อยากรักษาให้อาการปวดสะโพกร้าวลงขาดีขึ้นอย่างถาวร ต้องทำอย่างไร มาดูกัน

ปวดสะโพกร้าวลงขา

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นอาการที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการปวดสะโพกร้าวลงขานี้ มักเป็นอาการที่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงสร้างความกังวลใจให้กับผู้ป่วยค่อนข้างมาก เพราะถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีการรักษาที่ค่อนข้างหลากหลายก็ตาม แต่ผลการรักษาโดยวิธีต่างๆ เหล่านั้น มักเป็นเพียงการประคองอาการให้ดีขึ้นเพียงชั่วคราว หรือเพียงระยะเวลาสั้นๆ ไม่สามารถแก้ไขให้อาการปวดหายไปได้อย่างถาวร ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีอาการปวดซ้ำๆ และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ในบทความนี้เราจะกล่าวถึงการรักษาแพทย์ทางเลือกอีกวิธีหนึ่ง ที่แตกต่างจากการรักษาที่มีในปัจจุบัน และเป็นวิธีการรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือการนวดสลายพังผืด และจุด trigger point โดยในบทความนี้ จะเจาะลึกถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา รวมถึงเหตุผลสำคัญที่ทำให้การนวดสลายพังผืดและจุด trigger point ให้ผลการรักษาที่ดีขึ้นทั้งในระยะสั้น และระยะยาว

ปวดสะโพกร้าวลงขา เกิดจากอะไร

เราสามารถแบ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา หรือชาลงขาได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ ดังนี้

1. เกิดจากอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง สลักเพชร กระเบนเหน็บ ก้น หรือสะโพก จนเกิดการเกร็งตัวขมวดเป็นก้อนปม หรือที่เรียกว่า trigger point ซึ่งก้อน trigger point นี้จะเข้าไปขัดขวางการไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้สารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อไม่เพียงพอ จนเซลล์กล้ามเนื้ออ่อนแอลง และเกิดมีของเสียคั่งค้างอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อ

จึงทำให้มีอาการปวดตามแนวมัดกล้ามเนื้อที่มีปัญหา หรือถ้าก้อน trigger point นี้ ใหญ่จนไปรบกวนการทำงานของเส้นประสาท ที่ควบคุมการทำงานบริเวณ ก้น สะโพก และขา ก็จะทำให้เกิดอาการปวด หรือชา ร้าวไปตามแนวของเส้นประสาทนั้นๆ ซึ่งจะเรียกอาการนี้ว่า กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือ Piriformis

2. เกิดจากอาการบาดเจ็บของข้อต่อกระดูกบริเวณส่วนหลัง หรือสะโพก ส่งผลให้เกิดพังผืดเข้าไปยึดเกาะตามข้อต่อต่างๆ ได้แก่ บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง รวมถึงข้อต่อบริเวณสะโพก โดยพังผืดที่ยึดเกาะจะส่งผลทำให้ข้อต่อเกิดการติดขัด ยึดล็อค เคลื่อนที่ผิดจากตำแหน่งเดิม และไปรบกวนการทำงานของเส้นประสาท ที่ควบคุมการทำงานตั้งแต่ หลัง สะโพก ขา ลงไปถึงบริเวณเท้า จึงทำให้เกิดอาการปวด ชา ร้าวลงขา หรืออาการผิดปกติต่างๆ เช่น ไฟช็อต แสบร้อน อ่อนแรง เป็นต้น หรือในบางรายที่มีพังผืดสะสมบริเวณข้อสะโพก เป็นระยะเวลานานๆ อาจเกิดเป็นภาวะข้อสะโพกเสื่อมได้อีกด้วย

โดยสรุปคือ อาการปวดสะโพกร้าวลงขา สามารถเกิดจากกล้ามเนื้อหรือข้อต่อบริเวณ หลัง หรือสะโพกมีปัญหา โดยมักจะมีก้อน trigger point หรือพังผืดเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ ซึ่งทั้งก้อน trigger point และพังผืดที่เกิดขึ้นนั้น อาจไปรบกวนการทำงานเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาททำงานผิดปกติ และทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาท

โดยอาการปวดร้าวลงขานั้น มักสัมพันธ์กับชุดเส้นประสาท Sciatic ซึ่งเป็นเส้นประสาทหลักที่มีจุดเริ่มต้นจากข้อกระดูก L4-L5 และทอดผ่านลงสะโพก ก้น และลงขาจนถึงปลายเท้า ดังนั้นเมื่อเส้นประสาท Sciatic ถูกรบกวน อาการปวด หรือชาร้าวลงขาจะเกิดขึ้นตามมา โดยผู้ป่วยอาจมีอาการปวดตั้งแต่ก้น ต้นขา จนถึงปลายเท้า หรืออาจมีอาการชา แสบร้อน แปล๊บๆ คล้ายไฟช็อต และหากเส้นประสาทถูกกดทับเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยอาจมีอากาขารอ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อลีบร่วมด้วย

กลับสู่สารบัญ

พฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา โดยมากแล้ว มักไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้นฉับพลันข้ามคืน แต่มักจะเป็นอาการที่สะสมเรื้อรังมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จนร่างกายไม่สามารถทานไหว จึงเริ่มแสดงอาการออกมา โดยสาเหตุหลักๆ ของอาการปวดสะโพกร้าวลงขานั้น มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเราสามารถแบ่งพฤติกรรมเสี่ยง ที่ก่อให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้ดังนี้

  • การยกของหนัก หรือยกของผิดจังหวะ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณหลังล่าง และเริ่มมีพังผืดเข้าไปยึดเกาะบริเวณที่บาดเจ็บนี้ จนไปรบกวนหมอนรองกระดูกสันหลัง รวมถึงเส้นประสาท ส่งผลให้มีอาการปวดหลังร้าวลงขา ปวดสะโพกร้าวลงขา รวามถึงอาจมีอาการขาชา ขาอ่อนแรงร่วมด้วย
  • การนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน เช่น นั่งประชุม นั่งทำงาน หรือนั่งในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น นั่งไขว่ห้าง นั่งเอนตัว เป็นต้น การนั่งในท่าเดิมนานๆ หรือการนั่งผิดท่า จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังล่าง และบริเวณก้น ถูกแรงกดทับอย่างต่อเนื่อง จนทำให้กล้ามเกิดการเกร็งตัวและเกิดปม trigger point ขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดในบริเวณหลัง หรือก้นตามมา ซึ่งหาก ก้อน trigger point นี้ ไปหนีบหรือไปรบกวนเส้นประสาท Sciatic ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดก้นร้าวลงต้นขาด้านหลัง หรือที่เรียกว่าอาการกล้ามเนื้อก้นหนีบเส้นประสาท หรือ Piriformis
  • การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย เช่น การสคอวช การยกเวท หรือการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อก้น สะโพก รวมถึงหลังล่างเป็นหลัก จะส่งผลให้เกิด trigger point ในบริเวณกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น ที่เกิดการบาดเจ็บ และเกิดอาการปวดหลัง หรือสะโพกขึ้น ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาให้หาย ร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดขึ้นมายึดเกาะ บริเวณที่บาดเจ็บ และอาจลุกลามเข้าไปบริเวณข้อต่อ ทำให้ข้อต่อเกิดการยึดล็อก ผิดรูป และอาจทำให้กลายเป็นหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือ กระดูกทรุด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้
  • อุบัติเหตุต่างๆ เช่น การหกล้มก้นกระแทก หรือการได้รับแรงกระแทกบริเวณสะโพกโดยตรง ซึ่งอาจจะส่งผลให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เกิดการบาดเจ็บ หรือส่งผลให้ข้อต่อกระดูกหริเวณหลัง หรือสะโพกขยับเคลื่อนที่ ออกไปรบกวนเส้นประสาทบริเวณข้างเคียง จึงทำให้มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาเกิดขึ้น
กลับสู่สารบัญ

โรคที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขานั้น อาจมีอาการแตกต่างกันไปตามสาเหตุที่เป็น ดังนี้

  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Herniated disc) เกิดจากหมอนรองกระดูกที่กั้นอยู่ ระหว่างข้อกระดูกเคลื่อนที่ หรือปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท และหากเกิดการกดทับที่ข้อกระดูกบริเวณหลังส่วนล่าง (ตั้งแต่ข้อ L4 เป็นต้นไป) ก็มักจะมีการกดทับเส้นประสาท Sciatic ที่ทอดผ่านบริเวณนี้เช่นกัน โดยเส้นประสาท Sciatic จะทำงานส่งสัญญาณตั้งแต่บริเวณหลังล่าง สะโพก ก้น ขาจนถึงปลายเท้า เมื่อเส้นประสาท Sciatic ถูกกดทับ ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดหลังล่าง ปวดสะโพก ปวดร้าวลงขา หรือมีอาการชาขา ชาปลายเท้าร่วมด้วย
  • กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis) เกิดจากกล้ามเนื้อที่ชื่อว่า Piriformis ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อบริเวณก้นชั้นลึก เกิดการเกร็งตัวจนไปบีบรัดทางเดินของเส้นประสาท Sciatic เนื่องจากบริเวณมัดกล้ามเนื้อ Piriformis นี้ จะมีเส้นประสาท Sciatic ลอดผ่านใต้มัดกล้ามเนื้อ ดังนั้นเมื่อกล้ามเนื้อเกร็งตัวมาก จึงไปกดเบียดทางเดินของเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาททำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้มีอาการปวดสะโพก ปวดสลักเพชร หรือ ปวดก้น ปวดร้าวลงขา หรืออาจมีอาการชาขาร่วมด้วยได้เช่นเดียวกัน
  • Sacroiliac Joint Dysfunction หรือ SI Joint Pain เกิดจากข้อต่อ Sacroiliac Joint ซึ่งเป็นข้อต่ออุ้งเชิงกราน ที่อยู่บริเวณก้นกบกับสะโพก เกิดการอักเสบ ส่งผลให้เกิดพังผืดยึดเกาะบริเวณข้อต่อนี้ ทำให้ข้อยึดล็อค และเกิดอาการปวดขึ้น โดยจะปวดตามแนวรอยข้อต่อ บริเวณสะโพกและก้นกบ และเมื่อพังผืดมีจำนวนมากขึ้น จะเริ่มไปรบกวนการทำงานของเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียง เช่น เส้นประสาท Sciatic ส่งผลให้มีอาการปวดสะโพก ปวดก้นกบ ปวดร้าวลงขา รวมถึงอาจไปรบกวนเส้นประสาทหางม้า (Cauda Equina) ซึ่งอยู่บริเวณก้นกบ ทำให้การขับถ่ายผิดปกติได้
  • สะโพกเสื่อม เกิดจากการบาดเจ็บบริเวณสะโพกจากอุบัติเหตุต่างๆ หรือ อาจมาจากการบาดเจ็บเรื้อรังของกล้ามเนื้อ หรือหมอนรองกระดูกสันหลัง และไม่ได้รับการรักษา ส่งผลให้การอักเสบลุกลามไปสู่บริเวณสะโพก โดยจะมีพังผืดเข้าไปยึดเกาะบริเวณข้อสะโพก ทำให้ข้อสะโพกฝืด ติดขัด เกิดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว จึงทำให้เกิดการอักเสบอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดสะโพก สะโพกขัด รู้สึกขา 2 ข้างสั้น-ยาวไม่เท่ากัน เดินโยก เดินลำบาก ขึ้นลงบันไดไม่ได้ กางหรือหุบขาไม่ได้ และอาจมีอาการปวดร้าวลงขา ชาลงขา หรือขาอ่อนแรง ขาลีบ ร่วมด้วย
กลับสู่สารบัญ

ทำไมการนวดสลายพังผืด และจุด trigger point ถึงรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้แล้ว ว่าสาเหตุหลักของอาการปวดสะโพกร้าวลงขานั้น เกิดจากปม trigger point ที่แทรกอยู่ตามมัดกล้ามเนื้อที่ผิดปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เลือดไม่สามารถไหลเวียนนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ไม่สะดวก เกิดของเสียที่คั่งค้างอยู่ตามมัดกล้ามเนื้อ จึงเกิดอาการปวดตึงขึ้น หากปม trigger point นั้น ไปบีบหรือรบกวนเส้นประสาท Sciatic ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวดร้าว หรืออาการชา ไปตามแนวของเส้นประสาท ตั้งแต่ก้น สะโพก ต้นขา ลงไปถึงปลายเท้า นั่นเอง

นอกจากนี้อาการปวดสะโพกร้าวลงขา ยังสามารถเกิดได้จากการที่มีพังผืดไปยึดเกาะ บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือข้อต่อสะโพก ทำให้ข้อต่อเกิดการติดขัด ยึดล็อก ไม่ยืดหยุ่น เกิดอาการปวด ขัด เมื่อมีการขยับ และเมื่อพังผืดมีจำนวนมากขึ้น จะเริ่มไปรบกวนทางเดินของเส้นประสาท ส่งผลให้เส้นประสาททำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดอาการปวดร้าวลงก้น ปวดร้าวลงขาจนถึงปลายเท้า รวมถึงอาการผิดปกติอื่นๆ ได้แก่ อาการชา ปวดแปล๊บๆ คล้ายไฟช็อต หรือเข็มแทง แสบร้อน เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าสาเหตุของอาการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นอาการปวด ตึง ขัด ชา นั้นล้วนเกิดจาก trigger point และพังผืดทั้งสิ้น ดังนั้นหลักการรักษาที่จะช่วยให้อาการปวดสะโพกร้าวลงขาหายได้อย่างถาวร นั้นคือการกำจัด trigger point และพังผืดนี้ออกไป กล่าวคือเมื่อปม trigger point ถูกสลายออก กล้ามเนื้อก็จะคลายตัว ทำให้เลือดสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้ดีดังเดิม เส้นประสาทที่เคยถูกหนีบรัด ก็คลายตัวออก อาการปวด ตึง ร้าวลงขาก็จะหายไป และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีก เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาที่ถูกกำจัดไปแล้ว

และเมื่อพังผืดที่เกาะรัดอยู่บริเวณหมอนรองกระดูก ข้อต่อ และเส้นประสาท ถูกสลายออกไป หมอนรองกระดูก และข้อต่อบริเวณหลัง และสะโพกก็จะกลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม และสามารถเคลื่อนไหวได้ปกติ กลับมามีความยืดหยุ่น ไม่ยึดล็อค ไม่ติดขัด ขณะเคลื่อนไหว เส้นประสาทก็จะคลายตัวจากการถูกกดทับ และกลับมาส่งสัญญาณได้ปกติเช่นเดิม อาการปวดร้าวลงขา ชาขา ขาอ่อนแรง แสบร้อน ไฟช็อต รวมถึงอาการผิดปกติอื่นๆ ก็จะหายไป และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีก

การรักษาด้วยวิธีการนวดสลายปม trigger point และ พังผืดนี้ จึงถือว่าเป็นการรักษาจากต้นเหตุอย่างแท้จริง ผู้ป่วยจึงมีอาการดีขึ้นอย่างถาวร และไม่กลับมามีอาการซ้ำๆ อีกในอนาคต

ซึ่งบริเวณที่ต้องทำการนวดสลาย trigger point และพังผืดในผู้ที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา สามารถแบ่งตามตำแหน่งสาเหตุของโรคได้ดังนี้

1. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท จะใช้วิธีการนวดไปตามจุดที่มีปัญหา ซึ่งจุดที่พบปัญหาได้บ่อยมีดังนี้

  • กล้ามเนื้อบริเวณข้อกระดูกสันหลัง ช่วงข้อ L4-L5-S1 ในบริเวณหลังส่วนล่าง
  • กล้ามเนื้อ Gluteus medius เป็นกล้ามเนื้อบริเวณก้นชั้นกลาง
  • กล้ามเนื้อ Piriformis เป็นกล้ามเนื้อก้น สะโพก ชั้นลึก หรือมักเรียกว่า จุดสลักเพชร
  • กล้ามเนื้อ Hamstring เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง ที่ประกอบด้วยมัดกล้ามเนื้อ 3 มัดรวมกัน
  • กล้ามเนื้อ Vastus lateralis เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านนอก
  • กล้ามเนื้อ Extensor digitorum longus of foot เป็นกล้ามเนื้อบริเวณหน้าแข้งด้านนอก
  • กล้ามเนื้อ Gastrocnemius หรือกล้ามเนื้อน่อง

2. Piriformis หรือ กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท จะใช้วิธีการนวดไปตามจุดที่มีปัญหา ซึ่งจุดที่พบปัญหาได้บ่อยมีดังนี้

  • กล้ามเนื้อบริเวณข้อกระดูกสันหลัง ช่วงข้อ L5-S1 ในบริเวณหลังส่วนล่างต่อกับก้นกบ
  • กล้ามเนื้อ Gluteus maximus เป็นกล้ามเนื้อก้นชั้นบนสุด
  • กล้ามเนื้อ Gluteus medius เป็นกล้ามเนื้อบริเวณก้นชั้นกลาง
  • กล้ามเนื้อ Piriformis เป็นกล้ามเนื้อก้น สะโพก ชั้นลึก หรือมักเรียกว่า จุดสลักเพชร
  • กล้ามเนื้อ Hamstring เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง ที่ประกอบด้วยมัดกล้ามเนื้อ 3 มัดรวมกัน
  • กล้ามเนื้อ Gastrocnemius หรือ กล้ามเนื้อน่อง

3. Sacroiliac joint pain หรือ ปวดบริเวณข้อต่อ Sacroiliac จะใช้วิธีการนวดไปตามจุดที่มีปัญหา ซึ่งจุดที่พบปัญหาได้บ่อยมีดังนี้

  • กล้ามเนื้อบริเวณข้อกระดูกสันหลัง ช่วงข้อ L4-L5 ในบริเวณหลังส่วนล่าง
  • กล้ามเนื้อบริเวณข้อกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ S1-S5 ในบริเวณก้นกบ
  • กล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อ Sacroiliac joint ในบริเวณก้บกบกับสะโพก
  • กล้ามเนื้อ Gluteus medius เป็นกล้ามเนื้อบริเวณก้นชั้นกลาง
  • กล้ามเนื้อ Gluteus minimus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณก้นชั้นลึก
  • กล้ามเนื้อ Piriformis เป็นกล้ามเนื้อก้น สะโพก ชั้นลึก หรือมักเรียกว่า จุดสลักเพชร
  • กล้ามเนื้อ Hamstring เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง ที่ประกอบด้วยมัดกล้ามเนื้อ 3 มัดรวมกัน
  • กล้ามเนื้อ Gastrocnemius หรือ กล้ามเนื้อน่อง

4. สะโพกเสื่อม จะใช้วิธีการนวดไปตามจุดที่มีปัญหา ซึ่งจุดที่พบปัญหาได้บ่อยมีดังนี้

  • กล้ามเนื้อบริเวณข้อกระดูกสันหลัง ช่วงข้อ L4-L5 ในบริเวณหลังส่วนล่าง
  • กล้ามเนื้อบริเวณข้อต่อ Sacroiliac joint ในบริเวณก้บกบกับสะโพก
  • กล้ามเนื้อ Gluteus maximus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณก้นชั้นบน
  • กล้ามเนื้อ Gluteus medius เป็นกล้ามเนื้อบริเวณก้นชั้นกลาง
  • กล้ามเนื้อ Gluteus minimus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณก้นชั้นลึก
  • กล้ามเนื้อ Piriformis เป็นกล้ามเนื้อก้น สะโพก ชั้นลึก หรือมักเรียกว่า จุดสลักเพชร
  • กล้ามเนื้อ Quadratus femoris บริเวณก้น สะโพกชั้นลึก
  • กล้ามเนื้อ Hamstring เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหลัง ที่ประกอบด้วยมัดกล้ามเนื้อ 3 มัดรวมกัน
  • กล้ามเนื้อ Gastrocnemius หรือ กล้ามเนื้อน่อง
  • กล้ามเนื้อ Sartorius เป็นกล้ามเนื้อที่ทอดยาวจากสะโพก พาดผ่านมาบริเวณต้นขาด้านหน้า
  • กล้ามเนื้อ Tensor fasciae latae เป็นกล้ามเนื้อด้านข้างข้อสะโพก
  • กล้ามเนื้อ Rectus femoris กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหน้า
  • กล้ามเนื้อ Vastus lateralis กล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านนอก
กลับสู่สารบัญ

การรักษาด้วยการนวดสลายพังผืด และจุด trigger point ทำอย่างไร

การนวดสลาย trigger point และพังผืด เป็นวิธีการนวดแก้อาการโดยเฉพาะ ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดทั่วไปโดยสิ้นเชิง การนวดรักษาด้วยวิธีสลาย trigger point และพังผืดนั้น จะต้องอาศัยความรู้ความชำนาญของหมอผู้นวด รวมถึงประสบการณ์ในการรักษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องนวดรักษาในมัดกล้ามเนื้อชั้นตื้น มัดกล้ามเนื้อชั้นลึก เส้นเอ็น ข้อต่อ รวมถึงเส้นประสาท

การนวดแก้อาการในลักษณะนี้จะแตกต่างจากการนวดทั่วๆ ไป ตรงที่การนวดทั่วๆ ไปนั้น จะเน้นแค่การผ่อนคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นเท่านั้น แต่การนวดสลาย trigger point และพังผืดนี้ จะเน้นแก้ปัญหาของอาการผิดปกติต่างๆ ตามแนวมัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และเส้นประสาท  โดยจะเริ่มจากการตรวจคลำหาปม trigger point และพังผืด และทำการคลึง เพื่อสลายออก โดยการนวดจะมีการใช้นิ้วมือ ข้อศอก รวมถึงไม้นวดเล็กๆ สลับกันไป

แม้ว่าการรักษาด้วยวิธีการนวดสลาย trigger point และพังผืดนั้นค่อนข้างให้ผลการรักษาที่ชัดเจน และถาวร เนื่องจากสามารถแก้สาเหตุของอาการได้อย่างตรงจุด แต่ข้อเสียของการนวดสลาย trigger point และพังผืด คือ ในขณะรักษาผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บกว่าการนวดทั่วไป โดยความเจ็บที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการคลึงให้ trigger point และพังผืดที่รัดอยู่ให้สลายตัวออก ถ้าจุดใดที่ไม่มี trigger point หรือพังผืด จุดนั้นจะไม่เกิดความเจ็บใดๆ ถึงแม้จะโดนกดคลึงก็ตาม

การนวดสลาย trigger point และ พังผืด นั้นมีความปลอดภัยสูงและไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย เนื่องจากจะไม่มีการบิด หัก ดัด แอ่น กระชาก ใดๆ เพราะการบิด หัก ดัด แอ่น กระชากนั้น นอกจากจะไม่ใช่วิธีที่แก้ปัญหาจากต้นเหตุแล้ว ยังเป็นการกระทำที่สามารถเป็นอันตรายต่อข้อต่อ และกล้ามเนื้อของผู้ป่วยได้ เนื่องจากข้อต่อ และกล้ามเนื้อที่ถูก บิด กระชากนั้น อาจเกิดการบาดเจ็บ และเกิดพังผืดขึ้นอีก ทำให้อาการยิ่งซับซ้อน และรุนแรงมากขึ้น

กลับสู่สารบัญ

ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้น จากการนวดแก้อาการสลาย trigger point และพังผืด

กลับสู่สารบัญ

ข้อควรรู้ก่อนการรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ด้วยวิธีการนวดสลาย trigger point และพังผืด

ก่อนจะตัดสินใจรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ด้วยวิธีการนวดสลาย trigger point และพังผืดนั้น ผู้ป่วยควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ประกอบ

1. การนวดแก้อาการด้วยวิธีนี้ ถึงแม้ว่าจะสามารถทำให้ผู้ป่วยหายอย่างถาวรได้ก็จริง แต่อาจไม่ได้หายภายในครั้งเดียว

ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา การนวดสลาย trigger point และพังผืดด้วยผู้ที่ชำนาญ อาจจะสามารถทำให้ดีขึ้นได้เลยภายในครั้งเดียว แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังมาสักระยะหนึ่งแล้ว อาจจะต้องใช้เวลาในการรักษา ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้อาการหายช้า หรือเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับ

  • ความเชี่ยวชาญของผู้นวดแก้อาการ

ผู้รักษาที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษา เมื่อตรวจอาการแล้ว จะรู้ทันทีว่า ต้นเหตุของอาการอยู่ที่ใด และต้องแก้ที่ตำแหน่งใด ซึ่งจะแตกต่างผู้รักษาที่ไม่มีความชำนาญโดยสิ้นเชิง เพราะผู้ที่ไม่มีความรู้ ความชำนาญ จะไม่สามารถแยกได้ว่ากล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาท ที่มีความผิดปกตินั้นเป็นอย่างไร แล้วเชื่อมโยงไปที่จุดใดบ้าง ดังนั้นการรักษาโดยผู้ที่ชำนาญการ จะสามารถรักษาได้ครอบคลุม ครบถ้วน ให้ผลการรักษาที่รวดเร็ว แม่นยำ และตรงจุดกว่าการรักษาโดยผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญ

  • ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการสะสมมา

ในกรณีที่มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาเรื้อรัง หรือ มีอาการเป็นๆ หายๆ มานานในเคสลักษณะนี้ จะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการ เนื่องจากในผู้ป่วยที่มีอาการมานานนั้น พังผืดจะหนาตัวและจะแทรกลุกลามไปในชั้นกล้ามเนื้อชั้นลึกๆ หรือลามไปบริเวณใกล้เคียง จนรบกวนเส้นประสาทค่อนข้างชัดเจน

เกิดเป็นอาการชา แสบร้อน แปล๊บคล้ายไฟช็อต เกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องรักษาหลายครั้ง กว่าจะสลายพังผืดออกได้จนหมด ในขณะที่ผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการไม่นานนั้น จะมีพังผืดเพียงเล็กน้อย และจะมีอยู่เพียงกล้ามเนื้อชั้นบนๆ ไม่ได้ฝังลงลึก และไม่ได้ลุกลามไปบริเวณอื่นๆ ดังนั้น จึงใช้เวลารักษาน้อยกว่า ได้ผลที่ชัดเจนกว่า และหายไวกว่า

  • สภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย

ผู้ป่วยแต่ละท่านมีสภาพกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องของความสามารถในการคลายตัว หรือการสลายตัวของพังผืด ในผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อที่คลายตัวได้เร็ว และพังผืดสลายตัวได้ง่าย ก็จะเห็นผลการรักษาที่ชัดเจนและไวกว่า

2. การนวดสลาย trigger point และพังผืดมีความเจ็บ

เนื่องจากการนวดสลาย trigger point และพังผืด จะเน้นไปที่การรักษาอาการของผู้ป่วยให้หาย ไม่ได้เน้นเรื่องความผ่อนคลาย ดังนั้น ขณะทำการรักษา ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ ซึ่งจะเจ็บมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการ หรือเทคนิคของการนวดแก้อาการในแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ต้องการรักษา ด้วยวิธีการนวดสลาย trigger point และพังผืดนี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยที่พอทนความเจ็บได้บ้าง หากเป็นผู้ที่ทนความเจ็บไม่ได้เลย อาจจะต้องเลือกการรักษาทางอื่นแทน

3. อาจเกิดการระบม หรือรอยฟกช้ำขึ้นหลังจากการนวด

การนวดแก้อาการสลาย trigger point และพังผืดนั้น อาจะทำให้เกิดความระบม หรือมีรอยฟกช้ำขึ้นหลังจากการรักษา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการระบม และรอยฟกช้ำ จะเกินระยะเวลาประมาณ 3-10 วัน โดยจะระบมมาก-น้อย หรือ ฟกช้ำ มาก-น้อย แค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการนวดรักษาของสถานที่นวดแก้อาการแต่ละแห่ง

4. ค่าใช้จ่ายในการนวดสลายพังผืดจะสูงกว่าการนวดทั่วไป

โดยปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการสลาย trigger point และพังผืดจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการนวดทั่วไป เนื่องจากผู้ที่จะทำการนวดแก้อาการได้นั้น ไม่ใช่แค่ใครก็ได้ที่นวดแผนไทยเป็น แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านการสลาย trigger point และพังผืดในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ มากกว่าหมอนวดแผนไทยอย่างมาก ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญในด้านนี้จริงๆ มีจำนวนค่อนข้างน้อย

ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการที่พบในปัจจุบันนั้น มีตั้งแต่ 500.- จนไปถึงหลักหมื่นบาท (xx,xxx) ต่อครั้ง ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูล และปัจจัยต่างๆ ของสถานที่นวดแก้อาการแต่ละแห่งว่าที่ใดมีความเชี่ยวชาญ สามารถรักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อผู้ป่วยมากที่สุด

กลับสู่สารบัญ

บทส่งท้าย

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นภาวะความผิดปกติของร่างกาย ที่อาจเกิดจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท การบาดเจ็บของข้อต่อ SI Joint หรือ โรคข้อสะโพกเสื่อม ซึ่งอาการจะแตกต่างกันเล็กน้อยตามตำแหน่งความผิดปกติ โดยการรักษาที่จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ชัดเจนนั้น ผู้รักษาจะต้องรู้ถึงสาเหตุ และตำแหน่งเฉพาะจุดที่แน่นอนในการรักษา อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า อาการปวดสะโพกร้าวลงขานั้น อาจไม่ใช่เพียงแค่กล้ามเนื้ออักเสบธรรมดา แต่อาจเป็นอาการของโรคที่รุนแรงกว่านั้น ดังนั้นหากเริ่มมีอาการ ควรรีบหาทางรักษาให้หายเสียแต่เนิ่นๆ เพราะยิ่งปล่อยไว้ จะยิ่งรักษายากขึ้นจนถึงขั้นต้องผ่าตัดในอนาคต