ประวัติการเจ็บป่วย
ผู้ป่วยหญิงอายุ 70 ปี ทำอาชีพขายขนม ทำเบเกอร์รี่ จึงมีการใช้ข้อมือค่อนข้างหนักมานานหลายปี ทำให้มีอาการเมื่อยข้อมือมานาน จนไปล้มแล้วใช้มือยันรับการกระแทก จึงทำให้มีอาการ
- ปวดข้อมือ ข้อมือบวม ปวดลามเข้านิ้วโป้ง
- กระดกข้อมือขึ้น-ลงจะเจ็บ
- ทำให้ใช้งานข้อมือไม่ค่อยได้ ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน
ผู้ป่วยได้ไปรักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แนะนำให้ฉีดสเตียรอยด์ก่อน หากอาการไม่ดีขึ้น ก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป เมื่อผู้ป่วยได้ฉีดเสตียรอยด์แล้วอาการดีขึ้นได้ประมาณ 2-3 เดือน และกลับมาปวดใหม่อีกครั้ง เนื่องจากหมดฤทธิ์ยา แพทย์จึงแนะนำให้ผ่าตัดตาม
แต่ผู้ป่วยไม่อยากผ่าตัด จึงไม่ได้กลับไปรักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน และใช้วิธีบรรเทาอาการปวดด้วยการแช่มือในน้ำอุ่น ทำกายภาพบำบัด และทานยาแก้ปวด ซึ่งก็ยังมีอาการปวดรบกวนชีวิตประจำวันอยู่มาก จึงค้นหาวิธีรักษาทางเลือกจนกระทั่งมาเจอชนัชพันต์คลินิก ผู้ป่วยอ่านข้อมูลจนเข้าใจ และตัดสินใจมารักษา โดยมีอาการเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
- หลังจากรักษาครั้งที่ 1 : อาการดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ปวดเบาลงประมาณ 10%
- หลังจากรักษาครั้งที่ 2 : ปวดเป็นบางครั้ง ไม่ปวดตลอดเวลาเหมือนเดิม เริ่มใช้ข้อมือได้คล่องขึ้น
- หลังจากรักษาครั้งที่ 3 : อาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาการปวดน้อยลง ใช้งานข้อมือได้มากขึ้น
- จนกระทั่งหลังจากรักษาครั้งที่ 4 : อาการดีขึ้นได้มากกว่า 95% ไม่ปวดข้อมือแล้ว ทำงาน/ทำขนมได้ปกติ ใช้งานข้อมือในชีวิตประจำวันได้ปกติ
และหลังจากการรักษาไป 4 ครั้ง ผู้ป่วยอาการหายไปนานกว่า 1 ปี จนกระทั่งได้แอดมิทเข้าโรงพยาบาลด้วยการเจ็บป่วยอื่นๆ และโดนแทงเข็มน้ำเกลือเข้าเส้นเลือด (บริเวณหลังฝ่ามือ) ทำให้เกิดการอักเสบลามเข้าข้อมืออย่างรุนแรง ส่งผลให้ข้อมือบวม ไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ ผู้ป่วยจึงกลับมารักษาที่ชนัชพันต์คลินิกอีกครั้ง
การรักษาในครั้งหลังนี้ ผู้ป่วยได้มารักษาต่อเนื่องอยู่อีก 3-4 ครั้ง เนื่องจากเส้นประสาทบริเวณข้อมือเกิดการอักเสบค่อนข้างหนัก และได้ลุกลามเข้าฝ่ามือ และแขน ปัจจุบันมีอาการดีขึ้นเกือบ 100% แต่ยังคงมีอาการเมื่อยขัดข้อมืออยู่บ้างหากต้องใช้งานข้อมือหนักๆ แต่เมื่อพักการใช้งานอาการเหล่านี้ก็หายไปเอง
กลับสู่สารบัญตำแหน่งที่พบปัญหา
อาการของผู้ป่วยในเคสนี้เป็นอาการเอ็นข้อมืออักเสบ ซึ่งพบการอักเสบหลายจุด เนื่องจากการอักเสบลามไปบริเวณข้างเคียงทั้งบริเวณข้อมือ ฝ่ามือ และแขน โดยจุดหลักที่มีการอักเสบสามาถแบ่งได้ดังนี้
1. จุดอักเสบบริเวณข้อมือ
- Extensor retinaculum หรือปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ มีการอักเสบ บวม ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ
- Dorsal intercarpal ligament เป็นจุดที่มีการอักเสบบริเวณที่มีการแทงเข็มน้ำเกลือ
- Extensor pollicis brevis เกิดการปวดลามเข้านิ้วโป้ง ฝ่ามือ
2. บริเวณอื่นที่มีการอักเสบลาม
กล้ามเนื้อกลุ่ม Extensor ทำหน้าที่ในการเหยียดแขน และการเคลื่อนไหวข้อมือ เช่น กระดกข้อมือ บิดข้อมือออก
- Extensor carpi radialis longus
- Extensor carpi radialis brevis
- Extensor digitorum conmunis
- Extensor carpi ulnaris
กล้ามเนื้อกลุ่ม Flexor ทำหน้าที่ในการงอข้อมือ และแบมือ เป็นต้น
- Flexor carpi ulnaris
- Flexor digitorum superficialis
- Flexor carpi radialis
รีวิวการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม
ทำไมการนวดสลายพังผืด จึงสามารถรักษาอาการปวดข้อมือได้อย่างเห็นผล
อาการเอ็นข้อมืออักเสบ หรือ De quervain’s disease เกิดจากปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ มีการบวมจนไปกดเบียดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ทำให้มีอาการปวดข้อมือ โดยเฉพาะด้านนิ้วโป้ง ปวดลามเข้าฝ่ามือ และมักจะมีอาการชา หรืออ่อนแรงของมือร่วมด้วยได้
ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากการใช้งานข้อมือที่มากเกินไป ไม่ว่าจะเป็น การใช้งานข้อมือที่มีการหมุน บิด การอุ้มลูกเล็กในคุณแม่หลังคลอด หรือแม้กระทั่งการใช้งานมือถือนานๆ เป็นต้น จนเกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวด บวม และเกิดเป็นพังผืดตามมา
พังผืดนี้เองที่เข้าไปยึดเกาะเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือ ขัดขวางไม่ให้เลือดสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงเนื้อเยื่อในบริเวณนั้นๆ ได้สะดวก ทำให้การอักเสบยังคงค้างอยู่ภายใน ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดเรื้อรัง หรือปวดเป็นๆ หายๆ ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ พังผืดนี้จะลุกลามไปบริเวณข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวด และอักเสบ ลามไปบริเวณรอบๆ
และหากพังผืดเข้าไปยึดเกาะภายในข้อต่อ จะทำให้เกิดภาวะข้อติด ส่งผลให้การเคลื่อนไหวข้อมือมีปัญหา เช่น กระดกข้อมือขึ้น-ลง บิดข้อมือเข้า-ออก การกำ-แบมือในผู้ป่วยบางเคสอาจเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หยิบจับของหลุดมือ หรือในผู้ที่มีพังผืดไปเกาะบริเวณเส้นประสาท ทำให้มีการอักเสบของเส้นประสาทร่วมด้วย อาจเกิดอาการบวม ชา แสบร้อน ยิบๆ ที่ฝ่ามือด้วย
ดังนั้นการรักษาที่ตรงจุดที่สุด คือการกำจัดพังผืดที่ยึดเกาะเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือออก เพราะเมื่อพังผืดถูกสลายไป กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อก็จะกลับมามีสุขภาพที่ดีดังเดิม เลือดจะสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือได้สะดวก อาการปวด บวม ชา แสบร้อนก็จะหายไป การเคลื่อนไหวของข้อมือก็จะกลับมาเป็นปกติ ไม่ติดขัด ไม่เจ็บขญะเคลื่อนไหวข้อมือ
เพราะฉะนั้นการรักษาด้วยการนวดสลายพังผืด จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถรักษาอาการปวดข้อมือ เอ็นข้อมืออักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยรักษาจากต้นเหตุหลักที่แท้จริง ทำให้อาการดีขึ้นได้อย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีกในอนาคต แต่จะเหมาะกับผู้ที่ทนเจ็บได้เท่านั้น
เพราะขณะทำการนวดสลายพังผืดออกผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บค่อนข้างมาก แต่เมื่อพังผืดสลายออกแล้วจะรู้สึกเบาลง ในผู้ป่วยที่ทนความเจ็บได้ การรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืดถือเป็นการรักษาที่ตอบโจทย์ และคุ้มค่า เพราะสามารถแก้ปัญหาของโรคได้อย่างยั่งยืนถาวร
ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด
การนวดสลายพังผืดเป็นการนวดเพื่อกำจัดพังผืดออก ซึ่งตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า อาการปวดข้อมือ หรือ เอ็นข้อมืออักเสบนั้นเกิดจากมีพังผืดไปยึดเกาะกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น รวมถึงระหว่างข้อต่อ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และเส้นประสาทไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงเกิดเป็นอาการปวดข้อมือ ชามือ หรือมืออ่อนแรงได้
ดังนั้นการรักษาที่ตรงจุดคือการกำจัดพังผืดออก โดยปัจจุบันจะมีการผ่าตัดเพื่อเลาะพังผืดออกโดยตรง หรือการรักษาทางเลือกอย่างการนวดสลายพังผืด ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น และหากผู้ป่วยต้องการจะเข้ารักษาด้วยการนวดสลายพังผืด ผู้ป่วยควรพิจารณาปัจจัยให้รอบด้าน เนื่องจากทุกการรักษามีข้อจำกัด และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ป่วยสามารถอ่านรายละเอียดการนวดสลายพังผืดเพิ่มเติมได้ที่ ข้อควรรู้ก่อนการรักษาด้วยวิธีสลายพังผืด
รีวิวการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม
บทสรุป
ปัจจุบันอาการปวดข้อมือพบมากขึ้น โดยเฉพาะงานที่ใช้ข้อมือเยอะ เช่น การใช้ข้อมือกระดกกะทะ การใช้ข้อทำขนนม การอุ้มลูกในคุณแม่หลังคลอด การใช้งานข้อมือในการทำงานศิลปะ การใช้ข้อมือในการเล่นกีฬา เช่น บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล หรือแม้กระทั่งการบิดคันเร่งมอเตอร์ไซด์ การกำคลัช กำเบรคอยู่เป็นระยะเวลานานๆ เป็นต้น รวมถึงอุบัติเหตุต่างๆ เช่น การหกล้มโดยใช้ข้อมือยันพื้น
โดยพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลให้ข้อมือถูกใช้งานหนักเกินไป จนเกิดการบาดเจ็บได้ และเมื่อมีการอักเสบของเนื้อเยื่อบริเวณข้อมือแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้ หรือไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ การอักเสบจะลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ เช่น ฝ่ามือ นิ้วมือ บางรายอาจมีอาการปวดลามเข้าข้อศอก ทำให้มีภาวะเอ็นข้อศอกอักเสบร่วมด้วย หรือบางรายที่มีอาการสะสมมานานมากๆ อาจมีการลุกลามขึ้นถึงต้นคอ บ่า ได้
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าอาการปวดข้อมือนั้น อาจดูเป็นเพียงอาการเล็กน้อย แต่การปล่อยทิ้งไว้ หรือการไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะกลายเป็นปัญหาที่ลุกลามหนักขึ้นได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาที่หนักขึ้นในอนาคต