รีวิวผลการรักษาอาการปวดข้อศอกด้านนอก จากการตีกอล์ฟ อาการดีขึ้นกว่า 90%

อาการปวดข้อศอกด้านนอก

รีวิวผลการรักษาอาการปวดข้อศอกด้านนอก ปวดข้อศอกจากการตีกอล์ฟ เหยียดแขนแล้วปวด อาการดีขึ้นกว่า 90% หลังการรักษาครั้งที่ 2

ประวัติการเจ็บป่วย

  • คุณสมชาย อายุ 55 ปี มารักษาด้วยอาการ
  • ปวดข้อศอกด้านนอกข้างซ้าย
  • ปวดมากขึ้นขณะเหยียดแขน บิดข้อมือเข้า-ออก กำมือ
  • ไม่มีแรงกำมือ
  • มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และแขน ร่วมด้วย

จากประวัติคุณสมชายมีอาการเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ จนเริ่มมีอาการหนักขึ้น ซึ่งจากประวัติในอดีต ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ที่ทำให้เกิดอาการขึ้นปวดข้อศอกด้านนอกขึ้น ดังนี้

  • ผู้ป่วยเคยประสบอุบัติเหตุขับรถชนเสาไฟฟ้า ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ ก็ทำให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาปวดไหล่ ปวดแขน และข้อศอกมาเรื่อยๆ แต่อาการไม่ได้รุนแรง
  • ตีกอล์ฟ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้ข้อศอกเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้
  • หิ้วของหนักเป็นประจำ ผู้ป่วยเคยทำงานหิ้วถังสีหนัก 20-30 kg ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อไหล่ ข้อศอกถูกใช้งานหนัก ส่งผลให้มีอาการปวดเกิดขึ้น
  • มีการขับรถเป็นเวลานานๆ จึงทำให้กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ แขน เกิดการเกร็งตัวร่วมด้วยได้

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมหลายๆ ในชีวิตประจำวัน สามารถสร้างการบาดเจ็บในเนื้อเยื่อทีละเล็กทีละน้อย จนเมื่อร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมได้อีกต่อไป อาการปวดก็จะเริ่มแสดงออกมามากขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มลุกลามไปบริเวณข้างเคียง

โดยคุณสมชายเองนั้น ได้รักษากับแพทย์แผนปัจจุบันมาตลอด ซึ่งเป็นการรักษาตามอาการด้วยการทานยาเพียงอย่างเดียว ซึ่งช่วยบรรเทาปวดได้ชั่วคราว แต่ไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้นได้ เมื่อผู้ป่วยเห็นว่าอาการเริ่มแย่ลง จึงเริ่มค้นหาวิธีการรักษาอื่นๆ จนกระทั่งมาเจอชนัชพันต์คลินิก ผู้ป่วยได้ตัดสินใจมารักษา โดยมีผลการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • มารักษาครั้งที่ 1 วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2562 : หลังจากการรักษา อาการดีขึ้นโดยไม่มีอาการปวดเลยนาน 2 สัปดาห์ จากนั้นก็กลับมามีอาการเหมือนเดิม แต่ระดับความปวดลดน้อยลง
  • มารักษาครั้งที่ 2 วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2562 : อาการหายดีขึ้นขึ้นเกือบ 100% ไม่มีอาการปวดข้อศอก สามารถเหยียดออกได้โดยไม่ปวด คอ บ่า ไหล่ข้างซ้ายไม่ปวดแล้ว แขน และมือมีแรง สามารถกำมือได้ปกติ
กลับสู่สารบัญ

ตำแหน่งที่พบปัญหา

จากอาการของผู้ป่วยท่านนี้ จะมีปัญหาปวดข้อศอกเป็นหลัก แต่เนื่องด้วยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงอาการที่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทำให้ปัญหาลุกลามไปบริเวณกล้ามเนื้อข้างเคียงหลายส่วน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และปวดลงแขนส่วนล่าง ทำให้มือ นิ้วมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย

การรักษาด้วยวิธีนวดแก้อาการของทางคลินิกนั้น จำเป็นจะต้องหาจุดที่เป็นสาเหตุหลักของโรคก่อน ว่ามีปัญหาหลักในบริเวณใด จากนั้นจึงไล่แก้อาการที่ลามไปบริเวณข้างเคียง ซึ่งหากรักษาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือไม่ได้เน้นจุดหลักที่มีปัญหาที่แท้จริง ก็จะทำให้เห็นผลการรักษาไม่ชัดเจนหรือไม่ดีขึ้นได้เท่าที่ควร

การรักษาในผู้ป่วยเคสนี้ สามารถแบ่งตามจุดที่มีปัญหาได้ 4 ส่วน ดังนี้

1. บริเวณข้อศอก ซึ่งเป็นจุดหลัก ที่มีการอักเสบของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นค่อนข้างมาก ทำให้มีอาการปวดข้อศอกด้านนอก โดยกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะบริเวณข้อศอกด้านนอกประกอบด้วยกลุ่มกล้ามเนื้อ Extensor ดังนี้

  • Extensor carpi radialis longus , Extensor carpi radialis brevis เป็นกล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่าง มีหน้าที่ในการงอข้อศอก และกระดกข้อมือขึ้นลง
  • Extensor digitorum conmunis มีหน้าที่ในการเหยียดข้อมือ หรือกระดกข้อมือ และกางนิ้ว
  • Extensor carpi ulnaris มีหน้าที่กระดกข้อมือ และบิดข้อมือเข้าด้านใน

จะเห็นได้ว่ากล้ามเนื้อแขนท่อนล่างทั้งหมดนี้ มีจุดเกาะบริเวณข้อศอกดด้านนอก และทอดยาวไปยังแขนท่อนล่างข้อมือ และนิ้วมือ เพราะฉะนั้นเมื่อกล้ามเนื้อดังกล่าว เกิดการเกร็งตัวอักเสบ จึงทำให้มีอาการปวดขณะใช้งานมัดกล้ามเนื้อนั้นๆ เช่น การเหยียดงอข้อศอก การบิดแขน เป็นต้น

  • Radial collateral ligament of elbow joint และ Annular ligament เป็นเอ็นรอบข้อศอกด้านนอกแนบกับบริเวณ Lateral epicondyle (ปุ่มกระดูกด้านนอก) เมื่อเส้นเอ็นเกิดการอักเสบ จึงทำให้มีอาการปวดข้อศอกด้านนอกขึ้น

2. บริเวณคอ บ่า ไหล่ ต้นแขน เกิดการเกร็งตัวจากการใช้งานมัดกล้ามเนื้อเดิมซ้ำๆ เช่น จากการขับรถ จากการหิ้วของหนัก ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ จึงมีอาการปวดตามแนวมัดกล้ามเนื้อนั้นๆ ตามมา

  • Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอทอดยาวมาบ่า ทำให้มีอาการปวดต้นคอร่วมด้วย
  • Supraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณบ่า ทำให้มีอาการปวดบ่าร่วมด้วย
  • Infraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก ทำให้ปวดสะบักร่วมด้วย
  • Triceps brachii เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนด้านนอก ทำให้ปวดแขนร่วมด้วย

3. บริเวณข้อมือ

  • Flexor digitorum superficialis เป็นกล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างจนถึงฝ่ามือ ทำให้หน้าที่ในการกำมือ งอข้อมือ เป็นหลัก ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่มีแรงกำมือ

4. เส้นประสาทที่เกี่ยวข้อง

  • Radial nerve เป็นเส้นประสาทที่ทอดยาวจากคอ ลงแขน ผ่านข้อศอกด้านนอก และเลี้ยงไปยังปลายแขน เมื่อเส้นประสาทอักเสบ ทำให้ส่งสัญญาณประสาทผิดเพี้ยนไป ทำให้มีอาการปวดแปล๊บร้าวตามแนวเส้นประสาท เกิดอาการชา หรือ อ่อนแรงได้
กลับสู่สารบัญ

ทำไมการนวดสลายพังผืดถึงรักษาอาการปวดข้อศอกได้อย่างเห็นผล

อาการปวดข้อศอก มีสาเหตุจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณข้อศอก เช่น การเล่นกีฬา การใช้งานข้อศอกจากการทำงาน อุบัติเหตุได้รับแรงกระแทก เป็นต้น โดยเมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้น จะเกิดกระบวนการซ่อมแซมของร่างกาย เกิดเป็นการอักเสบ ส่งผลให้เรามีอาการปวด และเกิดพังผืดตามมา

ซึ่งพังผืดนั้น จะเกาะคลุมตามแผลที่บาดเจ็บ หากการบาดเจ็บไม่รุนแรง อาการปวดก็จะหายไปได้เองหลังจากการอักเสบจบลง แต่พังผืดจะยังคงเกาะอยู่บริเวณเนื้อเยื่อดังเดิม ซึ่งเมื่อเกิดการบาดเจ็บซ้ำขึ้นใหม่ ก็จะเกิดพังผืดสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนทำให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณนั้นเกิดการแข็งเกร็ง ขาดความยืดหยุ่น ทำให้เกิดอาการปวดดึงรั้งไปยังบริเวณข้างเคียง นอกจากนั้น พังผืดจะไปขัดขวางการไหลเวียนเลือด และการส่งสัญญาณของเส้นประสาท จึงทำให้ผู้ป่วยบางท่านมีอาการชา เสียวแปล๊บคล้ายไฟช็อต เข็มแทง หรือมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วยได้

จะเห็นได้ว่าพังผืดนี้เองที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้อาการปวด ชา เสียวแปล๊บ ในบริเวณข้อศอก ดังนั้น เมื่อพังผืดถูกสลายออก กล้ามเนื้อก็จะคลายตัว เส้นเอ็นกลับมามีความยืดหยุ่น การอักเสบที่ค้างอยู่ในเนื้อเยื่อก็จะหายไป ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการกำจัดพังผืด สามารถรักษาอาการปวด ตึง ชา ได้อย่างแท้จริง และทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้อย่างถาวร

ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด

การนวดสลายพังผืดในปัจจุบันมีไม่ค่อยแพร่หลายนัก เนื่องจากต้องอาศัยประสบการณ์ และความชำนาญของหมอผู้นวดเป็นอย่างมาก ทำให้มีผู้ที่รู้จริงและสามารถกำจัดพังผืดออกได้จริงมีจำนวนน้อย ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะต้องหาสถานที่ที่น่าเชื่อถือ เพราะการนวดสลายพังผืดนั้นแตกต่างจากการนวดทั่วไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งในเรื่องของวิธีการนวด และประสิทธิภาพในการรักษา

ก่อนที่ผู้ป่วยจะตัดสินใจเข้ารับการรักษาอาการปวดข้อศอก ด้วยวิธีนวดสลายพังผืด ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจในการรักษาให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อตัวของผู้ป่วยเอง ข้อควรรู้ก่อนการรักษาด้วยวิธีสลายพังผืด

กลับสู่สารบัญ

บทส่งท้าย

อาการปวดข้อศอกด้านนอกของคุณสมชายนี้ เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บสะสมโดยไม่รู้ตัว จนทำให้อาการค่อยๆ ลุกลามไปบริเวณข้างเคียง ได้แก่ อาการปวดขึ้นคอ บ่า ไหล่ หรือปวดลงแขน มืออ่อนแรง ที่เกิดแบบนี้ได้เนื่องจาก มัดกล้ามเนื้อแต่ละมัด รวมถึงเส้นประสาทบริเวณดังกล่าว มีความสัมพันธ์กัน เมื่อจุดหนึ่งมีปัญหา จึงทำให้จุดอื่นมีปัญหาร่วมด้วยนั่นเอง

เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยที่เรามองข้าม หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็อาจลุกลามกลายเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากในอนาคต แต่การรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้นย่อมสามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้นั้น โดยการรักษานั้นต้องสามารถกำจัดพังผืด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการที่เกิดขึ้นได้ จึงจะมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างแตกต่าง และถาวร