อาการ ปวดสะบัก เกิดจากอะไร และสามารถรักษาด้วยการ นวดแก้อาการ ได้หรือไม่

ปวดสะบัก

อาการปวดสะบักนั้น เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่ทำงานในท่าเดิมซ้ำๆ ผู้ที่บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือผู้ที่ใช้งานกล้ามเนื้อสะบักหนักเกินไป โดยอาการปวดนั้น อาจเกิดในบริเวณสะบัก ร่องสะบัก หรือบริเวณใกล้เคียง เช่น คอ บ่า ไหล่ หรือต้นแขน เป็นต้น โดยอาการปวดอาจเป็นการปวดแบบตื้อๆ ลึกๆ  หรือเป็นการเจ็บแปล็บแบบเสียดแทงก็ได้ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุ และอาการที่พบบ่อยบริเวณสะบัก รวมถึงวิธีรักษาอาการปวดสะบักที่ให้ผลอย่างยั่งยืนกันค่ะ

ปวดสะบัก เกิดจากอะไร

อาการปวดสะบัก เกิดขึ้นจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ หรือเอ็นบริเวณสะบัก จนอักเสบ และเกิดเป็นปม trigger point รวมถึงเกิดพังผืดเข้าไปยึดเกาะบริเวณที่มีปัญหา ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวได้สะดวก จึงเกิดอาการ ปวด ตึง เมื่อยสะบักขึ้น

 

ซึ่งอาการปวดสะบักนั้น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุใดดังนี้

  1. การอยู่ในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเวลานานๆ เช่น การนั่งยื่นคอ การนั่งก้มคอ การอยู่ในท่าเอียงคอไปด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้น
  2. การยกของที่หนักเกินไป หรือยกผิดท่า จนทำให้กล้ามเนื้อสะบักเกิดการบาดเจ็บ
  3. การทำงานที่ใช้งานกล้ามเนื้อสะบักบ่อยๆ ซ้ำๆ เช่น การรีดผ้า การทาสีเพดาน การยกแขนซ่อมสิ่งของที่อยู่เหนือหัว การคุยโทรศัพท์แบบใช้หูแนบไหล่ เป็นต้น
  4. การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น เบสบอล เทนนิส หรือการเวทเทรนนิ่ง เป็นต้น
  5. เป็นอาการที่ต่อเนื่องของมาจากอาการปวดคอบ่าไหล่ ออฟฟิศซินโดรม ไหล่ติด หรือเป็นอาการต่อเนื่องมาจากภาวะกระดูกคอทับเส้นประสาท กระดูกคอทรุด หรือกระดูกคอเสื่อม
  6. เป็นอาการต่อเนื่องมาจากอาการปวดหลัง หรือกล้ามเนื้อหลังอักเสบ เนื่องจากจะมีการดึงรั้งกล้ามเนื้อชุด Longissimus Thoracis ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อยาวตั้งแต่หลังส่วนล่างไปถึงใต้สะบัก
กลับสู่สารบัญ

อาการปวดสะบักที่พบบ่อย

อาการปวดกล้ามเนื้อระหว่างสะบัก 2 ข้าง

อาการปวดกล้ามเนื้อระหว่างสะบัก 2 ข้าง

อาการปวด เมื่อย ตึง ล้า บริเวณกล้ามเนื้อระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้างนี้ มักจะเป็นสัญญาณเริ่มแรกของอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งสาเหตุของอาการนี้จะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อ Rhomboid, Serratus Posterior Superior และ Longissimus Thoracis บางส่วน ถูกใช้งานจนเกิดอาการเกร็งตัว และเกิดเป็นปม trigger point ขึ้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวด เมื่อย ตึง ล้า ระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง

อาการปวดบริเวณสะบักอย่างเดียว หรืออาการสะบักจม

อาการปวดบริเวณสะบักอย่างเดียว

อาการปวดที่เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณสะบักนั้น มักจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อของสะบักถูกใช้งานจนเกิดอาการตึงเครียด เกิดปม trigger point ขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณสะบักเกิดการอักเสบ เกร็งตัว และมีพังผืดไปเกาะยึดบริเวณดังกล่าว จึงทำให้เลือดนำสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณสะบักได้ไม่ทั่วถึง ผู้ป่วยจึงเกิดอาการปวด เสียด หรือเจ็บแปล็บๆ บริเวณสะบัก และร่องสะบัก

กล้ามเนื้อบริเวณสะบักที่มักพบอาการปวด ได้แก่ กล้ามเนื้อ Infrapraspinatus, Supraspinatus, Teres major, Teres minor และ Iliocostalis thoracis

โดยบริเวณที่พบอาการปวดบ่อยที่สุดคือ บริเวณร่องสะบักด้านในตรงมัดกล้ามเนื้อ Iliocostalis thoracis ซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะรู้สึกปวดลึกๆ เสียดๆ ขัดๆ หรือในบางครั้งเรียกว่าอาการสะบักจม นั่นเอง

อาการปวดสะบักที่มีการปวดคอบ่าไหล่ร่วมด้วย

อาการปวดสะบักที่มีการปวดคอบ่าไหล่ร่วมด้วย

อาการปวดสะบักประเภทนี้ เป็นอาการที่เกี่ยวพันกับการปวดคอบ่าไหล่ ไม่ว่าจะเป็นการปวดที่เกิดจากออฟฟิศซินโดรม หรือการปวดที่เกิดจาก กระดูกคอทรุด/เสื่อม/เคลื่อนทับเส้นประสาท โดยผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดคอบ่าไหล่มาก่อนอาการปวดสะบัก หรืออาจจะมีอาการปวดสะบักก่อนแล้วจึงเริ่มปวดคอบ่าไหล่ก็ได้

เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณ คอ บ่า ไหล่ และสะบักนั้น เป็นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องกัน ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวด หรือตึงบริเวณใดบริเวณหนึ่งเป็นเวลานานๆ แล้วมิได้ทำการรักษาให้หาย การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรวมถึงพังผืดจะค่อยๆ ลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียง อาการปวดจึงลุกลามไปทั่วทั้ง คอบ่าไหล่ และสะบัก

บริเวณ คอบ่าไหล่ และสะบัก ที่มักพบอาการปวดร่วมกัน ได้แก่ บริเวณกล้ามเนื้อ Levator scapulae, Trapezius, Rhomboid, Supraspinatus และ Infrapraspinatus

อาการปวดสะบักร้าวลงแขน ชาแขน ชามือ ชานิ้ว

อาการปวดสะบักร้าวลงแขน ชาแขน ชามือ ชานิ้ว

การปวดในลักษณะนี้ โดยมากจะเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณสะบัก เกิดอาการตึงเครียดเกร็งตัว และมีพังผืดมาเกาะ จนไปรบกวนเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของแขน และนิ้ว ทำให้เส้นประสาททำงานผิดเพี้ยนไปจากเดิม ผู้ป่วยจึงมีอาการปวด และชาลงแขน ชามือ ชานิ้ว

บริเวณที่มักพบอาการจะได้แก่ กล้ามเนื้อ Infrapraspinatus, Supraspinatus, Teres major, Teres minor, Triceps brachii, Extensor carpi radialis longus, Extensor carpi ulnaris และ Extensor digitorum of hand

อาการปวดสะบัก หายใจไม่สุด หายใจไม่อิ่ม

อาการปวดสะบัก หายใจไม่สุด หายใจไม่อิ่ม

อาการปวดสะบัก ที่มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สุดร่วมด้วยนั้น มักจะเกิดจากการเกร็งตัวในบริเวณกล้ามเนื้อทรวงอกส่วนหลังที่ติดกับสะบัก ซึ่งได้แก่ กล้ามเนื้อ Serratus posterior superior, Iliocostalis cervical, Iliocostalis thoracis และกล้ามเนื้อ Longissimus thoracis ซึ่งกล้ามเนื้อเหล่านี้จะหด-ขยายตัวขณะหายใจเข้าออก 

เมื่อมัดกล้ามเนื้อดังกล่าวเกิดความตึงเครียด และหดเกร็ง กล้ามเนื้อจะสูญเสียความยืดหยุ่น และจะไม่สามารถหด-ขยายตัวได้เต็มที่ขณะหายใจ ผู้ป่วยจึงมีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สุด หรือมีอาการจุกหลัง หรือเสียดแทงบริเวณสะบัก ขณะหายใจ

ในผู้ป่วยบางเคสอาจมีอาการปวดสะบัก และตึงร้าวไปด้านหน้าหัวไหล่ และลามไปตึงบริเวณหน้าอกร่วมด้วย เนื่องจาก กล้ามเนื้อทรวงอกด้านหน้า ซึ่งได้แก่ กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid, Pactoralis minor, Intercostal internus และ Intercostal externus มีพังผืดไปเกาะ จนเกิดการเกร็งตัว ไม่ยืดหยุ่น ทำให้ไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ขณะหายใจ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเสียดแทง หรือมีอาการเจ็บแปล็บ บริเวณหน้าอกขณะหายใจร่วมด้วย

อาการปวดสะบักที่มีการปวดหลังร่วมด้วย

อาการปวดสะบักที่มีการปวดหลังร่วมด้วย

การปวดสะบักที่มีอาการปวดหลังช่วงกลาง หรือช่วงล่างร่วมด้วยนั้น มักเกิดจากกล้ามเนื้อ Longissimus Thoracis ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่ยาวจากใต้สะบักลงไปถึงหลังช่วงล่าง ดังนั้นหากกล้ามเนื้อในมัดนี้เกิดการเกร็งตัวถึงจุดหนึ่ง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดดึงรั้งเป็นแนวตั้งแต่สะบักไปถึงหลังช่วงกลาง หรือหลังช่วงล่าง

ในผู้ป่วยบางเคส อาจจะมีอาการปวด ตึงรั้ง ในมัดกล้ามเนื้อ Iliocostalis thoracis และ Infrapraspinatus ร่วมด้วย

กลับสู่สารบัญ

ทำไมรักษามาหลายวิธีแล้วแต่อาการปวดสะบักยังไม่หายไป

วิธีการรักษาอาการปวดสะบักนั้น ปัจจุบันมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการกายภาพบำบัด การประคบร้อน การทำอัลตร้าซาวด์ การ shockwave การฝังเข็ม หรือการนวด โดยในผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการปวดไม่นานจะตอบสนองดีกับการรักษาในทุกรูปแบบ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณที่มีปัญหายังเกร็งตัวไม่มาก และปริมาณพังผืดที่มาเกาะยึดยังค่อนข้างน้อย ดังนั้นการรักษาด้วยวิธีทั่วๆ ไป จึงค่อนข้างได้ผลดี

ในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่มีอาการปวดสะบักมานาน หรือ ปวดเป็นๆ หายๆ มาตลอด จะมีการเกร็งตัวและการอักเสบของกล้ามเนื้อค่อนข้างมาก รวมถึงจะมีปม trigger point และพังผืดจำนวนมากไปเกาะอยู่ในบริเวณที่มีปัญหา ดังนั้นผู้ป่วยจะไม่ค่อยตอบสนองกับการรักษาโดยทั่วๆ ไป เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะไม่สามารถสลายปม trigger point และพังผืดจำนวนมากที่ไปยึดเกาะในกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดอาการปวดออกได้ นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมในผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังมานาน จึงรักษาด้วยวิธีทั่วๆ ไปไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร

วิธีรักษาอาการปวดสะบักได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีรักษาอาการปวดสะบักที่มีประสิทธิภาพ และได้ผลการรักษาที่ถาวรนั้น จำเป็นจะต้องมีการสลายพังผืด และก้อนแข็ง trigger point ที่เป็นต้นเหตุทั้งหมดของอาการปวด ตึง เมื่อยออกไป เมื่อพังผืด และอาการเกร็งกล้ามเนื้อคลายตัวออก เลือดจะสามารถไหลเวียน และนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณสะบักได้ตามปกติ เส้นประสาทที่ถูกรบกวนจากพังผืดก็จะกลับมาทำงานได้ตามปกติ อาการอักเสบ อาการปวด เสียด ตึง ชา ก็จะหายไป และไม่กลับเป็นมาเป็นใหม่ เนื่องจากต้นเหตุของปัญหาถูกกำจัดออกไปแล้ว

การนวดแก้อาการสลายปม trigger point และ พังผืด จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถรักษาอาการปวดสะบักทั้งในระยะเริ่มแรก และในระยะเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นการแก้ปัญหาจากต้นตอของอาการผิดปกติต่างๆ ทั้งในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาทบริเวณสะบัก

กลับสู่สารบัญ

การรักษาด้วยการนวดสลายพังผืด และจุด trigger point ทำอย่างไร

การนวดสลาย trigger point และพังผืด เป็นวิธีการนวดแก้อาการโดยเฉพาะ ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดทั่วไปโดยสิ้นเชิง การนวดรักษาด้วยวิธีสลาย trigger point และพังผืดนั้น จะต้องอาศัยความรู้ความชำนาญของหมอผู้นวด รวมถึงประสบการณ์ในการรักษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องนวดรักษาในมัดกล้ามเนื้อชั้นตื้น มัดกล้ามเนื้อชั้นลึก เส้นเอ็น ข้อต่อ รวมถึงเส้นประสาท

การนวดแก้อาการในลักษณะนี้จะแตกต่างจากการนวดทั่วๆ ไป ตรงที่การนวดทั่วๆ ไปนั้น จะเน้นแค่การผ่อนคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นเท่านั้น แต่การนวดสลาย trigger point และพังผืดนี้ จะเน้นแก้ปัญหาของอาการผิดปกติต่างๆ ตามแนวมัดกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ และเส้นประสาท  โดยจะเริ่มจากการตรวจคลำหาปม trigger point และพังผืด และทำการคลึง เพื่อสลายออก โดยการนวดจะมีการใช้นิ้วมือ ข้อศอก รวมถึงไม้นวดเล็กๆ สลับกันไป

แม้ว่าการรักษาด้วยวิธีการนวดสลาย trigger point และพังผืดนั้นค่อนข้างให้ผลการรักษาที่ชัดเจน และถาวร เนื่องจากสามารถแก้สาเหตุของอาการได้อย่างตรงจุด แต่ข้อเสียของการนวดสลาย trigger point และพังผืด คือ ในขณะรักษาผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บกว่าการนวดทั่วไป โดยความเจ็บที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากการคลึงให้ trigger point และพังผืดที่รัดอยู่ให้สลายตัวออก ถ้าจุดใดที่ไม่มี trigger point หรือพังผืด จุดนั้นจะไม่เกิดความเจ็บใดๆ ถึงแม้จะโดนกดคลึงก็ตาม

การนวดสลาย trigger point และ พังผืด นั้นมีความปลอดภัยสูงและไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย เนื่องจากจะไม่มีการบิด หัก ดัด แอ่น กระชาก ใดๆ เพราะการบิด หัก ดัด แอ่น กระชากนั้น นอกจากจะไม่ใช่วิธีที่แก้ปัญหาจากต้นเหตุแล้ว ยังเป็นการกระทำที่สามารถเป็นอันตรายต่อข้อต่อ และกล้ามเนื้อของผู้ป่วยได้ เนื่องจากข้อต่อ และกล้ามเนื้อที่ถูก บิด กระชากนั้น อาจเกิดการบาดเจ็บ และเกิดพังผืดขึ้นอีก ทำให้อาการยิ่งซับซ้อน และรุนแรงมากขึ้น

ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจนวดแก้อาการปวดสะบัก

ก่อนจะตัดสินใจรักษาอาการปวดสะบักด้วยวิธีการนวดแก้อาการสลายพังผืดนั้น ผู้ป่วยควรพิจารณาสิ่งเหล่านี้ประกอบ

1. การนวดแก้อาการสลาย trigger point และพังผืดนี้ ถึงแม้ว่าจะสามารถทำให้ผู้ป่วยหายอย่างถาวรได้ก็จริง แต่อาจไม่ได้หายภายในครั้งเดียว

ถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการปวด ตึง การนวดสลายพังผืดด้วยผู้ที่ชำนาญ อาจจะสามารถทำให้ดีขึ้นได้เลยภายในครั้งเดียว แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังมาสักระยะหนึ่งแล้ว อาจจะต้องใช้เวลาในการรักษา ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้อาการหายช้าหรือเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับ

  • ความเชี่ยวชาญของผู้นวดแก้อาการ

ผู้รักษาที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษา เมื่อตรวจอาการแล้วจะรู้ทันทีว่าต้นเหตุของอาการอยู่ที่ใด และต้องแก้ที่ตำแหน่งใด ซึ่งจะแตกต่างผู้รักษาที่ไม่มีความชำนาญโดยสิ้นเชิง เพราะผู้ที่ไม่มีความรู้ ความชำนาญ จะไม่สามารถแยกได้ว่ากล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อที่มีความผิดปกตินั้น ผิดปกติเพราะอะไร และควรต้องแก้ไขอย่างไร การรักษาโดยผู้ที่ชำนาญการ จะให้ผลการรักษาที่รวดเร็ว แม่นยำ และตรงจุด จนผู้ป่วยรู้สึกได้เองถึงความแตกต่าง

  • ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการสะสมมา

ผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง หรือ มีอาการเป็นๆ หายๆ มานาน หรือเคยใช้งานกล้ามเนื้อสะบักมานาน ย่อมต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการ เนื่องจากในผู้ป่วยที่มีอาการมานาน พังผืดจะเกาะแทรกและลุกลามไปในชั้นกล้ามเนื้อในหลายๆ จุด และในบางเคส พังผืดได้ลุกลามไปยึดเกาะบริเวณข้างเคียง ได้แก่ คอ บ่า ไหล่ หน้าอก หรือต้นแขน ดังนั้นจะต้องรักษาหลายครั้งกว่าจะสลายพังผืดออกจนหมด ในขณะที่ผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการไม่นานนั้น จะมีพังผืดยึดเกาะเพียงเล็กน้อย และจะเกาะอยู่เพียงกล้ามเนื้อชั้นบนๆ ไม่ได้เกาะฝังลงลึก หรือเกาะลุกลามไปที่ต่างๆ เหมือนผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ดังนั้น จึงใช้เวลารักษาน้อยกว่า ได้ผลที่ชัดเจนกว่า และหายไวกว่า

  • สภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย

ผู้ป่วยแต่ละท่านมีสภาพกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องของความสามารถในการคลายตัว หรือในเรื่องความหนืดแข็งของพังผืด ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อที่คลายตัวได้เร็ว หรือมีพังผืดนิ่มจะเห็นผลการรักษาที่ชัดเจนและไวกว่าผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อที่คลายตัวช้า หรือมีพังผืดหนืดแข็ง

2. การนวดสลายแก้อาการสลายพังผืด มีความเจ็บ

เนื่องจากการนวดสลายพังผืดจะเน้นไปที่การรักษาอาการของผู้ป่วยให้ทุเลา ไม่ได้เน้นเรื่องความผ่อนคลาย ดังนั้น ขณะทำการรักษา ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ ซึ่งจะเจ็บมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือเทคนิคของการนวดแก้อาการในแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยวิธีการนวดสลายพังผืดนี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยที่พอทนความเจ็บได้บ้าง หากเป็นผู้ที่ทนความเจ็บไม่ได้เลย อาจจะต้องเลือกการรักษาทางอื่นแทน

3. อาจเกิดการระบม หรือรอยฟกช้ำขึ้นหลังจากการนวด

การนวดแก้อาการสลายพังผืดนั้น อาจะทำให้เกิดความระบม หรือมีรอยฟกช้ำขึ้นหลังจากการรักษา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการระบม และรอยฟกช้ำ จะเกินระยะเวลาประมาณ 3-10 วัน โดยจะระบมมาก-น้อย หรือ ฟกช้ำ มาก-น้อย แค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการนวดรักษาของสถานที่นวดแก้อาการแต่ละแห่ง

4. ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการจะสูงกว่าการนวดทั่วไป

โดยปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการนวดทั่วไป เนื่องจากผู้ที่จะทำการนวดแก้อาการได้นั้น ไม่ใช่แค่ใครก็ได้ที่นวดแผนไทยเป็น แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านการสลายพังผืดในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และ ข้อต่อ มากกกว่าหมอนวดแผนไทยอย่างมาก ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญในด้านนี้จริงๆ มีจำนวนค่อนข้างน้อย 

ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการที่พบในปัจจุบันนั้น มีตั้งแต่ 500.- จนไปถึงหลักหมื่นบาท (xx,xxx) ต่อครั้ง ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูล และปัจจัยต่างๆ ของสถานที่นวดแก้อาการแต่ละแห่งว่าที่ใดมีความเชี่ยวชาญ สามารถรักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อผู้ป่วยมากที่สุด

กลับสู่สารบัญ

สรุป อาการปวดสะบัก

เมื่อรู้สึกว่ามีอาการปวดสะบัก ตึงสะบัก แม้เพียงเล็กน้อย ก็ควรรีบรักษา อย่าปล่อยให้อาการลุกลามมากขึ้นในอนาคต เพราะถ้ามีอาการมาเพียงไม่นาน การรักษาไม่ว่าวิธีใดๆ ก็ตาม จะมีประสิทธิภาพ และได้ผลดี ในทางตรงกันข้าม หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รีบรักษาให้หายตั้งแต่เนิ่นๆ จนอาการลุกลามมากขึ้น จะหาวิธีรักษาให้หายยาก และจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมถึงกระทบต่อสุขภาพจิตอีกด้วย