สารบัญเนื้อหา
- ประวัติการเจ็บป่วย
- ตำแหน่งกล้ามเนื้อที่พบปัญหาในอาการปวดเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่อง เส้นตึง
- สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่อง เส้นตึง
- ทำไมการนวดสลาย Trigger Point จึงสามารถรักษาอาการปวดเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่อง เส้นตึง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลาย Trigger Point
- บทส่งท้าย
ประวัติการเจ็บป่วย
คุณติยากร อายุ 38 ปี มาด้วยอาการปวดบริเวณรอบข้อเท้า โดยเฉพาะ ข้อเท้าด้านนอกข้างซ้าย ปวดตึงเอ็นร้อยหวาย และปวดน่องข้างซ้าย เมื่อกระดกปลายเท้าขึ้นจะปวดน่อง นั่งยองๆ ไม่ได้ จะมีอาการปวดน่อง และตึงเอ็นร้อยหวายข้างซ้าย ไม่สามารถเขย่งปลายเท้า และเดินลงน้ำหนักเท้าข้างซ้ายได้เต็มที่ (ลงน้ำหนักได้ประมาณ 80%)
สรุปอาการของผู้ป่วยมีดังนี้
- ปวดรอบข้อเท้าโดยเฉพาะ ข้อเท้าด้านนอก ข้างซ้าย
- ปวดตึงร้าวขึ้นอ็นร้อยหวาย ข้างซ้าย
- ปวดร้าวขึ้นน่อง ข้างซ้าย
- กระดกปลายเท้าขึ้นจะปวดน่อง ข้างซ้าย
- นั่งยองๆ ไม่ได้จะมีอาการปวดน่อง และตึงเอ็นร้อยหวาย ข้างซ้าย
- เขย่งปลายเท้า ข้างซ้าย ได้ไม่เต็มที่
- เดินลงน้ำหนักที่เท้าข้างซ้ายได้ไม่เต็มที่ (ลงน้ำหนักได้ประมาณ 80เปอร์เซนต์)
ผู้ป่วยมีอาการมาประมาณ 3 เดือน และได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ มา ดังนี้
- แพทย์แผนปัจจุบัน โดยการรับประทานยาแก้ปวด
- บริหารร่างกายด้วยการปั่นจักรยาน
- บรรเทาอาการด้วยการนวดรักษาอาการปวดข้อเท้าด้วยตัวเอง
- หลังจากทำการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว อาการไม่ดีขึ้น
จนผู้ป่วยได้ลองศึกษาวิธีการรักษาแพทย์ทางเลือกอื่นๆ จนมีคนแนะนำให้มารักษากับ ชนัชพันต์คลินิก ผู้ป่วยมีความสนใจจึงได้ลองเข้ารับการรักษากับทางชนัชพันต์คลินิก และมีอาการเปลี่ยนแปลงดังนี้
หลังเข้ารับการรักษาไป 1 ครั้ง :
- อาการผู้ป่วยดีขึ้น
- ไม่ค่อยปวดรอบข้อเท้า และข้อเท้าด้านนอกแล้ว
- อาการตึงเอ็นร้อยหวายข้างซ้าย ยังมีอยู่แต่ปวดลดลงกว่าเดิม
- อาการปวดน่องข้างซ้าย ยังมีอยู่แต่ปวดลดลงกว่าเดิม
- กระดกข้อเท้าแล้วปวดน่องลดลงประมาณ 50% จากตอนแรก
- นั่งยองๆ แล้วอาการปวดน่อง และตึงเอ็นร้อยหวายลดลง
- เขย่งปลายเท้าได้มากขึ้น
- สามารถเดินลงน้ำหนักได้มากขึ้นประมาณ 90 %
หลังเข้ารับการรักษาไป 2 ครั้ง :
- ปวดรอบข้อเท้าโดยเฉพาะ ข้อเท้าด้านนอกข้างซ้าย หายไป
- ปวดตึงร้าวขึ้นอ็นร้อยหวายข้างซ้าย หายไป
- ปวดร้าวขึ้นน่องข้างซ้าย หายไป
- กระดกปลายเท้าขึ้นจะปวดน่องข้างซ้าย หายไป
- นั่งยองๆ แล้วอาการปวดน่อง และตึงเอ็นร้อยหวายข้างซ้าย หายไป
- เขย่งปลายเท้าข้างซ้าย ได้เต็มที่
- เดินลงน้ำหนักที่เท้าข้างซ้ายได้เต็มที่ 100 %
- ดีได้นาน 1 ปี หลังการรักษา ก่อนจะกลับมารักษาใหม่ด้วยอาการอื่น
ตำแหน่งกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่พบปัญหาจากอาการปวดเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่อง เส้นตึง
จากการตรวจวินิจฉัย อาการปวดข้อเท้าด้านนอก ร้าวขึ้นเอ็นร้อยหวาย และน่องข้างซ้ายของผู้ป่วย เกิดจากการบีบนวดตัวเองไม่ถูกท่า ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนั้นๆ
ซึ่งบริเวณที่บาดเจ็บนั้นจะมีพังผืดมาเกาะรัด ทำให้เส้นเอ็นรอบข้อเท้าขยับได้ไม่เต็มที่เหมือนดังปกติ และทำให้มีการอักเสบ ปวดตึงตามมา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อเท้าด้านนอก ร้าวขึ้นเอ็นร้อยหวาย และน่องข้างซ้าย ขณะขยับในบางจังหวะ ในเคสนี้จะเป็นจังหวะของการเดินลงน้ำหนัก การเขย่งปลายเท้า
และหากพังผืดได้ไปรบกวนเส้นประสาทบริเวณรอบข้าง ก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ ซึ่งในเคสนี้ คือ เส้นประสาท Sural nerve
ซึ่งจะขออธิบายตำแหน่งของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ที่ส่งผลต่ออาการปวดข้อเท้าด้านนอก ดังนี้
1.กลุ่มเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้า ได้แก่
- เส้นเอ็น Calcaneofibular ligament (CFL)
- เส้นเอ็น Anterior talofibular ligament (ATFL)
- เส้นเอ็น Posterior talofibular ligament (PTFL)
2.กลุ่มกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณขาท่อนล่าง ได้แก่
- เส้นเอ็น Achilles tendon
- กล้ามเนื้อ Gastrocnemius muscles
- กล้ามเนื้อ Fibularis Longus
- กล้ามเนื้อ Fibularis Bravis
1. กลุ่มเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้า ได้แก่
1.1. เส้นเอ็น Calcaneofibular ligament (CFL)
- ตำแหน่ง : เอ็นชุดนี้จะอยู่บริเวณข้อเท้าด้านนอก ใกล้ๆ กับ บริเวณกระดูกส้นเท้า
- การทำงาน : เป็นเส้นเอ็นที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของข้อเท้า มีหน้าที่ช่วยในการกระดกปลายเท้าขึ้น-ลง และบิดข้อเท้าเข้าด้านใน
หากเส้นเอ็นชุดนี้เกิดการบาดเจ็บ จะทำให้มีอาการปวดตาตุ่มด้านนอก หรือที่เรียกว่า “อาการข้อเท้าแพลงด้านนอก” และอาจมีอาการบวมของข้อเท้า หรือตาตุ่มร่วมด้วย การบาดเจ็บของเอ็นชุดนี้มักเกิดจากการเล่นกีฬา หรือล้มแล้วบิดเท้าเข้าด้านใน ซึ่งมักเกิดขึ้นร่วมกับ เส้นเอ็น Anterior talofibular ligament (ATFL)
1.2. เส้นเอ็น Anterior talofibular ligament (ATFL)
- ตำแหน่ง : เอ็นชุดนี้จะอยู่บริเวณข้อเท้าด้านนอก เป็นเส้นเอ็นที่เกาะอยู่บริเวณข้อเท้า ตรงกระดูกข้อเท้า (Talus Bone) และกระดูกน่อง (Fibula Bone)
- การทำงาน : เป็นเส้นเอ็นที่ช่วยในการทำหน้าที่บิดข้อเท้าเข้าด้านใน และการกระดกปลายเท้าลง
เส้นเอ็นนี้มักจะเกิดการบาดเจ็บได้บ่อยที่สุด ซึ่งเมื่อเกิดการบาดเจ็บแล้ว จะทำให้เกิดอาการปวด และบวมรอบบริเวณตาตุ่มด้านนอก และไม่สามารถลงน้ำหนักเท้าได้เต็มที่
1.3. เส้นเอ็น Posterior talofibular ligament (PTFL)
- ตำแหน่ง : เอ็นชุดนี้จะอยู่บริเวณข้อเท้าด้านหลัง เป็นเส้นเอ็นที่เกาะอยู่บริเวณ กระดูกหน้าแข้งด้านปลาย (Malleolar Fossa) บริเวณตาตุ่มด้านนอก และลากมาเกาะกระดูก Talus
- การทำงาน : เป็นเส้นเอ็นที่ช่วยในการสร้างความแข็งแรงให้ข้อเท้า ทำหน้าที่ในการบิดข้อเท้าเข้าด้านใน
หากเส้นเอ็นชุดนี้เกิดการบาดเจ็บ จะทำให้มีอาการปวดตาตุ่มด้าน
2. กลุ่มกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณขาท่อนล่าง ได้แก่
2.1. เส้นเอ็น Achilles tendon (เอ็นร้อยหวาย)
- ตำแหน่ง : เป็นเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณขาท่อนล่างด้านหลัง ใต้กล้ามเนื้อน่องยาวไปจนถึงกระดูกส้นเท้า
- การทำงาน : ทำหน้าที่ในการเดิน วิ่ง กระโดด การเคลื่อนไหวขาท่อนล่าง และ การกระดกปลายเท้าขึ้น
หากเส้นเอ็นชุดนี้เกิดการเกร็งตัว จะทำให้เกิดการปวดตึงบริเวณเอ็นร้อยหวายได้
2.2. กล้ามเนื้อ Gastrocnemius muscles
- ตำแหน่ง : กล้ามเนื้อมัดนี้เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณน่อง
- การทำงาน : ทำหน้าที่ช่วยในการเดิน วิ่ง กระโดด และ และการยืนท่าทางต่างๆ
เมื่อกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดอาการเกร็งตัว จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตึง เมื่อย หรือปวดบริเวณน่อง
3.3. กล้ามเนื้อ Fibularis Longus
- ตำแหน่ง : กล้ามเนื้อมัดนี้เป็นกล้ามเนื้อที่ลากยาวจากเข่าด้านนอกไปจนถึงข้อเท้าด้านนอก
- การทำงาน : เป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ช่วยพยุงอุ้งเท้าด้านนอก และช่วยในการกระดกปลายเท้าขึ้น และลงด้วย
หากกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดการเกร็งตัว จะส่งผลให้เกิดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อขาด้านนอก
3.4. กล้ามเนื้อ Fibularis Brevis
- ตำแหน่ง : กล้ามเนื้อมัดนี้เป็นกล้ามเนื้อที่ลากผ่านกระดูกน่อง (Fibula bone) ผ่านกระดูกส้นเท้า (Calcaneus tarsal bone) ไปจนถึงด้านนิ้วก้อยเท้า
- การทำงาน : เป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยในการทำหน้าที่ในการบิดข้อเท้าออกจากลำตัว และการกระดกปลายเท้าขึ้น
หากกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดการบาดเจ็บ จะส่งผลให้เกิดอาการปวดไปตามแนวเส้นเอ็นรอบข้อเท้าด้านนอก และยังทำให้ข้อเท้าด้านนอกเกิดการบวมได้อีกด้วย
กลับสู่สารบัญสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่อง เส้นตึง
อาการปวดข้อเท้าด้านนอก มีได้หลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย การประสบอุบัติเหตุเท้าพลิก เท้าแพลง การอยู่ในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะนานๆ ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อเท้า เกิดการบาดเจ็บและเกร็งตัว และอักเสบ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยจะมีดังนี้
1. การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่มีการใช้ข้อเท้าหนักๆ เช่น การเตะฟุตบอล หรือกีฬาที่มีการกระโดดมากๆ เช่น บาสเก็ตบอล เป็นต้น หรือการออกกำลังกายที่มีการล้มเสียจังหวะ หรือการที่ไม่ได้วอร์มข้อเท้าให้พร้อมก่อนเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ทำให้ข้อเท้าได้รับการบาดเจ็บในขณะออกกำลังกาย
2. การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับสรีระข้อเท้าหรือฝ่าเท้า
เช่น การใส่รองเท้าที่รัดแน่นเกินไป การใส่รองเท้าที่พื้นรองเท้าเป็นแอ่ง ไม่เรียบ การใส่รองเท้าส้นสูง เป็นต้น
การใส่รองเท้าที่ไม่ถูกสรีระต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เอ็นร้อยหวาย และกล้ามเนื้อน่องถูกใช้งานหนัก จนเกิดอาการล้า และเกิดปม trigger point ในบริเวณเหล่านี้ขึ้น ซึ่งปม trigger point จะไปขัดขวางไม่ให้สารอาหาร และออกซิเจนถูกลำเลียงไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวายเกิดอาการ เมื่อย ตึง ปวด ขึ้นได้
3. อุบัติเหตุที่เกิดบริเวณข้อเท้า
เช่น การเดินสะดุดแล้วข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง การเดินตกท่อ การถูกของหนักตกใส่เท้า การเดินแล้วเท้าด้านนอกไปกระแทกชนกับมุมโต๊ะหรือเก้าอี้
ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ มักจะทำให้เอ็นบริเวณเท้าเกิดการบาดเจ็บ และเกิดเป็นปม trigger point ขึ้น ซึ่งปม trigger point นี้จะไปขัดขวางทำให้เลือดไม่สามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บได้เต็มที่ ผู้ป่วยจะปวดข้อเท้าเป็นๆ หายๆ เพราะอาการอักเสบยังคงมีอยู่ด้านใน ไม่หายไป
และเมื่อเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ อักเสบจนถึงระดับหนึ่ง ร่างกายจะสร้างพังผืดมาเกาะรัด ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบริเวณนั้นๆ เกิดอาการแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น เกิดอาการยึดล็อค ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดแปล็บเวลาขยับข้อเท้า หรือไม่สามารถขยับข้อเท้าได้เต็มที่
กลับสู่สารบัญทำไมการนวดสลาย Trigger Point จึงสามารถรักษาอาการเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่อง เส้นตึง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากหัวข้อก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่า หากกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นรอบบริเวณเข่า มีอาการเกร็งตัวอยู่เป็นระยะเวลานานจนเกิดการบาดเจ็บ และเกิดเป็นปม trigger point ขึ้น กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณนั้นจะไม่สามารถได้รับสารอาหาร และออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้กล้ามเนื้อ และเอ็นนั้นๆ เกิดอาการล้า อ่อนแอ และมีอาการตึง ปวด ในที่สุด
หรือหากกล้ามเนื้อ หรือเอ็นรอบข้อเท้าเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การโดนกระแทก หรือจากอุบัติเหตุต่างๆ เนื้อเยื่อบริเวณที่บาดเจ็บนั้น จะเกิด trigger point ขึ้น และจะเริ่มมีพังผืดมาเกาะรัด ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเกิดอาการแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่
ดังนั้นวิธีที่จะสามารถรักษาอาการเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย และปวดน่อง เส้นตึง ได้มีประสิทธิภาพจะต้องเป็นวิธีที่สามารถกำจัดปม trigger point ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวด ตึง อักเสบออกได้
และด้วยวิธีนวดแก้อาการของทางคลินิกนั้น จะโฟกัสการนวดไปที่การสลาย trigger point บริเวณกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นรอบบริเวณข้อเท้า ที่ทำให้เกิดอาการปวด ตึง อักเสบ เป็นหลัก ซึ่งเป็นการแก้ไขอาการที่รวดเร็ว และตรงจุด โดยไม่ต้องผ่าตัด
โดยเมื่อ trigger point ถูกสลายออกแล้ว กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นก็จะคลายตัวอย่างถาวร เลือดก็จะสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อได้ตามปกติ อาการปวดเกร็ง และอาการอักเสบก็จะหายไป ผู้ป่วยก็จะกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และจะไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต สามารถกลับไปออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้เต็มที่ โดยไม่มีข้อห้าม หรือข้อจำกัดใดๆ
รีวิวการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม
ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลาย Trigger point
การนวดสลาย trigger point เป็นวิธีการนวดแก้อาการด้วยศาสตร์เฉพาะของทางคลินิก ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดไทยทั่วไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการรักษาของทางคลินิกจะเน้นกำจัดสาเหตุหลักของอาการปวดเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่องเส้นตึงได้อย่างถาวร
อย่างไรก็ตามการรักษานี้ ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความเจ็บขณะนวด ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทนต่อความเจ็บได้ระดับหนึ่ง ซึ่งหากผู้ป่วยสามารถทนเจ็บได้มาก คุณหมอจะสามารถสลาย trigger point ออกได้มาก ทำให้สามารถเห็นผลการรักษาที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจนในระยะเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่จะบอกได้ว่าผู้ป่วยจะหายเร็ว หรือช้านั้น คือระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการมา ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการแล้วรีบมารักษา การรักษาจะง่าย และเห็นผลค่อนข้างไว แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง หรือปล่อยให้มีอาการเป็นๆ หายๆ มาหลายครั้งโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาก็จะยาก และกินเวลานานหลายครั้ง
สำหรับผู้ป่วยที่สนใจมารักษาสามารถอ่านข้อพึงระวังในการรักษาด้วยวิธีสลาย trigger point ได้ที่นี่ สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีนวดแก้อาการสลายพังผืด
กลับสู่สารบัญบทส่งท้าย
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า อาการเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่อง เส้นตึง สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรม หรือกิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นประจำ ที่ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบข้อเท้าเกิดการเกร็งตัว แข็งตึง และอักเสบสะสม จะทำให้มีอาการปวดน่อง และตึงเอ็นร้อยหวายได้
ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ จุดต้นเหตุของการปวด อักเสบ ซึ่งก็คือปม trigger point จะถูกสลายออกได้ง่าย และรวดเร็ว อาการเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดน่อง เส้นตึง ก็จะดีขึ้นได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว และเมื่อรักษาจนหายสนิทแล้ว อาการจะดีขึ้นได้อย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต