา หรืออาการไมเกรนขึ้นได้
4. กล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน เป็นอีกชุดกล้ามเนื้อที่พบร่วมด้วยในผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมลุกลาม โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณหลังส่วนบนชิดแนวกระดูกสันหลัง ซึ่งในผู้ป่วยท่านนี้พบปัญหาบริเวณ
- Serratus posterior superior เป็นกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบน เมื่อเกิดการอักเสบจะทำให้มีอาการปวดตามจุดของใยมัดกล้ามเนื้อ รวมถึงยังเป็นชุดกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น จะทำให้มีอาการปวดหลัง หายใจไม่สุด หายใจไม่อิ่มได้ด้วย
- Rhomboid major และ Rhomboid minor ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวสะบัก ส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปวดสะบัก ในอิริยาบถต่างๆ
ระดับความรุนแรงของอาการออฟฟิศซินโดรม
อาการออฟฟิศซินโดรม หรืออาการปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก สามารถพบได้บ่อยในผู้ที่ต้องอยู่ในท่าเดิม หรืออิริยาบถเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน และพบมากในพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมทั้งวัน ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ต้องเกร็งตัวอยู่ในท่าเดิมตลอด
แต่เนื่องจากอาการออฟฟิศซินโดรมขั้นเริ่มต้นนั้น จะเป็นเพียงการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอบ่า เป็นๆ หายๆ ไม่รุนแรง ทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าอาการออฟฟิศซินโดรมเป็นแค่อาการปวดเมื่อยธรรมดา เดี๋ยวก็หาย จึงปล่อยปละละเลยต่ออาการที่เป็นอยู่ และไม่รีบรับการรักษาที่ดีพอ จนท้ายที่สุดอาการกลับรุนแรงขึ้น และรักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย ซึ่งอาการออฟฟิศซินโดรมมีความรุนแรงหลายระดับ เริ่มตั้งแต่
1. อาการปวดเมื่อยเล็กน้อย พอยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือออกกำลังกายอาการปวดก็หายไปได้เอง
2. อาการปวดที่รุนแรงขึ้น บ่าเริ่มแข็งเป็นก้อน ต้องคอยบีบนวดอยู่เสมอๆ หรือต้องคอยทำกายภาพ ถึงจะรู้สึกดีขึ้น แต่ก็ดีขึ้นได้เพียงชั่วคราวแล้วก็กลับมาปวดอีกดังเดิม จนเสมือนเป็นโรคประจำตัวอย่างหนึ่ง
3. อาการปวดเรื้อรังจนกลายเป็นปัญหาลุกลามไปบริเวณข้างเคียง และเกิดโรค หรืออาการที่รุนแรงขึ้นตามมา ได้แก่
- อาการปวดไมเกรน ปวดขมับ กระบอกตา ถ้าอาการรุนแรงอาจมีอาการตาพร่า ปวดกราม หูอื้อ เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
- อาการหายใจไม่สุด หายใจไม่อิ่ม เพราะกล้ามเนื้อสะบักเกร็งตัวไปรบกวนเส้นประสาทที่ควบคุมการหายใจ
- อาการปวดลงแขน แขนล้า หรือหากอาการรุนแรงขึ้นจนมีการรบกวนเส้นประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการแขนชา มือชา แขนอ่อนแรง นิ้วชา มือชา ร่วมด้วย เราจะเรียกภาวะนี้ว่าเป็นโรคกระดูกคอทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรง และรักษาได้ยากกว่าอาการออฟฟิศซินโดรมค่อนข้างมาก
- อาการอัมพาตใบหน้า ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หรือ Bell’s palsy เนื่องจากกล้ามเนื้อต้นคอเกิดการเกร็งตัวจนไปรบกวนเส้นประสาทคู่ที่ 7 ที่ควบคุมการขยับของใบหน้าจนเส้นประสาทเกิดการอักเสบ ส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าด้านนั้นๆ ไม่สามารถขยับได้ตามปกติ
จะเห็นได้ว่าลักษณะอาการที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นผลจากการลุกลามของอาการออฟฟิศซินโดรม ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจไม่ได้มีเพียงอาการใดอาการหนึ่งเท่านั้น แต่อาจเป็นหลายอาการร่วมกันได้ เช่น ผู้ป่วยบางท่านมีอาการออฟฟิศซินโดรมร่วมกับไมเกรน หรือผู้ป่วยที่อาการรุนแรงขึ้น จะมีภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท กระดูกเสื่อม กระดูกคอทรุด ทำให้มีอาการปวดร้าวลงแขน ชาลงแขน ชามือ ชานิ้ว ร่วมด้วย หรือบางท่านอาจมีทุกอาการที่ได้กล่าวไปข้างต้น
กลับสู่สารบัญต้นเหตุที่แท้จริงของอาการออฟฟิศซินโดรม และไมเกรน
จากข้างต้นที่ได้กล่าวไปแล้วว่า อาการออฟฟิศซินโดรมนั้นเกิดจากการอยู่ในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานาน เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมทั้งวันของพนักงานออฟฟิศ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ ที่มีการใช้มือ และแขนในท่าเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่อง เช่น การเงยคอทาสีเพดานทั้งวันของช่างทาสี การไดร์ผมลูกค้าหลายๆ คนของช่างเสริมสวย การซ่อมหลอดไฟเพดานนานๆ ในช่างไฟ การตำส้มตำนานๆ หนักๆ ในแม่ค้าขายส้มตำ การเกร็งแขนก้มหน้าสักในช่างสักลาย เป็นต้น
การอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เกิดการเกร็งตัวขึ้น เพราะโดยปกติเมื่อมีการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ จะมีการหด-คลายตัวตามการเคลื่อนไหวสลับกันไป แต่เมื่อมีการค้างอยู่ในท่าเดิมนานๆ กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานจะเกร็งตัวอย่างต่อเนื่อง จนมัดกล้ามเนื้อขมวดกันกลายเป็นก้อนปม ที่เราเรียกว่า trigger point
โดยตัวก้อน trigger point นี้จะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้สารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ได้ไม่เต็มที่ ของเสียจึงคั่งค้างอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดอาการปวด และอักเสบขึ้น
ดังนั้นการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน หรือการใช้กล้ามเนื้อ คอ บ่า แขนในท่าเดิมๆ ซ้ำๆ จึงทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ สะบักเกร็งตัว และเกิดก้อน trigger point ขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สะบักนั่นเอง นอกจากนี้เมื่อกล้ามเนื้อเกร็งตัวจนเกิด trigger point กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ จะแข็งตัว และขาดความยืดหยุ่น
ทำให้เกิดการฉีกขาดได้ง่าย ถึงแม้ว่าจะเคลื่อนไหวในแบบเดิมๆ ก็ตาม และเมื่อเกิดการฉีกขาด ร่างกายจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า “พังผืด” มายึดเกาะตามจุดที่บาดเจ็บ ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น ยิ่งแข็งมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการติดขัด ยึดล็อก ผู้ป่วยจะเริ่มขยับกล้ามเนื้อได้น้อยลง เช่น เอียงคอ/หันคอได้ไม่เท่าเดิม ยกแขน/หมุนไหล่ได้น้อยลง
ตัวพังผืดนี้จะลุกลามไปเกาะบริเวณข้างเคียงมากขึ้นเรื่อยๆ โดย หากพังผืดไปเกาะโดนเส้นประสาทชุดใดชุดหนึ่ง พังผืดจะไปขวางกั้นการส่งสัญญาณของเส้นประสาท เส้นประสาทจะไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ อวัยวะ หรือกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทชุดนั้นๆ ควบคุมอยู่จะเกิดอาการผิดปกติไป เช่น อาการตาพร่า ปวดกระบอกตา ปวดขมับ หูอื้อ อัมพาตใบหน้า ปวดกราม อาการไฟช๊อตลงแขน ไฟช๊อตลงสะบัก เป็นต้น
หากพังผืดไปเกาะตามข้อกระดูกสันหลังบริเวณคอ ก็จะทำให้เกิดภาวะกระดูกคอเสื่อม หรือถ้าพังผืดไปเกาะ และดึงรั้งข้อกระดูกคอให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิม จะเกิดเป็นภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท หรืออาจเกิดภาวะกระดูกคอทรุด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดคอร้าวลงแขน ชาแขน แขนอ่อนแรง มือชา และแขนลีบในที่สุด
กลับสู่สารบัญทำไมการนวดสลายพังผืด และ trigger point จึงสามารถรักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า trigger point และพังผืดที่ยึดเกาะตามมัดกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก นั้นคือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม แต่เนื่องด้วยการรักษาทั่วๆ ไปที่พบในปัจจุบัน อาจไม่สามารถแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากพอ การรักษาดังกล่าวจึงช่วยเพียงบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ชั่วคราว ไม่สามารถกำจัดสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม และไมเกรนได้ ซึ่งสุดท้ายแล้วอาการจะทรุดหนักลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นปัญหากระดูกคอเสื่อม หรือกระดูกคอทรุด หรือกระดูกคอทับเส้นประสาท และมักจะจบลงด้วยการผ่าตัดกระดูกต้นคอ
ดังนั้นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่มีประสิทธิภาพ และตรงจุด จะต้องเป็นการรักษาที่สามารถกำจัดสาเหตุหลักของโรคออก ซึ่งก็คือ trigger point และพังผืดนั่นเอง ดังนั้นการรักษาด้วยการนวดสลาย trigger point และพังผืด จึงเป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ที่ทำให้อาการดีขึ้นได้อย่างถาวร เพราะเมื่อก้อน trigger point และพังผืดถูกสลายออก กล้ามเนื้อที่เกร็งเป็นก้อนก็จะคลายตัวกลับมาอยู่ในสภาพปกติ
และเมื่อพังผืดถูกสลายออก กล้ามเนื้อก็จะกลับมามีความยืดหยุ่นดังเดิม อาการตึงรั้งก็จะหายไป รวมถึงเลือดก็จะไหลเวียนได้ตามปกติ เส้นประสาทก็สามารถกลับมาส่งสัญญาณได้ดีดังเดิม อาการปวดคอบ่าไหล่ อาการบ่าแข็งเป็นก้อน อาการไมเกรน ปวดกระบอกตา รวมถึงอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อาการหายใจไม่อิ่ม ตาพร่า แขนชา แขนอ่อนแรง นิ้วชา ก็จะหายไปอย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต
ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด และ trigger point
ถึงแม้ว่าการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม และไมเกรนด้วยการนวดสลายจุด trigger point และพังผืด จะเป็นการรักษาที่ตรงจุด และมีประสิทธิภาพมาก แต่การรักษาด้วยวิธีนี้ก็มีข้อพึงระวังที่ควรนำมาพิจารณาว่าเหมาะสมกับตัวผู้ป่วย หรือไม่ ซึ่งได้แก่
- ความเจ็บที่เกิดขึ้นขณะรักษา การรักษาด้วยการนวดสลาย trigger point และพังผืดนั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่ทนความเจ็บได้ดีระดับหนึ่ง ผู้ที่ทนเจ็บไม่ได้ ทางจะคลินิกไม่แนะนำให้เข้ารับการรักษา
- ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการรักษา เพราะอาการจะหายเร็ว หรือช้า จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยต้องเข้าใจโรคที่ตนเองนั้นเป็นอยู่ก่อน รวมถึงเข้าใจในกระบวนการรักษาด้วยการนวดสลาย trigger point และพังผืด ว่าการรักษานี้จะรักษาอาการของเราให้หายได้อย่างไร เพราะเมื่อผู้ป่วยเข้าใจหลักการรักษาแล้ว โดยส่วนมากผู้ป่วยจะอดทนมารักษาจนหายดีในที่สุด กลับกันหากไม่ได้เข้าใจหลักการรักษาเลย ผู้ป่วยก็จะมองแค่เพียงว่ากี่ครั้งถึงจะหาย เมื่อไม่เป็นไปดั่งที่คาดไว้ก็จะหยุดรักษาไปก่อนที่จะเห็นผล
ดังนั้น ผู้ป่วยควรศึกษารายละเอียด ก่อนตัดสินใจรักษา เพื่อผลประโยชน์สูงสุดแก่ตนเอง โดยสามารถอ่านรายละเอียดการรักษาเบื้องต้นได้ที่ ข้อควรรู้ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืด และ trigger point
บทส่งท้าย
อาการออฟฟิศซินโดรม และไมเกรน เป็นอาการที่สามารถรักษาให้หายได้ หากได้รับการรักษาอย่างตรงจุด แต่การรักษาในปัจจุบันส่วนมากเป็นเพียงการบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ชั่วคราว ทำให้อาการเป็นๆ หายๆ เรื้อรังเรื่อยๆ จนกระทั่งอาการทรุดหนัก และลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ ผู้ป่วยบางรายปวดรุนแรงจนถึงขั้นที่ไม่สามารถทำอะไรได้เลย ต้องหยุดทำงาน หรือหยุดทำกิจวัตรประจำวันไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือบางท่านต้องทานยารักษาไมเกรนที่แรงขึ้นไปเรื่อยๆ บางท่านอาการรุนแรงจนกลายเป็นภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท และต้องรักษาด้วยการผ่าตัดกระดูกคอ
จะเห็นได้ว่าอาการออฟฟิศซินโดรม และไมเกรนนี้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตมากขึ้นในอนาคต กลายเป็นโรคที่รุนแรง และรักษาได้ยากขึ้น เพราะฉะนั้นหากผู้อ่านมีอาการปวดคอบ่าไหล่ ออฟฟิศซินโดรม ไมเกรนอยู่ขณะนี้ อย่าละเลยกับอาการที่ตนเองเป็นอยู่ ควรรีบรักษาให้ถูกวิธี เพราะหากเพิ่งเริ่มเป็น จะรักษาหายขาดได้ง่าย เห็นผลเร็ว เป็นการปิดประตูไม่ให้อาการปวดกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงในอนาคต