ผลการรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ด้วยวิธีนวดสลายพังผืด

ปวดสะโพกร้าวลงขา รักษา

ประวัติการเจ็บป่วย

จากประวัติคุณวริษฐ์ อายุ 37 ปี มีอาการปวดสะโพกทั้ง 2 ข้าง และเป็นหนักข้างขวา ผู้ป่วยมีอาการปวดมาประมาณ 10 ปี คาดว่าเกิดจากการยกของหนักจนหลังยอก อีกทั้งผู้ป่วยมักนั่งทำงานท่าเดิมเป็นเวลานาน จากการทำธุรกิจส่วนตัว จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพก มีอาการร้าวลงขาทั้ง 2 ข้าง ร่วมด้วย ซึ่งจะขอสรุปอาการของผู้ป่วยมี ดังนี้

  • ปวดสะโพกทั้ง 2 ข้าง หนักขวา
  • ปวดร้าวลงขาทั้ง 2 ข้าง หนักขวา
  • ปวดมากเมื่อนั่ง หรือยืนเป็นระยะเวลานาน

ในระหว่างนั้น ผู้ป่วยก็เคยเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการ

  • นวดแผนไทยรักษาทั่วไป ซึ่งหลังเข้ารับการรักษา อาการปวดดีขึ้นบ้างแต่ไม่หายขาด

ผู้ป่วยจึงได้ลองค้นหาวิธีการรักษาแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ใน Google ที่สามารถรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้ จนมาเจอกับ ชนัชพันต์คลินิก จึงได้ตัดสินใจมาเข้ารับการรักษา โดยมีอาการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หลังเข้ารับการรักษาไป 4 ครั้ง :

  • ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเกือบ 100 %
  • อาการปวดสะโพก ทั้ง 2 ข้าง หายไป
  • ไม่มีอาการปวดร้าวลงขา ทั้ง 2 ข้างแล้ว
  • ไม่ปวดเมื่อนั่ง หรือยืนเป็นระยะเวลานานๆ
กลับสู่สารบัญ

ตำแหน่งกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่พบปัญหาจากอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

อาการปวดสะโพกร้าวลงขานั้น มักมีต้นเหตุหลักมาจากกล้ามเนื้อบริเวณหลังช่วงล่าง ก้นกบ และบริเวณสะโพก เกิดอาการบาดเจ็บจนมีพังผืดมาเกาะรัด จนไปเบียด หรือรบกวนเส้นประสาทรอบข้างที่เลี้ยงลงขา ทำให้เส้นประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาได้เต็มที่ กล้ามเนื้อขาจึงเกิดอาการล้า ตึงเกร็ง ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

ซึ่งจะขออธิบายตำแหน่งของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่ส่งผลต่ออาการสะโพกร้าวลงขา ดังนี้

1. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ได้แก่

1.1. กล้ามเนื้อ Gluteus medius

1.2. กล้ามเนื้อ Piriformis

2. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณขา ได้แก่

2.1. กลุ่มกล้ามเนื้อ Quadriceps muscles

2.2. กลุ่มกล้ามเนื้อ Hamstring

2.3. กล้ามเนื้อ Tibialis Anterior

2.4. กล้ามเนื้อ Gastrocnemius

3. เส้นประสาท Sciatica Nerve

1. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ได้แก่

1.1. กลุ่มกล้ามเนื้อ Gluteus medius

เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณก้น และสะโพก ทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่ในการยึดต้นขา และข้อสะโพกเข้าด้วยกัน ช่วยในการยืดเหยียด และหมุนต้นขาบริเวณข้อสะโพก

ซึ่งหากกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดตึงบริเวณสะโพก ปวดหน่วงๆ บริเวณขอบเอว และอาจเกิดเป็นก้อนแข็งไตๆ บริเวณนี้ได้

1.2. กล้ามเนื้อ Piriformis

เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณก้น และสะโพกมัดลึก ตรงกับบริเวณสลักเพชร อยู่บริเวณใต้กล้ามเนื้อสะโพก มีหน้าที่ช่วยในการขยับ หมุน และยก ข้อสะโพก ซึ่งมีส่วนช่วยในการก้าวเดิน

ซึ่งหากกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะทำให้กล้ามเนื้อมัดนี้ตึงเกร็ง และอาจไปกดทับ หรือรบกวนเส้นประสาท Sciatic nerve ส่งผลให้เกิดอาการปวดก้น/สะโพก ร้าวลงขาได้

2. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณขา ได้แก่

2.1. กลุ่มกล้ามเนื้อ Quadriceps muscles

กลุ่มกล้ามเนื้อ Quadriceps muscles เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาด้านหน้า ซึ่งมีกล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกันอยู่ 4 มัด ได้แก่

  • กล้ามเนื้อ Rectus femoris
  • กล้ามเนื้อ Vastus intermedius
  • กล้ามเนื้อ Vastus lateralis
  • กล้ามเนื้อ Vastus medialis

กลุ่มกล้ามเนื้อ Quadriceps muscles มีหน้าที่ ช่วยในการเหยียด และงอขาบริเวณข้อสะโพกด้านหน้า และเป็นกลุ่มมัดกล้ามเนื้อที่มีความสำคัญ ในการ เดิน และวิ่ง

หากกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดต้นขา ลงน้ำหนักที่ขามากไม่ได้ เหยียดขาได้ไม่สุด

2.2. กลุ่มกล้ามเนื้อ Hamstring

Hamstrings เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาด้านหลัง ซึ่งมีกล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกันอยู่ 3 มัด ได้แก่

  • กล้ามเนื้อ Biceps femoris
  • กล้ามเนื้อ Semitendinosus
  • กล้ามเนื้อ Semimembranosus

กลุ่มกล้ามเนื้อ Hamstrings มีหน้าที่ช่วยในการพับ/งอเข่า และเหยียดขา เป็นมัดกล้ามเนื้อที่มีความสำคัญ ในการ เดิน วิ่ง นั่งยองๆ และการย่อตัว

หากกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดต้นขาด้านหลัง

2.3. กล้ามเนื้อ Tibialis Anterior

เป็นกล้ามเนื้อหน้าแข้ง ที่อยู่บริเวณขาท่อนล่างด้านหน้า มีหน้าที่ช่วยในการบิดปลายเท้าเข้าด้านใน และเหยียดปลายเท้าออก

หากกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดการตึงเกร็ง จะส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณหน้าแข้ง

2.4. กล้ามเนื้อ Gastrocnemius

เป็นกล้ามเนื้อน่อง ที่อยู่บริเวณขาท่อนล่างด้านหลัง มีหน้าที่ช่วยในการเดิน วิ่ง และการยืนในท่าทางต่างๆ

หากกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดการตึงเกร็ง จะส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณน่อง

3. เส้นประสาท Sciatic nerve

เป็นเส้นประสาทที่อยู่บริเวณสะโพกไปจนถึงปลายเท้า มีหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณสะโพกไปจนถึงปลายเท้า

หากเส้นประสาทถูกรบกวน หรือกดทับ จะส่งผลให้เส้นประสาทไม่สามารถส่งสัญญาญไปเลี้ยงมัดกล้ามเนื้อขาได้ตามปกติ กล้ามเนื้อขาจะเกิดอาการเกร็งตัว และเกิดการปวด/ชา ร้าวลงขาถึงปลายเท้าได้

กลับสู่สารบัญ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

ปวดสะโพกร้าวลงขา มักเป็นภาวะที่เกิดจากการทำงาน หรือการอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานานๆ การบาดเจ็บบริเวณหลังล่าง ก้นกบ และสะโพกจากการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา หรือสามารถเกิดจากอุบัติเหตุกระแทก หรือมีการเหวี่ยงสะบัดของสะโพก ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณสะโพกได้รับการบาดเจ็บ

จนเกิดมีการสร้างพังผืดเข้ามาเกาะคลุมบริเวณดังกล่าว ทำให้กล้ามเนื้อ และข้อกระดูกบริเวณนั้นๆ เกิดอาการแข็ง ตึง ไม่ยืดหยุ่น เลือดไม่สามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ และมีอาการปวดสะโพกเกิดขึ้น

หากพังผืดที่เกาะคลุมเริ่มหนาจนไปรบกวนเส้นประสาทบริเวณข้างเคียง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการผิดปกติร้าวไปตามแนวของเส้นประสาทนั้นๆ เช่น ปวดร้าวลงขา ชาขา ขาล้า ขาอ่อนแรง และชานิ้ว เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดปวดสะโพกร้าวลงขามีดังนี้

1. การอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเวลานานๆ หรือใช้งานกล้ามเนื้อสะโพกในท่าเดิมนานๆ เช่น

  • การนั่งไขว่ห้างเป็นระยะเวลานาน
  • นั่งทำงานท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน
  • การนั่งบนเก้าอี้ที่ไม่รองรับกับสรีระเป็นระยะเวลานานๆ

ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลให้กล้ามเนื้อสะโพก เกิดอาการอ่อนล้า และเกร็งตัว จนเกิดเป็นผังผืดมาเกาะรัด เลือดจะไม่สามารถนำพาออกซิเจน และสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดอาการเกร็งตัวได้เต็มที่ ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ เกิดการอักเสบลึกๆ อยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณสะโพก เป็นๆ หายๆ จนในที่สุด จะปวดตลอดเวลา และไม่ทุเลาลง

2. การได้รับอุบัติเหตุ ได้แก่

2.1 การถูกกระแทก หรือกระชากบริเวณสะโพก หรือการล้มแล้วเอาก้นกระแทกพื้น

การประสบอุบัติเหตุในลักษณะนี้ แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ได้มีแผล หรือรอยฟกช้ำ หรืออาจจะมีรอยฟกช้ำเล็กน้อย และเมื่อได้มีการทำ X-ray หรือ MRI หลังการประสบอุบัติเหตุแล้ว อาจไม่พบว่ามีการเคลื่อน หรือการแตกหักของกระดูกบริเวณสะโพกก็ตาม แต่ข้อกระดูกบริเวณสะโพกนั้นๆ อาจได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ ส่งผลให้มีการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อกระดูก และทำให้มีการก่อตัวของพังผืดสะสมไปเรื่อยๆ จนลุกลามเข้าข้อกระดูกสะโพก จนในที่สุดทำให้ข้อสะโพกเกิดอาการแข็ง ยึดล็อค ไม่ยืดหยุ่น และหากพังผืดบริเวณนั้นๆ มีการเบียดไปรบกวน/กดทับเส้นประสาทจะส่งผลให้มีอาการปวดร้าวลงขาตามมา

3. การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือจากการเล่นกีฬา

  • การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่หนักเกินไป เช่น การยกเวทหนักๆ ที่เกินกว่ากล้ามเนื้อจะรับไหว
  • การที่ต้องซ้อมกีฬา หรือออกกำลังกายที่มีการเกร็งอยู่ในท่าเดิมนานๆ เช่น การทำสควอช
  • การออกกำลังกายที่ต้องมีการใช้สะโพกในการถีบ หรือเตะตลอดเวลา เช่น เทควันโด
  • การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาแล้วผิดจังหวะ เช่นการเตะฟุตบอล แล้วเกิดบิดสะโพกผิดจังหวะ เป็นต้น
  • การได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณสะโพกขณะเล่นกีฬา

เมื่อเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกขณะออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ จะเกิดการอักเสบ และเกร็งตัวขึ้น หากไม่รีบแก้ไข ร่างกายก็จะเริ่มสร้างพังผืดที่เกาะบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ ซึ่งหากปล่อยไว้จนพังผืดลุกลามไปเบียด หรือรบกวนเส้นประสาทที่เลี้ยงลงขา และเท้า ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ เช่น ปวดขา ชาขา แปล๊บร้าวลงขา เป็นต้น

แต่หากพังผืดลุกลามไปเกาะบริเวณข้อกระดูกสะโพก จะทำให้กระดูกช่วงสะโพก และต้นขาเกิดอาการแข็ง ไม่ยืดหยุ่น ขยับได้ไม่อิสระ ส่งผลให้กลายเป็นอาการสะโพกเสื่อม หรือสะโพกขาดเลือดได้ในอนาคต

4. ยกของหนัก ยกของผิดจังหวะ หลังยอก

การยกของหนักมากๆ เป็นประจำ หรือการยกของผิดท่า ผิดจังหวะ สามารถทำให้กล้ามเนื้อหลังล่าง และสะโพกเกิดการเกร็งตัว และอักเสบขึ้นได้ ซึ่งหากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดขึ้นมาเกาะรัดบริเวณข้อสะโพกที่ตึงเกร็ง ทำให้เลือดไม่สามารถนำสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดหลัง และสะโพกเป็นๆ หายๆ และหากพังผืดที่เกาะรัดได้เริ่มลุกลามไปรบกวน หรือกดทับเส้นประสาทที่เลี้ยงลงขา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา

กลับสู่สารบัญ

ทำไมการนวดสลายพังผืด จึงสามารถรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากหัวข้อก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่า หากกล้ามเนื้อบริเวณหลังล่าง ก้นกบ และสะโพก มีอาการเกร็งตัวอยู่เป็นระยะเวลานานจนเกิดการบาดเจ็บ และอักเสบ หรือการที่สะโพกได้รับแรงกระแทก หรือการเหวี่ยงสะบัดจนเกิดเป็นการอักเสบซ้ำๆ จะส่งผลให้เนื้อเยื่อรอบๆ สะโพกมีพังผืดไปยึดเกาะ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตึงกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก และเมื่อใดก็ตามที่พังผืดได้ลุกลามไปเบียด หรือรบกวนเส้นประสาทที่เลี้ยงลงขา และเท้า ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ เช่น ปวดลงขา ชาขา ขาอ่อนแรง นิ้วชา แปล๊บร้าวลงขา

ดังนั้นวิธีที่จะสามารถรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเป็นวิธีที่สามารถกำจัดพังผืด ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวดได้ และด้วยวิธีนวดแก้อาการของทางคลินิกนั้น จะโฟกัสการรักษาไปที่การสลายพังผืดบริเวณกล้ามเนื้อหลัง สะโพก รวมไปถึง เนื้อเยื่อรอบข้างข้อกระดูกสะโพก ที่เกิดอาการแข็ง เกร็งตัว จากการที่มีพังผืดไปเกาะรัด ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ เป็นการแก้ไขอาการที่รวดเร็ว และตรงจุด โดยไม่ต้องผ่าตัด

โดยเมื่อพังผืดถูกสลายออกแล้ว กล้ามเนื้อหลัง และสะโพกจะคลายตัวอย่างถาวร เลือดจะสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อได้ตามปกติ ข้อต่อที่เคยแข็ง เกร็ง ก็จะกลับมาเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม อาการปวดและอาการอักเสบก็จะหายไป ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และจะไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต สามารถกลับไปออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้เต็มที่ โดยไม่มีข้อห้าม หรือข้อจำกัดใดๆ

กลับสู่สารบัญ

ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด

การนวดสลายพังผืด เป็นวิธีการนวดแก้อาการด้วยศาสตร์เฉพาะของทาง ชนัชพันต์คลินิก ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดไทยทั่วไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการรักษาของทางคลินิกจะเน้นกำจัดสาเหตุหลักของอาการปวดสะโพกร้าวลงขาได้อย่างถาวร

อย่างไรก็ตามการรักษานี้ ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความเจ็บขณะนวด ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทนต่อความเจ็บได้ระดับหนึ่ง ซึ่งหากผู้ป่วยสามารถทนเจ็บได้มาก คุณหมอจะสามารถสลายพังผืดออกได้มาก ทำให้สามารถเห็นผการรักษาที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจนในระยะเวลาอันรวดเร็ว

นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่จะบอกได้ว่าผู้ป่วยจะหายเร็ว หรือช้านั้น คือระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการมา ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการแล้วรีบมารักษา การรักษาจะง่าย และเห็นผลค่อนข้างไว แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง หรือปล่อยให้มีอาการเป็นๆ หายๆ มาหลายครั้งโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาก็จะยาก และกินเวลานานหลายครั้ง

สำหรับผู้ป่วยที่สนใจมารักษาสามารถอ่านข้อพึงระวังในการรักษาด้วยวิธีสลายพังผืด ได้ที่นี่ สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีนวดแก้อาการสลายพังผืด

กลับสู่สารบัญ

บทส่งท้าย

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า อาการปวดสะโพกร้าวลงขา สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรม หรือกิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นประจำ ที่ทำให้กล้ามเนื้อหลัง และสะโพกเกิดการเกร็งตัว แข็งตึง และอักเสบสะสมเรื้อรังจนเกิดพังผืดไปเกาะรัด

ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ พังผืดจะถูกสลายออกได้ง่าย และเร็ว อาการปวดสะโพกร้าวลงขาจะดีขึ้นได้รวดเร็ว

แต่ในเคสของคุณวริษฐ์ ผู้ป่วยปวดสะโพกร้าวลงขาเรื้อรังมานาน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการรักษาระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับอาการปวดสะโพกทั่วไป แต่ผู้ป่วยเองก็มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดีขึ้น ถึงแม้จะต้องรักษาหลายครั้ง ซึ่งหากผู้ป่วยเข้าใจในหลักการการรักษา และมารักษาจนพังผืดถูกสลายออกได้หมด ก็มักจะได้รับผลลัพธ์ที่ดีอย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต