ออฟฟิศซินโดรม ถือเป็นโรคยอดฮิตในปัจจุบัน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพฤติกรรมการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน อาการออฟฟิศซินโดรมนี้มักพบมากในกลุ่มวัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน จนเกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สะบักขึ้น อย่างไรก็ตาม อาการออฟฟิศซินโดรมนี้ ไม่ได้พบอยู่แต่ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศซินเท่านั้น หากแต่ยังพบมากในกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน เช่นกัน เช่น ช่างไฟ ช่างสัก แม่ค้าออนไลน์ หรือแม้กระทั่งนักกีฬาบางประเภท เป็นต้น
อาการของออฟฟิศซินโดรมนั้นมีหลายระดับ ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีตำแหน่งในการปวด เมื่อย ตึง ที่แตกต่างกันไป ซึ่งการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่พบเจอในปัจจุบันนั้น มักจะให้ผลดีในเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการในระยะแรกๆ เท่านั้น ในผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมมานาน จนเรื้อรัง หรือมีอาการรุนแรง การรักษาแบบทั่วๆ ไป จะไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร โดยมักจะบรรเทาอาการได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
ผู้ป่วยจะกลับมามีอาการซ้ำๆ เป็นๆ หายๆ จนทำให้เข้าใจไปเองว่า อาการออฟฟิศซินโดรมนั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ตรงจุด และถูกวิธี ผู้ป่วยจะสามารถหายขาดจากอาการออฟฟิศซินโดรม และกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยไม่มีอาการปวดอีก
สารบัญ
2. บริเวณที่มักมีอาการปวด ของโรคออฟฟิศซินโดรม
3. ประเภทของการนวดแก้อาการออฟฟิศซินโดรม ที่มีในปัจจุบัน
4. ทำไมการนวดแก้อาการ ด้วยการสลาย trigger point ถึงสามารถแก้อาการออฟฟิศซินโดรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ตำแหน่งในการนวดรักษาออฟฟิศซินโดรมในแต่ละอาการ
- ปวดคอบ่าไหล่
- ปวดคอบ่าไหล่ ไมเกรน
- ปวดคอบ่าไหล่ สะบัก
- ปวดคอบ่าไหล่ หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สุด
- ปวดคอบ่าไหล่ ปวดร้าวลงแขน ปวดข้อมือ ปวดนิ้วมือ
- ปวดคอบ่าไหล่ หลัง
6. รีวิวผลการรักษาออฟฟิศซินโดรม ด้วยวิธีนวดสลาย trigger point
7. ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ด้วยการนวดสลาย trigger point
สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม เป็นกลุ่มอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก ที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน โดยพฤติกรรมเหล่านี้ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบัก เกิดการเกร็งตัวจนขมวดกันกลายเป็นก้อนปม หรือเรียกว่า trigger point ซึ่ง trigger point นี้จะไปขัดขวางไม่ให้เลือดลมไหลเวียนได้อย่างสะดวก ส่งผลให้สารอาหาร และออกซิเจนไม่สามารถไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อได้เพียงพอ จึงเกิดของเสียคั่งค้างอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อบริเวณนั้น และเกิดเป็นอาการปวด หรืออักเสบขึ้น โดยพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยง หรือส่งผลให้เกิดออฟฟิศซินโดรมมีดังนี้
- การนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการนั่งทำงานหน้าคอมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ สะบัก แขน และข้อมือ เกิดอาการเกร็งจากการใช้ท่าเดิมซ้ำๆ
- การนั่งไม่ถูกท่า ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหลังงอ การก้ม หรือเงยคอมากเกินไป รวมถึงตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ เมาส์ โต๊ะ เก้าอี้ ความสูงที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่สมดุลกัน
- การใช้งานกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ แขน ซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลานาน ในอาชีพต่างๆ เช่น นักวาดรูป ช่างไฟ ช่างซ่อมบำรุง เป็นต้น
- การแบกของหนักๆ พาดบ่า เช่น การหาบน้ำ การแบกของหนัก
- การสะพายกระเป๋าเป้หนัก หรือการสะพายกระเป๋าข้างเดียวพาดไหล่ เช่น นักเรียน นักศึกษาที่ต้องสะพายกระเป๋าหนังสือ คอมพิวเตอร์ หรือในนักดนตรีที่ต้องสะพายกระเป๋ากีตาร์ สะพายเครื่องดนตรี เป็นต้น
- ทำงานที่ต้องเกร็งคอ บ่า แขน เช่น ช่างทำผม ช่างต่อขนตา ช่างสัก ซึ่งต้องเกร็งมือ แขน คอบ่าไหล่ ให้นิ่ง เป็นเวลานาน เป็นอาชีพที่พบอาการออฟฟิศซินโดรมได้มาก และอาการมักรุนแรงกว่าอาชีพอื่นๆ เพราะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่มากที่สุด
บริเวณที่มักมีอาการปวดของโรคออฟฟิศซินโดรม
อาการของออฟฟิศซินโดรม มีอาการหลักๆ คือ ปวดต้นคอ บ่า ไหล่ สะบัก ร่วมกับมีกล้ามเนื้อแข็งเกร็งเป็นก้อน หรือ Trigger point แทรกอยู่บริเวณนั้นๆ หากเป็นเรื้อรัง หรือรุนแรงขึ้นก็อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดแขน ปวดข้อมือ ปวดศีรษะไมเกรน เป็นต้น และหากก้อน trigger point นั้น ไปรบกวนเส้นประสาท ผู้ป่วยอาจเกิดอาการชาแขน ชามือ ชานิ้ว ร่วมด้วย
โดยบริเวณที่มีอาการปวดของออฟฟิศซินโดรม มีดังนี้
อาการออฟฟิศซินโดรมในผู้ที่อาการยังไม่ลุกลาม หรือเพิ่งเริ่มมีอาการ มักมีจุดปวดบริเวณ
- ปวดต้นคอ ทำให้ก้ม เงย เอียง หันศีรษะลำบาก
- ปวดบ่า โดยบ่ามักแข็งเกร็งเป็นก้อน เป็นลำขึ้นมา ทำให้รู้สึกปวดล้า และเป็นจุดปวดของอาการออฟฟิศซินโดรม ที่พบบ่อยที่สุด
- ปวดไหล่ เป็นจุดที่เชื่อมมาจากบ่า ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดไหล่ขณะเคลื่อนไหว หรือขณะเหยียดแขน
- ปวดสะบัก หรือบริเวณหลังส่วนบน โดยมักมีอาการปวดตึง โดยมักจะเป็นการดึงรั้งมาจากบริเวณบ่า และต้นคอ
แต่สำหรับผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมมานาน หรือมีการลุกลาม มักจะมีจุดปวดบริเวณข้างเคียงเพิ่มขึ้นมา ดังนี้
- ปวดขึ้นศีรษะ ปวดไมเกรน ปวดขมับ กระบอกตา ปวดกราม หูอื้อ
- ปวดแขน ปวดข้อศอก ปวดข้อมือ ปวดฝ่ามือ ปวดนิ้วมือ หรือชาแขน ชามือ ชานิ้ว
- ปวดหลัง มักปวดตั้งแต่บริเวณหลังส่วนกลาง จนถึงหลังส่วนล่าง
ประเภทของการนวดแก้อาการออฟฟิศซินโดรม ที่มีในปัจจุบัน
การนวดเป็นวิธียอดนิยมในการบำบัดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ซึ่งการนวดนั้นมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้
1. การนวดแผนไทย หรือการนวดทั่วไปตามร้านนวด จะเป็นการนวดทั่วทั้งร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจนถึงปลายเท้า ลักษณะการนวดจะเป็นการกด รีด รวมถึงมีการบิด ดึง ดัดตัวร่วมด้วย โดยผู้นวดจะใช้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นนิ้ว อุ้งมือ ข้อศอก และเท้าในการนวด วัตถุประสงค์ของการนวดแผนไทยนั้น คือเพื่อช่วยคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น จึงทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายชั่วคราว
2. การนวดน้ำมัน เป็นวิธีการนวดที่คล้ายกับการนวดไทยทั่วไป คือ นวดทั่งทั้งร่างกาย แต่จะแตกต่างกัน โดยมีการใช้น้ำมันทาลงบนผิว และนวดในลักษณะการกดรีดเส้น ด้วยนิ้วมือ อุ้งมือ และข้อศอก ซึ่งน้ำมันที่ใช้นั้นจะช่วยในเรื่องของการผ่อนคลายอารมณ์ และช่วยลดแรงเสียดสีที่ผิวขณะโดนกดคลึง ทำให้การนวดมีความสบาย และอ่อนโยนมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการนวดน้ำมัน คือ เพื่อให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย และช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมเช่นกัน
3. การนวดสวีดิช (Swedish massage) เป็นการนวดสไตล์ยุโรป โดยจะเน้นการนวดตามหลักกายวิภาคศาสตร์ คือ การนวดตามแนวมัดกล้ามเนื้อ ตามทิศทางการไหลเวียนเลือด และระบบน้ำเหลือง โดยการนวดสวีดิชนั้น จะเป็นการนวดในลักษณะเฉพาะคือ
- การลูบ (Effleurage) เป็นการใช้ฝ่ามือลูบวนไปตามกล้ามเนื้อ
- การบีบ (Petrissage) ในลักษณะการใช้นิ้วยกกล้ามเนื้อขึ้นแล้วบีบ
- การทุบ (Tapotement) เป็นการใช้มือตีลงบนกล้ามเนื้อ
- การกด (Friction) ใช้นิ้วมือ หรือข้อศอกกดไปตามกล้ามเนื้อ
- การสั่น (Vibration) เป็นการเขย่ากล้ามเนื้อ
การนวดสวีดิสจะเป็นการนวดที่ลงแรงมากกว่าการนวดทั่วไป เพื่อให้แรงลงไปถึงในมัดกล้ามเนื้อชั้นลึกได้ ซึ่งการนวดอาจมีการใช้น้ำมันนวดร่วมด้วยได้ ประโยชน์ของการนวดแบบสวีดิสนี้ จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด และกระตุ้นการกำจัดของเสียในระบบน้ำเหลืองของร่างกาย
4. การนวดแก้อาการแผนไทย เป็นการนวดรักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยกานนวดในลักษณะนี้ จะกดลึกกว่าการนวดทั่วไป และจะใช้นิ้วหัวแม่มือกดค้างไว้ และปล่อยออกไปตามแนวมัดกล้ามเนื้อที่มีปัญหา การนวดแก้อาการแผนไทยนี้จะช่วยคลายกล้ามเนื้อ และช่วยกระตุ้นการการไหลเวียนเลือดได้ดีกว่าการนวดไทย และการนวดน้ำมัน อย่างไรก็ตามการนวดแก้อาการแผนไทยนี้จะสามารถคลายความปวด เมื่อย ได้เพียงชั่วคราว หรือเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น จะไม่สามารถกำจัดอาการปวดให้ดีขึ้นได้อย่างถาวร รวมถึงไม่สามารถแก้อาการผิดปกติอื่นๆ เช่น อาการชา อาการอ่อนแรง อาการไฟช็อต ได้
5. การนวดแก้อาการด้วยการสลายจุด trigger point จะเป็นการนวดแก้อาการที่เน้นแก้ปัญหาจากต้นเหตุของปัญหาเป็นหลัก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาการปวด ชา ตึง รวมถึงอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อ่อนแรง ไฟช็อต แสบร้อน ดีขึ้นอย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก การนวดสลายจุด trigger point นี้ จะใช้นิ้วมือ ข้อศอก และไม้เล็กๆ คลึงสลาย trigger point ไปตามมัดกล้ามเนื้อที่มีปัญหา เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายจากอาการหดเกร็ง และกลับมามีความยืดหยุ่นเป็นปกติดังเดิม อาการปวดเมื่อย ตึง ชา รวมถึงอาการผิดปกติอื่นๆ จะหมดไป และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต
กลับสู่สารบัญทำไมการนวดแก้อาการ ด้วยการสลาย trigger point ถึงสามารถแก้อาการออฟฟิศซินโดรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนวดด้วยวิธีสลาย trigger point เป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมได้อย่างตรงจุด เนื่องจากปัญหาของโรคออฟฟิศซินโดรมนั้นเกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ สะบักเกิดการเกร็งตัว จนเป็นก้อนแข็ง หรือในทางแพทย์แผนปัจจุบันเรียกว่า trigger point นั่นเอง และจะสามารถสังเกตุได้จากสัมผัสกล้ามเนื้อตรงบริเวณคอ บ่า ไหล่ ว่ามีการแข็งตัวเป็นก้อน เป็นลำ แตกต่างจากกล้ามเนื้อปกติ
โดยตัว trigger point นี้ จะไปบีบรัด และขัดขวางการไหลเวียนเลือด ส่งผลให้เลือด และออกซิเจนไหลเวียนได้ไม่ดี เกิดของเสียคั่งค้างอยู่ภายในเซลล์กล้ามเนื้อของเรา ส่งผลให้มีอาการปวดเกิดขึ้น ฉะนั้นการรักษาด้วยวิธีการนวดสลาย trigger point นี้ จึงเป็นการกำจัดปัญาที่เป็นสาเหตุของโรคโดยตรง เพราะเมื่อ trigger point ถูกสลายออก เลือด และออกซิเจนจะกลับมาไหวเวียนได้ตามปกติ กล้ามเนื้อจะกลับมานิ่ม มีความยืดหยุ่น อาการปวด เมื่อย ตึง จึงหายไปอย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต
การนวดสลาย trigger point นวดอย่างไร
วิธีการนวดสลาย trigger point นั้น จะแตกต่างกับการนวดทั่วไปโดยสิ้นเชิง การนวดรักษาด้วยวิธีการสลาย trigger point นั้น จะใช้นิ้วมือ ข้อศอก และไม้เล็กๆ กดคลึง ตามก้อน trigger point ที่ฝังตัวอยู่ในมัดกล้ามเนื้อทั้งชั้นตื้น และชั้นลึก โดยจะคลึงจนกว่าก้อนที่เกร็งแข็งนี้จะนิ่มตัวลง และสลายตัวออก และจะย้ายตำแหน่งการกดคลึงไปเรื่อยๆ เพื่อสลาย trigger point ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงออกจนหมด
การนวดสลาย trigger point นั้น อาจจะฟังดูเหมือนเป็นวิธีที่ง่าย และไม่มีอะไรซับซ้อน แต่การตรวจจับเพื่อระบุ trigger point ในแต่ละจุดนั้น ต้องอาศัยประสบการณ์ของหมอนวดผู้ทำการรักษาเป็นอย่างมาก เพราะในผู้ป่วยแต่ละคนนั้น ถึงแม้ว่าจะมีอาการคล้ายกัน แต่จะมี trigger point ในบริเวณที่แตกต่างกัน เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีสรีระ และพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อที่ต่างกัน
การนวดสลาย trigger point จะค่อนข้างเจ็บกว่าการนวดทั่วไป เนื่องจากการนวดทั่วไปนั้น ไม่ได้เน้นไปที่การรักษาใดๆ จะเน้นแค่เป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อในชั้นตื้นๆ เท่านั้น แต่การนวดสลาย trigger point นี้จะเน้นไปที่การคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งตัวจนแข็ง ให้คลายตัวออกอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการนวดสลาย trigger point จึงค่อนข้างเจ็บกว่าการนวดทั่วไป อย่างไรก็ตามการนวดรักษาด้วยการสลาย trigger point นั้น ไม่มีการ บิด ดัด ดึง แอ่น หรือกระแทกแต่อย่างใด จึงมีความปลอดภัยสูงต่อสรีระ และร่างกายของผู้ถูกนวด
ตำแหน่งในการนวดรักษาออฟฟิศซินโดรม สามารถแบ่งได้ตามอาการดังต่อไปนี้
1. ปวดคอ บ่า ไหล่
ในการนวดรักษา เราจะนวดไปตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อ ดังต่อไปนี้
- Trapezius เป็นมัดกล้ามเนื้อชั้นตื้นขนาดใหญ่ ที่คลอบคลุมทั้งบริเวณต้นคอ บ่า จนถึงสะบักด้านใน
- Sternocleidomastoid เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของต้นคอ ที่มีหน้าที่ในการหัน เอียงคอ
- Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเชื่อมกับสะบัก
- Supraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณบ่า
2. ปวดคอ บ่า ไหล่ และมีอาการปวดไมเกรนร่วมด้วย
ในการนวดรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ร่วมกับอาการไมเกรน เราจะนวดไปตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อ ดังต่อไปนี้
- Trapezius เป็นมัดกล้ามเนื้อชั้นตื้นขนาดใหญ่ ที่คลอบคลุมทั้งบริเวณต้นคอ บ่า จนถึงสะบักด้านใน
- Sternocleidomastoid เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของต้นคอ ที่มีหน้าที่ในการหัน เอียงคอ
- Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเชื่อมกับสะบัก
- Supraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณบ่า
และเน้นมัดกล้ามเนื้อที่ทำให้มีอาการปวดขึ้นศีรษะ ที่ทำให้มีอาการไมเกรน เช่น ปวดขมับ ปวดกระบอกตา หรือบางรายอาจมีอาการตาพร่า หูอื้อ ปวดชากราม เป็นต้น ซึ่งบริเวณกล้ามเนื้อที่มักพบปัญหา จะเป็นกล้ามเนื้อชั้นลึกบริเวณต้นคอ ฐานกระโหลก ได้แก่
- Semispinalis capitis
- Splenius capitis
- Scalene
3. ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก
ในการนวดรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และ มีอาการปวดสะบักร่วมด้วยนั้น เราจะนวดไปตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อ ดังต่อไปนี้
- Trapezius เป็นมัดกล้ามเนื้อชั้นตื้นขนาดใหญ่ ที่คลอบคลุมทั้งบริเวณต้นคอ บ่า จนถึงสะบักด้านใน
- Sternocleidomastoid เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของต้นคอ ที่มีหน้าที่ในการหัน เอียงคอ
- Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเชื่อมกับสะบัก
- Supraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณบ่า
- Infraspinatus เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่คลุมบริเวณสะบัก
- Rhomboid เป็นกล้ามเนื้อชั้นลึกบริเวณร่องสะบัก ที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอกและกระดูกสะบัก
- Serratus posterior superior เป็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก และกระดูกสะบัก (ตามแนวกระดูกสันหลัง Serratus posterior superior จะถัดขึ้นมาจากกล้ามเนื้อ Rhomboid
4. ปวดคอ บ่า ไหล่ และมีอาการจุกอก หายใจไม่อิ่ม ร่วมด้วย
ในการนวดรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ จุกอก และหายใจไม่อิ่มนั้น เราจะนวดไปตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อ ดังต่อไปนี้
- Trapezius เป็นมัดกล้ามเนื้อชั้นตื้นขนาดใหญ่ ที่คลอบคลุมทั้งบริเวณต้นคอ บ่า จนถึงสะบักด้านใน
- Sternocleidomastoid เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของต้นคอ ที่มีหน้าที่ในการหัน เอียงคอ
- Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเชื่อมกับสะบัก
- Supraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณบ่า
- Infraspinatus เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่คลุมบริเวณสะบัก
- Serratus posterior superior เป็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก และกระดูกสะบัก (ตามแนวกระดูกสันหลัง Serratus posterior superior จะถัดขึ้นมาจากกล้ามเนื้อ Rhomboid
- Rhomboid เป็นกล้ามเนื้อชั้นลึกบริเวณร่องสะบัก ที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอกและกระดูกสะบัก
และเน้นมัดกล้ามเนื้อชั้นลึกบริเวณสะบัก และแนวขอบกระดูกสะบัก รวมถึงช่วงหลังส่วนบน เพราะเป็นกล้ามเนื้อที่ทำให้มีอาการหายใจไม่อิ่ม จุกอก หายใจไม่สะดวกได้
- Iliocostalis-cervical part และ Iliocostalis-thoracis part
5. ปวดคอบ่าไหล่ ร้าวลงแขน ลงข้อมือ นิ้วมือ
สำหรับการนวดรักษา เราจะนวดไปตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อ ดังต่อไปนี้
- Trapezius เป็นมัดกล้ามเนื้อชั้นตื้นขนาดใหญ่ ที่คลอบคลุมทั้งบริเวณต้นคอ บ่า จนถึงสะบักด้านใน
- Sternocleidomastoid เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของต้นคอ ที่มีหน้าที่ในการหัน เอียงคอ
Scalene เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณต้นคอ เป็นกล้ามเนื้อมัดหลัก ที่ทำให้มีอาการปวดร้าวลงแขน - Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเชื่อมกับสะบัก
- Supraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณบ่า
- Infraspinatus เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่คลุมบริเวณสะบัก
และนวดตามแนวมัดกล้ามเนื้อบริเวณแขน จนถึงปลายมือ เช่น
- Biceps brachii กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า
- Triceps brachii กล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง
- Extensor digitorum of hand กล้ามเนื้อแขนท่อนล่าง จนถึงมือ และนิ้วมือ
6. ปวดคอ บ่า ไหล่ และหลัง
สำหรับการนวดรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลังนั้น เราจะนวดไปตามบริเวณมัดกล้ามเนื้อ ดังต่อไปนี้
- Trapezius เป็นมัดกล้ามเนื้อชั้นตื้นขนาดใหญ่ ที่คลอบคลุมทั้งบริเวณต้นคอ บ่า จนถึงสะบักด้านใน
- Sternocleidomastoid เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของต้นคอ ที่มีหน้าที่ในการหัน เอียงคอ
- Levator scapulae เป็นกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอเชื่อมกับสะบัก
- Supraspinatus เป็นกล้ามเนื้อบริเวณบ่า
- Infraspinatus เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่คลุมบริเวณสะบัก
- Rhomboid เป็นกล้ามเนื้อชั้นลึกบริเวณร่องสะบัก ที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก และกระดูกสะบัก
- Serratus posterior superior เป็นกล้ามเนื้อที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังส่วนอก และกระดูกสะบัก (ตามแนวกระดูกสันหลัง Serratus posterior superior จะถัดขึ้นมาจากกล้ามเนื้อ Rhomboid
และเน้นมัดกล้ามเนื้อชั้นลึกบริเวณหลัง ที่เชื่อมตั้งแต่หลังส่วนบนจนถึงหลังส่วนล่าง คือ
- Iliocostalis thoracis และ Longissimus thoracis
รีวิวผลการรักษาออฟฟิศซินโดรม ด้วยวิธีนวดสลาย Trigger point
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ด้วยการนวดสลาย trigger point
ก่อนตัดสินใจรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ด้วยการนวดแก้อาการสลาย trigger point นั้น ผู้ป่วยควรทำการศึกษาและทำความเข้าใจกับวิธีการรักษา และข้อพึงระวังต่างๆ ให้ละเอียดเสียก่อน เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถคลิกอ่านได้ที่นี่
กลับสู่สารบัญบทส่งท้าย
ออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นหลัก ซึ่งในผู้ที่เพิ่งเริ่มเป็นในระยะแรก จะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สะบักเพียงเล็กน้อย ซึ่งหากเพิ่งเริ่มมีอาการในช่วงนี้ คำแนะนำคือ ให้พยายามปรับท่านั่ง นั่งทำงานให้ถูกท่า หมั่นลุก หรือเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ อย่างน้อยทุก 1 ชม. รวมถึงหมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ สะบัก เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น และไม่เป็นเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
แต่สำหรับผู้ที่มีอาการปวดรุนแรง หรือมีอาการสะสมเรื้อรังมานาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการยืดเหยียดกล้ามเนื้ออาจจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นนัก เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณ คอบ่าไหล่ ได้มีการหดเกร็งตัวมากเกินกว่าที่การยืดเหยียดจะทำให้คลายได้ ดังนั้นจึงควรรีบรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้อง และตรงจุด
เพื่อให้ไม่เสียเวลาในการรักษาแบบผิดๆ ถูกๆ และทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่เห็นผล เพราะถ้ายิ่งปล่อยไว้นาน อาการมักจะทรุดลงจนอาจกลายเป็นภาวะ หมอนรองกระดูกคอทรุด หรือเสื่อมได้ ซึ่งจะมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วยเช่น อาการชาลงแขน ชาลงมือ อาการแขนอ่อนแรง เป็นต้น ซึ่งจะรักษายากขึ้นกว่าเดิม และอาจจะต้องถึงขั้นผ่าตัดได้