บอกลาอาการปวด รีวิวการรักษาอาการปวดสลักเพชรร้าวลงขา ไม่ต้องผ่าตัด

สลักเพชร

ประวัติการเจ็บป่วย

จากประวัติคุณนิลาวัลย์ อายุ 30 ปี มีอาการปวดปวดสลักเพชรร้าวลงขาข้างขวา มีอาการมาประมาณ 10 เดือน จากการเปลี่ยนเก้าอี้ทำงานแล้วอาจไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดช่วงบั้นเอว สะโพก สลักเพชร เจ็บแบบจี๊ดๆ ร้าวลงขาถึงปลายเท้า ข้างขวา เมื่อก้มตัวจะปวดหลังล่าง และสะโพก หากผู้ป่วยนั่งนานๆ จะมีอาการปวดบริเวณบั้นเอว นอนราบไม่ได้ ต้องนอนตะแคง และใช้หมอนรองเพื่อลดอาการปวดหลังล่าง

ซึ่งจะขอสรุปอาการของผู้ป่วย ดังนี้

  • ปวดสลักเพชร ข้างขวา
  • ปวดเอว ปวดสะโพกข้างขวา
  • ปวดร้าวลงขาถึงปลายเท้าขวา
  • ถ้านั่งนานจะมีอาการปวดหลังและสะโพกขวา
  • เมื่อก้มตัวจะมีอาการปวดบริเวณบั้นเอว
  • นอนหงายไม่ได้จะปวดสะโพก สลักเพชร และเอวมาก
  • เวลานอนตะแคง จะต้องใช้หมอนรองเพื่อลดอาการปวดเอว

ผู้ป่วยมารักษากับชนัชพันต์คลินิกเนื่องจากมีคนแนะนำให้รู้จัก ผู้ป่วยจึงได้ศึกษาข้อมูล และวิธีการรักษา และตัดสินใจมาเข้ารับการรักษา โดยมีอาการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หลังเข้ารับการรักษาครั้งที่ 2 :

  • ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ประมาณ 1 ปี 3 เดือน
  • อาการปวดสลักเพชร ปวดสะโพก ปวดบั้นเอวขวาหายไป
  • ไม่ปวดร้าวลงปลายเท้าขวาแล้ว
  • เวลานั่งนานไม่มีอาการปวดหลังและสะโพกขวา
  • เมื่อก้มตัวไม่มีอาการปวดเอว
  • สามารถนอนหงาย และนอนตะแคงได้โดยไม่มีอาการปวด
กลับสู่สารบัญ

ตำแหน่งกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่พบปัญหาจากอาการปวดสลักเพชรร้าวลงขาข้างขวา

ในเคสนี้ อาการปวดสลักเพชรร้าวลงขาเกิดขึ้นจากการนั่งเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณสลักเพชร สะโพก และเอว เกิดการตึงเกร็งจนเริ่มมีพังผืดมาเกาะรัดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ จนเลือดไม่สามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงได้เต็มที่ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อยสลักเพชร สะโพก เอว เป็นๆ หายๆ ไม่หายขาด

และเมื่อพังผืดเริ่มเกาะลุกลามขยายออกไปมากขึ้น อาจไปเบียด หรือรบกวนเส้นประสาทบริเวณรอบข้าง ซึ่งมักจะเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงลงขา ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ เช่น ปวดร้าวลงขา หรือปลายเท้า แปล็บลงขา ไฟช็อตลงขา ขาชา เท้าชา ขาอ่อนแรง ขา หรือเท้ามีอาการยิบๆ หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ เป็นต้น ซึ่งในเคสของผู้ป่วยท่านนี้ คืออาการปวดร้าวลงปลายเท้า

ซึ่งจะขออธิบายตำแหน่งของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่ส่งผลต่ออาการปวดสลักเพชรร้าวลงขา ดังนี้

1. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก

1.1.กล้ามเนื้อ Gluteus maximus

1.2.กล้ามเนื้อ Gluteus medius

1.3.กล้ามเนื้อ Piriformis(สลักเพชร)

2. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณขา

2.1 กล้ามเนื้อขา ท่อนบน

2.1.1. กล้ามเนื้อ hamstring tendonitis (HS)

2.1.2. กล้ามเนื้อ Iliotibial Band (ITB)

2.2.กลุ่มกล้ามเนื้อขาท่อนล่าง

2.2.1. กล้ามเนื้อ Gastrocnemius

2.1.2. กล้ามเนื้อ Iliotibial Band (ITB)

3. เส้นประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.1.เส้นประสาท Sciatic nerve

1. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ได้แก่

1.1. กล้ามเนื้อ Gluteus maximus

เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณก้น และสะโพก ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มกล้ามเนื้อ Gluteus มีหน้าที่ในการยึดต้นขา และข้อสะโพกเข้าด้วยกัน ช่วยในการยืดเหยียด และหมุนต้นขา

ซึ่งหากกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา หรือมีอาการตึงเกร็ง จะส่งผลให้เกิดอาการปวดตึงบริเวณก้น หรือ สะโพก

1.2. กล้ามเนื้อ Gluteus medius

เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณสะโพก และบั้นเอว มีหน้าที่ในการกางขาออกด้านข้าง อีกทั้งยังช่วยในการหมุนต้นขาเข้า-ออก อีกด้วย

ซึ่งหากกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา หรือมีอาการตึงเกร็ง จะส่งผลให้เกิดอาการปวดตึงบริเวณสะโพก หรือช่วงบั้นเอว

1.3. กล้ามเนื้อ Piriformis (สลักเพชร)

เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณก้น และสะโพกมัดลึก หรือที่เรียกกันว่า “สลักเพชร” อยู่บริเวณใต้กล้ามเนื้อสะโพก มีหน้าที่ช่วยในการขยับ หมุน และยก ข้อสะโพก ซึ่งมีส่วนช่วยในการก้าวเดิน

ซึ่งหากกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดอาการตึงเกร็ง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดเมื่อย หรือที่เรียกว่า ปวดสลักเพชร และหากกล้ามเนื้อมัดนี้ตึงเกร็งจนไปกดทับ หรือรบกวนเส้นประสาท Sciatic nerve จะส่งผลให้เกิดอาการปวดร้าวลงขา หรือที่เรียกว่า ปวดสลักเพชรร้าวลงขา

2. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณขา ได้แก่

2.1 กล้ามเนื้อขา ท่อนบน

2.1.1. กล้ามเนื้อ hamstring tendonitis (HS) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาด้านหลัง ตั้งแต่กระดูกสะโพกลากผ่านต้นขาไปจนถึงก่อนข้อพับเข่า ช่วยในการกางขา และหมุนข้อสะโพก หากกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดการตึงเกร็ง จะส่งผลให้เกิดอาการตึงบริเวณต้นขาด้านหลัง

2.1.2. กล้ามเนื้อ Iliotibial Band (ITB) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาด้านข้าง ตั้งแต่กระดูกสะโพกลากผ่านต้นขาไปจนถึงเข่าด้านนอก มีหน้าที่ในการยืด และงอเข่า ซึ่งมีความสำคัญมากในการเดิน และวิ่ง

หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณต้นขาด้านข้างลำตัว รวมถึงหัวเข่าด้านนอก

2.2. กลุ่มกล้ามเนื้อขาท่อนล่าง

2.2.1. กล้ามเนื้อ Gastrocnemius

เป็นกล้ามเนื้อขาท่อนล่างบริเวณน่อง เป็นกล้ามเนื้อที่มีส่วนสำคัญในการเดิน และการยืนในท่าทางต่างๆ หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณน่องได้

2.2.2. กล้ามเนื้อ Achilles tendon

เป็นเส้นเอ็นที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อน่องไปจนถึงส้นเท้า มีหน้าที่ในการช่วง เดิน วิ่ง และกระโดด หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการตึงบริเวณขาท่อนล่าง

3. เส้นประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

3.1. เส้นประสาท Sciatic nerve

เป็นเส้นประสาทที่อยู่บริเวณสะโพกไปจนถึงปลายเท้า มีหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณสะโพกไปจนถึงปลายเท้า

หากเส้นประสาทถูกรบกวน หรือกดทับ จะส่งผลให้เกิดการปวด ชา หรือ ไฟช็อต ร้าวลงขาถึงปลายเท้า

กลับสู่สารบัญ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดสลักเพชรร้าวลงขา

อาการปวดสลักเพชรร้าวลงขา มักเริ่มต้นจากการที่กล้ามเนื้อ บริเวณสลักเพชร และสะโพก เกิดการเกร็งตัวเป็นระยะเวลานานๆ หรือเกิดการบาดเจ็บ จนเกิดพังผืดมาเกาะรัดกล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ ทำให้อาการเกร็งตัวไม่คลายออก และทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อได้เต็มที่ เกิดเป็นการอักเสบขึ้นอยู่ด้านในลึกๆ ตลอดเวลา ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดเป็นๆ หายๆ รักษาไม่หายขาด

และหากพังผืดที่เกาะรัดนั้นได้ลุกลามไปรบกวน หรือหนีบโดนเส้นประสาท Sciatic nerve ที่อยู่บริเวณรอบข้าง ก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทลงขา และเท้า ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดลงขา ชาลงขา ชาเท้า หรืออาการแปล็บลงขา เป็นต้น

ซึ่งสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก และสลักเพชร เกิดการบาดเจ็บ และเกร็งตัวจะมีหลักๆ ดังต่อไปนี้

1. การอยู่ในท่าทางที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ หรือทำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น

  • การนั่งทำงานท่าเดิมต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง
  • การนั่งไขว่ห้าง, นั่งพับเพียบ เป็นระยะเวลานาน
  • การนั่งทับกระเป๋าสตางค์บ่อยๆ

ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลให้กล้ามเนื้อสลักเพชร และกล้ามเนื้อสะโพกเกิดการเกร็งตัว และบาดเจ็บ ร่างกายจะเริ่มสร้างผังผืดมาเกาะบริเวณเนื้อเยื่อที่เกิดอาการบาดเจ็บ ผลที่ตามมาคือกล้ามเนื้อจะเกิดการเกร็งตัวมากขึ้น ไม่คลายออก เกิดการอักเสบขึ้นด้านใน เนื่องจากพังผืดจะไปกันขวางไม่ให้สารอาหาร และออกซิเจนสามรถไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ กล้ามเนื้อสลักเพชรจึงเกิดอาการปวดขึ้น หากปล่อยทิ้งไว้จนไปกดทับเส้นประสาท ก็จะส่งผลให้เกิดอาการร้าชาลงขาถึงปลายเท้าได้

2. การได้รับอุบัติเหตุ เช่นการถูกกระแทก หรือ การล้มก้นกระแทกพื้น

การประสบอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ที่ทุกคนมองข้าม ซึ่งแม้ว่าจะได้รับการ x-ray หรือ MRI และวินิจฉัยว่าไม่มีความผิดปกติอะไร แต่จริงๆ แล้ว กล้ามเนื้อบริเวณสะโพก และสลักเพชรอาจได้รับแรงกระแทก และเกิดการบาดเจ็บไปแล้ว เพียงแต่ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว ซึ่งในเวลาต่อมาร่างกายจะสร้างพังผืดมาเกาะรัดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ไปเรื่อยๆ จนผู้ป่วยเริ่มรู้สึก ตึง เมื่อย และปวดสลักเพชรเป็นๆ หายๆ ในที่สุด

3. การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือจากการเล่นกีฬา เช่น

  • การทำท่าสควอช (Squat) ผิดท่า จนทำให้กล้ามเนื้อสะโพกเกิดการตึงเกร็ง
  • การยกน้ำหนัก ในบางครั้ง ผู้ป่วยอาจยกน้ำหนักมากเกินไป หรือยกไม่ถูกท่า ทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณหลัง และสะโพกได้

เมื่อเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง และสะโพกขณะออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ จะเกิดการอักเสบ และเกร็งตัวขึ้น หากไม่รีบแก้ไข ร่างกายจะมีการสะสมอาการบาดเจ็บไปเรื่อยๆ และจะเริ่มสร้างพังผืดมาเกาะบริเวณที่มีการบาดเจ็บ ซึ่งหากปล่อยไว้จนพังผืดลุกลามไปเบียด หรือรบกวนเส้นประสาทที่เลี้ยงลงขา และเท้า ผู้ป่วยจะมีอาการปวดสะโพก สลักเพชร ร้าวลงขาถึงปลายเท้า

4. การยกของที่หนักเกินไป หรือการยกของผิดจังหวะ

การยกของที่หนักมากๆ หรือยกของผิดท่า ผิดจังหวะ หรือการยกของหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ มักจะส่งผลให้กล้ามเนื้อสลักเพชร และสะโพกเกิดอาการเกร็งตัว และบาดเจ็บขึ้น ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดขึ้นมาเกาะคลุมบริเวณที่บาดเจ็บ เลือดจะไม่สามารถนำสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณนั้นๆ ได้เต็มที่ ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณสลักเพชร และสะโพกนั้นอักเสบอยู่ข้างใน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดสลักเพชรเป็นๆ หายๆ ซึ่งหากพังผืดไปกดทับเส้นประสาท จะส่งผลให้เกิดอาการปวด สลักเพชรร้าวลงขาได้

กลับสู่สารบัญ

ทำไมการนวดสลายพังผืด จึงสามารถรักษาอาการปวดสลักเพชรร้าวลงขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากหัวข้อก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่า หากกล้ามเนื้อสลักเพชร และสะโพก เกิดอาการบาดเจ็บและเกร็งตัวอยู่เป็นระยะเวลานานจนเกิดมีพังผืดไปเกาะ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดสลักเพชร และสะโพก เป็นๆ หายๆ อยู่ตลอด และเมื่อใดก็ตามที่พังผืดได้ลุกลามไปเบียด หรือไปรบกวนเส้นประสาทที่เลี้ยงลงสะโพก ขา และเท้า ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ ซึ่งในผู้ป่วยเคสนี้ คืออาการปวดสลักเพชรร้าวลงขา เป็นต้น

ดังนั้นวิธีที่จะสามารถรักษาอาการปวดสลักเพชรร้าวลงขาได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเป็นวิธีที่กำจัดพังผืด ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวดสลักเพชรร้าวลงขาได้ และด้วยวิธีนวดแก้อาการของทางคลินิกนั้น จะโฟกัสการนวดไปที่การสลายพังผืดบริเวณกล้ามเนื้อสะโพก และสลักเพชร รวมไปถึงเนื้อเยื่อรอบข้อสะโพกที่ถูกพังผืดรัดจนไปกดทับเส้นประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดสลักเพชรร้าวลงขา

นอกจากนี้จะต้องนวดสลายอาการเกร็งตามแนว สะโพก ขา และข้อเท้า ที่เกิดจากการที่เส้นประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณมาเลี้ยงได้เต็มที่ เนื่องจากถูกกล้ามเนื้อสะโพก และสลักเพชรไปกดทับ หรือรบกวน

ซึ่งการนวดด้วยวิธีนี้จะเป็นการแก้ไขอาการที่ตรงจุดและแม่นยำ ให้ผลที่รวดเร็ว และชัดเจน โดยไม่ต้องผ่าตัด

โดยเมื่อพังผืดถูกสลายออกแล้ว กล้ามเนื้อสลักเพชรก็จะคลายตัวอย่างถาวร เลือดก็จะสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อได้ตามปกติ พังผืดที่เคยไปกดทับ หรือรบกวนเส้นประสาทก็จะถูกคลายออก อาการปวดสลักเพชรร้าวลงขาก็จะหายไป ผู้ป่วยก็จะกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และจะไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต สามารถกลับไปออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้เต็มที่ โดยไม่มีข้อห้าม หรือข้อจำกัดใดๆ

กลับสู่สารบัญ

ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด

การนวดสลายพังผืด เป็นวิธีการนวดแก้อาการด้วยศาสตร์เฉพาะของทางคลินิก ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดไทยทั่วไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการรักษาของทาง ชนัชพันต์คลินิก จะเน้นกำจัดสาเหตุหลักของอาการปวดสลักเพชรร้าวลงขา ได้อย่างถาวร

อย่างไรก็ตามการรักษานี้ ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความเจ็บขณะนวด ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทนต่อความเจ็บได้ระดับหนึ่ง ซึ่งหากผู้ป่วยสามารถทนเจ็บได้มาก คุณหมอจะสามารถสลายพังผืดออกได้มาก ทำให้สามารถเห็นผการรักษาที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจนในระยะเวลาอันรวดเร็ว

นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่จะบอกได้ว่าผู้ป่วยจะหายเร็ว หรือช้านั้น คือระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการมา ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการแล้วรีบมารักษา การรักษาจะง่าย และเห็นผลค่อนข้างไว แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง หรือปล่อยให้มีอาการเป็นๆ หายๆ มาหลายครั้งโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาก็จะยาก และกินเวลานานหลายครั้ง

สำหรับผู้ป่วยที่สนใจมารักษาสามารถอ่านข้อพึงระวังในการรักษาด้วยวิธีสลายพังผืด ได้ที่นี่ สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีนวดแก้อาการสลายพังผืด

กลับสู่สารบัญ

บทส่งท้าย

อาการปวดสลักเพชรร้าวลงขา สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการทำกิจกรรมต่างๆ หรือกิจวัตรประจำวัน ที่ทำให้กล้ามเนื้อหลัง และสะโพกเกิดการเกร็งตัว แข็งตึง และอักเสบต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรืออาจเกิดได้การอุบัติเหตุการยกของผิดจังหวะ การล้ม การกระแทกก็ได้

ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ พังผืดจะถูกสลายออกได้ง่าย และเร็ว อาการปวดสลักเพชรร้าวลงขาจะดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่หากผู้ป่วยปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา หรือรักษาโดยไม่ตรงจุดไปเรื่อยๆ อาการปวดจะเริ่มทรุดหนักลง ซึ่งจะต้องระยะเวลาในการรักษานานกว่า และได้ผลช้ากว่าอาการปวดสลักเพชรทั่วๆ ไป

ซึ่งหากผู้ป่วยเข้าใจในหลักการการรักษา และมารักษาจนพังผืดสลายออกได้หมด ก็มักจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคตเช่นกัน