อาการปวดสะโพกร้าวลงขา ชาลงขา หรือไฟช็อตลงขานั้น เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ที่มีพฤติกรรมการนั่งนาน หรือในผู้ที่เคยมีอาการบาดเจ็บบริเวณหลังมาก่อน อาการปวดสะโพกร้าวลงขานี้ ถือว่าเป็นอาการที่สร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตให้แก่ผู้ป่วยอาการหนึ่ง เพราะผู้ป่วยจะนั่งนานไม่ได้ ยืนนานไม่ได้ เดินนานไม่ได้ เนื่องจากความปวดที่เกิดขึ้น
ในบทความนี้เราจะพูดถึง สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา รวมถึงการนวดรักษาที่สามารถแก้ปัญหาได้จากต้นเหตุ และทำให้อาการปวดชาคลายตัวอย่างถาวร
สารบัญเนื้อหา
1. ปวดสะโพกร้าวลงขา ชาขา เกิดจากอะไร
- หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
- กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis)
- Sacroiliac Joint Dysfunction หรือ SI Joint Pain
2. พฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
3. ปวดสะโพกร้าวลงขา ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อันตรายหรือไม่
4. วิธีการรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ชาขา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปวดสะโพกร้าวลงขา ชาขา เกิดจากอะไร
อาการปวดสะโพกร้าวลง ขาชานั้น เกิดจากการที่เส้นประสาทบริเวณสะโพกถูกรบกวนหรือถูกกดทับ ซึ่งเส้นประสาทหลักๆ ที่มักพบปัญหาคือ เส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) และกลุ่มเส้นประสาทหางม้า (Cauda Equina)
เส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) เป็นเส้นประสาทที่ยาวที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยจะมีจุดกำเนิดอยู่บริเวณ L4-L5 และ S1-S3 และยาวลงมาบริเวณสลักเพชร ก้น ต้นขา น่อง หน้าแข้ง ข้อเท้า และฝ่าเท้า
ผู้ป่วยที่มีอาการเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) โดนกดทับ หรือที่เรียกว่า ไซอาติก้า (Sciatica) นั้น มักจะมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาท ไซอาติก (Sciatic) โดยมักจะมีอาการ ปวดสะโพก ปวดสลักเพชร ปวดก้น ปวดต้นขา ปวดน่อง ปวด หรือชาหน้าแข้ง ปวดข้อเท้า ชาฝ่าเท้า
กลุ่มเส้นประสาทหางม้า (Cauda Equina) เป็นกลุ่มเส้นประสาทบริเวณ L1-S5 ที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อขา ต้นขาด้านใน ก้น ข้อเท้า ฝ่าเท้า รวมถึงควบคุมการทำงานของระบบขับถ่าย หากเส้นประสาทในกลุ่มนี้ถูกกดทับ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขา ชาก้น ชาต้นขาด้านใน ขาอ่อนแรงได้
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ได้แก่
หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือ หมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาทนั้น คือการที่หมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างข้อต่อกระดูกบริเวณสันหลังเคลื่อนตัวออกมากดทับเส้นประสาทที่อยู่บริเวณรอบข้าง ซึ่งเส้นประสาทที่สำคัญที่อยู่บริเวณนี้คือ เส้นประสาทไซอาติก (sciatic) เป็นเส้นประสาทที่ทอดยาวตั้งแต่ หลัง สะโพก ก้น ต้นขา ลงไปถึงปลายเท้า
เมื่อเส้นประสาทไซอาติก (sciatic) ถูกรบกวน จึงไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยในหลายๆ เคสจึงมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา หรือชาลงขาร่วมด้วย
กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis)
ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาทหรือ Piriformis นี้ จะมีอาการใดอาการหนึ่ง หรือมีหลายอาการร่วมกัน ดังนี้
- ปวดบริเวณก้น ก้นย้อย หรือแก้มก้น และจะปวดมากในเวลานั่ง หรือในขณะวิ่ง
- ชาบริเวณก้น
- ปวดร้าวลงขา ปวดต้นขา
- ชาร้าวลงขา ชาต้นขา
- ปวดข้อพับเข่า
- ปวดน่อง
- ขาอ่อนแรง
อาการดังกล่าวเกิดจาก กล้ามเนื้อมัด Pirifomis ที่มีการเกร็งตัวหดรั้งจนไปรบกวนส้นประสาทไซอาติก (sciatic) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ทอดยาวตั้งแต่ สะโพก สลักเพชร ก้น ต้นขา ลงไปถึงปลายเท้า ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติตามตำแหน่งของเส้นประสาท
Sacroiliac Joint Dysfunction หรือ SI Joint Pain
เป็นอาการปวดบริเวณก้นกบและกระเบนเหน็บซึ่งมีสาเหตุมาจาก ข้อต่อกระดูกเชิงกรานผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นบริเวณข้อต่อ หรือเกิดจากภาวะข้อติด ข้อยึด ข้อหลวม หรือ ข้อเสื่อมของข้อต่อกระดูกเชิงกราน
อาการที่เกิดจาก Sacroiliac Joint Dysfunction หรือ SI Joint Pain นั้น จะใกล้เคียงกับอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งได้แก่
- ปวดก้นกบ เมื่อยก้นกบ ปวดช่วงกระเบนเหน็บ
- มีอาการแปล็บบริเวณก้นกบเวลาลุกจากการนั่ง
- ปวดช่วงกระเบนเหน็บขณะนอนราบ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่านอนหลังไม่ติดพื้น หรือหลังโก่งจากพื้น
- ก้มลำบาก รู้สึกเหมือนหลังแข็ง หลังตึง ก้มแล้วปวด
- อาจมีอาการปวดร้าวลงขา หรือชาลงขา หากข้อต่อกระดูกมีพังผืดมาเกาะจนไปรบกวนเส้นประสาทไซอาติก (Sciatic) หรือ หรือกลุ่มเส้นประสาทหางม้า (Cauda Equina)
พฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
อาการปวดสะโพกร้าวลงขา ชาลงขา โดยมากจะเกิดจากพฤติกรรมที่ผู้ป่วยทำซ้ำๆ มาเป็นระยะเวลานานๆ จนทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อกระดูก เกิดความผิดปกติจนไปรบกวนเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ได้แก่
- การยกของหนักเป็นประจำ หรือ การยกของผิดจังหวะ
- การนั่งนานๆ เช่น นั่งทำงาน นั่งประชุม หรือการนั่งขับรถนานๆ โดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถ
- การอยู่ในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเวลานานๆ เช่น การนั่งไขว่ห้าง การนั่งทับกระเป๋าสตางค์ การนั่งบนเบาะที่เป็นแอ่ง การนอนบนเตียงที่ยุบ เป็นต้น
- การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย เช่น การยกเวท การสควอช การเตะฟุตบอล เป็นต้น
- อุบัติเหตุต่างๆ เช่น การกระแทกหรือการเหวี่ยงสะบัด บริเวณ หลัง ก้น สะโพก ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเหล่านั้นเกิดอาการบาดเจ็บและร่างกายมีการสร้างพังผืดขึ้นมาเกาะจนไปรบกวนเส้นประสาท
อาการปวดสะโพกร้าวลงขา ชาลงขานั้น ส่วนใหญ่แล้วไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน แต่มักจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ป่วยได้ทำพฤติกรรมเหล่านี้สะสมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อกระดูกเกิดอาการบาดเจ็บซ้ำๆ จนร่างกายสร้างพังผืดขึ้นมาเกาะตามเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บและไปรบกวนเส้นประสาท จึงทำให้มีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ชาลงขาในที่สุด
กลับสู่สารบัญปวดสะโพกร้าวลงขา ถ้าปล่อยทิ้งไว้ อันตรายหรือไม่
อาการปวดสะโพกที่เกิดจากกล้ามเนื้อสะโพกเกร็งและหดรัดนั้น นอกจากจะมีการกดทับเส้นประสาทจนทำให้ปวดร้าวลงขา ขาชาแล้วนั้น ยังสามารถทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย กล่าวคือ หากปล่อยให้กล้ามเนื้อหดเกร็งโดยไม่รักษา อาการหดรัดที่มีมากขึ้นจะเริ่มขัดขวางไม่ให้เลือดนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้ ส่งผลให้กระดูกและข้อสะโพกมีปัญหาตามไปด้วย โดยปัญหาที่พบบ่อยได้แก่ ภาวะสะโพกเสื่อม และ สะโพกขาดเลือด เป็นต้น
นอกจากนี้อาการปวดร้าวลงขา หรือ ชาลงขานั้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานส่วนขากำลังถูกรบกวนจนทำงานไม่ปกติ อาจส่งผลต่อการควบคุมขาทั้ง 2 ข้างในอนาคต
อาการเส้นประสาทที่ถูกกดทับจะค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยจะเริ่มจากการปวดร้าวลงขา ชาลงขา กลายเป็น ขาอ่อนแรง ขาลีบ และในที่สุดผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมขาทั้ง 2 ข้างได้เลย ใช้การขาไม่ได้ ยืนเดินนั่งไม่ได้ ต้องอยู่แต่ในท่านอน
หากการกดทับลุกลามไปที่กลุ่มเส้นประสาทหางม้า (Cauda Equina) ซึ่งเป็นกลุ่มเส้นประสาทบริเวณหลังล่างและกระเบนเหน็บ ทำหน้าที่ควบคุมระบบขับถ่าย ผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย เริ่มตั้งแต่ระบบขับถ่ายแปรปรวน ขับถ่ายบ่อยขึ้น ขับถ่ายยากขึ้น ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะหรือกลั้นอุจจาระได้ ไม่รู้สึกปวดถ่าย และไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้อย่างสิ้นเชิง
กลับสู่สารบัญวิธีการรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ชาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากที่เราได้อธิบายไว้ด้านบน เราสามารถสรุปสาเหตุของอาการปวดสะโพกร้าวลงขาออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
1. เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณก้นและสะโพกมีความเกร็งตัว หดรั้ง จนเกิดเป็นก้อนแข็ง trigger point และไปขัดขวางไม่ให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก หรือไปหนีบโดนเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวด ตึง ยกตัวอย่างเช่น ภาวะกล้ามเนื้อก้นหนีบเส้นประสาท (Piriformis) เป็นต้น
2. เกิดจากข้อต่อ หรือหมอนรองกระดูกมีปัญหาจากการที่พังผืดไปยึดเกาะ และเกิดการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิมไปทับเส้นประสาท เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และ ข้อต่อเชิงกรานผิดปกติ (Sacroiliac Joint Dysfunction หรือ SI Joint Pain)
ดังนั้นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องแก้ปัญหาได้ทั้งบริเวณข้อต่อที่มีความผิดปกติ และบริเวณกล้ามเนื้อที่มีอาการหดเกร็งได้อย่างตรงจุด
แต่การรักษาที่แพร่หลายในปัจจุบันนั้น ไม่ว่าจะเป็นการทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม การจัดกระดูก หรือ การนวดทั่วไป จะทำได้เพียงบรรเทาอาการให้ดีขึ้นชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากไม่สามารถกำจัดต้นเหตุของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งได้แก่ พังผืด และ trigger point ออกไปได้ ทำให้อาการปวด หรืออาการชานั้น ไม่หายขาด กลับมาเป็นใหม่ซ้ำๆ กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่พร้อมจะทรุดหนักในอนาคต
การรักษาที่สามารถทำให้อาการดีขึ้นและหายได้ในระยะยาว ควรจะประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ การสลาย Trigger point และการสลายพังผืด
1. การนวดสลายจุดยึดเกร็งในกล้ามเนื้อ (Trigger point)
การนวดในลักษณะนี้จะช่วยรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาที่เกิดจากกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท (Piriformis) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากจะเข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุโดยตรงกล่าวคือ
เมื่อกล้ามเนื้อสะโพกถูกใช้งานอย่างหนัก หรือเกิดอาการบาดเจ็บขึ้น กล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะขมวดตัวขึ้นเป็นก้อนปม ซึ่งถูกเรียกว่า Trigger point ซึ่ง Trigger point นั้นจะไปขัดขวางไม่ให้เลือดนำสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้ตามปกติ เนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวจึงเกิดอาการปวด เกร็ง อักเสบ
หากปล่อยทิ้งไว้โดยมิได้รักษาให้หาย Trigger point จะมีจำนวนมากขึ้น จนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ เริ่มหดรั้ง แข็ง เกร็ง และไปรบกวนเส้นประสาทที่อยู่บริเวณใกล้เคียงในที่สุด ผู้ป่วยจึงเกิดอาการปวดร้าวลงขา ชาขา ไฟช็อต แสบร้อน ขาอ่อนแรง เป็นต้น
ดังนั้นการนวดที่มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องสามารถสลายปม Trigger point ได้ เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัวอย่างแท้จริง และไม่ไปบีบหรือกดทับเส้นประสาทรอบข้างอีก อาการปวดสะโพกร้าวลงขาก็จะดีขึ้นอย่างถาวร
2. การนวดสลายพังผืด
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาจากหมอนรองกระดูกหรือข้อต่อที่ผิดปกติจนเคลื่อนที่ไปทับเส้นประสาท เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกทรุด หรือ ข้อต่อกระดูกเชิงการผิดปกติ (Sacroiliac Joint Dysfunction หรือ SI Joint Pain) นั้น ผู้ป่วยมักจะมีพังผืดไปยึดเกาะตามหมอนรองกระดูก และข้อต่อ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติ
พังผืดคือ กลุ่มเนื้อเยื่อโปรตีนที่มีส่วนประกอบของคอลลาเจน ที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อซ่อมแซมอาการบาดเจ็บต่างๆ เมื่อหมอนรองกระดูกหรือข้อต่อมีอาการบาดเจ็บหรืออักเสบ ร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดไปยึดเกาะบริเวณนั้นๆ
ในกรณีที่มีพังผืดมาเกาะบริเวณหมอนรองกระดูกหรือข้อต่อมากเกินไป ข้อต่อและหมอนรองกระดูกเกิดความแข็ง ยึด ล็อค หรือเสื่อมสภาพ จนถูกดึงรั้งให้เคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิมไปทับเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียงได้
ดังนั้นการนวดที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ที่เกิดจากหมอนรองกระดูก หรือข้อต่อเชิงกรานนั้น จำเป็นจะต้องสลายพังผืดที่ยึดเกาะในบริเวณที่มีปัญหา ซึ่งได้แก่ บริเวณ หมอนรองกระดูก ข้อกระดูก ข้อต่อเชิงกราน ให้กลับมามีความยืดหยุ่น คลายจากความยึดล็อก และเคลื่อนกลับเข้าตำแหน่งเดิม ไม่กดทับ หรือไปรบกวนเส้นประสาท อาการปวดสะโพกร้าวลงขา ชาลงขา ก็จะดีขึ้นอย่างถาวร
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจนวดรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
สิ่งที่ผู้ป่วยควรนำมาพิจารณาก่อนตัดสินใจนวดรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ชาลงขา มีดังนี้
1. การนวดแก้อาการด้วยวิธีนี้ ถึงแม้ว่าจะสามารถทำให้ผู้ป่วยหายอย่างถาวรได้ก็จริง แต่อาจไม่ได้หายภายในครั้งเดียว
จริงอยู่ว่าถ้าในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการปวดมาไม่นานนั้น การนวดที่กระทำโดยผู้ชำนาญ จะสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ตั้งแต่ครั้งแรก แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังมาระยะหนึ่งแล้ว การนวดรักษาเพียงครั้งเดียวก็อาจไม่เพียงพอ ทั้งนี้อาการจะหายช้าหรือเร็วนั้นจะขึ้นอยู่กับ
- ความเชี่ยวชาญของผู้นวดแก้อาการ
ผู้รักษาที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษา เมื่อตรวจอาการแล้วจะรู้ทันทีว่าต้นเหตุของอาการอยู่ที่ใด และต้องแก้ที่ตำแหน่งใด ซึ่งจะแตกต่างผู้รักษาที่ไม่มีความชำนาญโดยสิ้นเชิง เพราะผู้ที่ไม่มีความรู้ ความชำนาญ จะไม่สามารถแยกได้ว่ากล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือข้อต่อที่มีความผิดปกตินั้น ผิดปกติเพราะอะไร และควรต้องแก้ไขอย่างไร
การรักษาโดยผู้ที่ชำนาญการ จะให้ผลการรักษาที่รวดเร็ว แม่นยำ และตรงจุด จนผู้ป่วยรู้สึกได้เองถึงความแตกต่าง
- ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการสะสมมา
ผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง หรือ มีอาการเป็นๆ หายๆ มานาน หรือเคยใช้งานกล้ามเนื้อหลังและสะโพกมานาน ย่อมต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานกว่าผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการ เนื่องจากในผู้ป่วยที่มีอาการมานาน พังผืดจะเกาะหนาและลุกลามไปในชั้นกล้ามเนื้อในหลายๆ จุด ดังนั้นจะต้องรักษาหลายครั้งกว่าจะสลายพังผืดออกจนหมด
ในขณะที่ผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มมีอาการไม่นานนั้น จะมีพังผืดยึดเกาะเพียงเล็กน้อย และจะเกาะอยู่เพียงกล้ามเนื้อชั้นบนๆ ไม่ได้เกาะฝังลงลึก หรือเกาะลุกลามไปที่ต่างๆ เหมือนผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง ดังนั้น จึงใช้เวลารักษาน้อยกว่า ได้ผลที่ชัดเจนกว่า และหายไวกว่า
- สภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย
ผู้ป่วยแต่ละท่านมีสภาพกล้ามเนื้อที่แตกต่างกัน ทั้งเรื่องของความสามารถในการคลายตัว หรือในเรื่องความหนืดแข็งของพังผืด ผู้ป่วยที่มีกล้ามเนื้อที่คลายตัวได้เร็ว หรือมีพังผืดนิ่มจะเห็นผลการรักษาที่ชัดเจนและไวกว่าผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อที่คลายตัวช้า หรือมีพังผืดหนืดแข็ง
2. การนวดสลายแก้อาการสลายพังผืด มีความเจ็บ
เนื่องจากการนวดสลายพังผืดจะเน้นไปที่การรักษาอาการของผู้ป่วยให้ทุเลา ไม่ได้เน้นเรื่องความผ่อนคลาย ดังนั้น ขณะทำการรักษา ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ ซึ่งจะเจ็บมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการหรือเทคนิคของการนวดแก้อาการในแต่ละแห่ง
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยวิธีการนวดสลายพังผืดนี้ จะต้องเป็นผู้ป่วยที่พอทนความเจ็บได้บ้าง หากเป็นผู้ที่ทนความเจ็บไม่ได้เลย อาจจะต้องเลือกการรักษาทางอื่นแทน
3. อาจเกิดการระบมหรือรอยฟกช้ำขึ้นหลังจากการนวด
การนวดแก้อาการสลายพังผืดนั้น อาจะทำให้เกิดความระบมหรือมีรอยฟกช้ำขึ้นหลังจากการรักษา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการระบมและรอยฟกช้ำ จะเกินระยะเวลาประมาณ 3-10 วัน โดยจะระบมมาก-น้อย หรือ ฟกช้ำ มาก-น้อย แค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการนวดรักษาของสถานที่นวดแก้อาการแต่ละแห่ง
4. ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการจะสูงกว่าการนวดทั่วไป
โดยปกติแล้ว ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการนวดทั่วไป เนื่องจากผู้ที่จะทำการนวดแก้อาการได้นั้น ไม่ใช่แค่ใครก็ได้ที่นวดแผนไทยเป็น แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญด้านการสลายพังผืดในกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และ ข้อต่อ มากกกว่าหมอนวดแผนไทยอย่างมาก ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญในด้านนี้จริงๆ มีจำนวนค่อนข้างน้อย
ค่าใช้จ่ายในการนวดแก้อาการที่พบในปัจจุบันนั้น มีตั้งแต่ 500.- จนไปถึงหลักหมื่นบาท (xx,xxx) ต่อครั้ง ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลและปัจจัยต่างๆ ของสถานที่นวดแก้อาการแต่ละแห่งว่าที่ใดมีความเชี่ยวชาญ สามารถรักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าต่อผู้ป่วยมากที่สุด
กลับสู่สารบัญคำแนะนำส่งท้ายสำหรับผู้ที่กำลังมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา
อาการปวดสะโพกร้าวลงขา เป็นอาการที่สามารถลุกลามทรุดหนักจนถึงขั้นต้องผ่าตัด หรืออาจทำให้เป็นอัมพาตได้ในอนาคต ดังนั้นผู้ที่กำลังมีอาการนี้ ควรรีบทำการรักษาให้หายตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ควรปล่อยปละละเลยจนแก้ไขลำบาก ยอมเสียเวลารักษาให้หายตั้งแต่ตอนนี้ เพราะการรักษาจะทำได้ง่ายกว่า ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการปล่อยไว้จนเป็นหนักในอนาคต