รีวิวผลลัพธ์ การรักษาอาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก และข้อเท้าบวม

ปวดข้อเท้า วิธีรักษา

ประวัติการเจ็บป่วย

คุณพรเทพ อายุ 32 ปี มีอาการปวดข้อเท้า และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • ปวดตาตุ่มด้านนอก ข้างขวา
  • ข้อเท้าบวม บริเวณตาตุ่มด้านนอก
  • ตึงเอ็นร้อยหวาย ข้างขวา
  • ตึงน่อง ข้างขวา
  • เมื่อบิดข้อเท้าขวาออกด้านนอก จะมีอาการเจ็บแปล๊บ

จากประวัติ ผู้ป่วยมีอาการข้อเท้าพลิกจากการเตะฟุตบอล และเริ่มมีอาการปวดข้อเท้ามาเรื่อยๆ เป็นๆ หายๆ มาตลอด 1 ปี โดยผู้ป่วยได้เคยเข้ารับการรักษาด้วยวิธี

  • แพทย์แผนปัจจุบัน โดยวิธีการรับประทานยาลดปวด และลดการอักเสบ
  • หลังเข้ารับการรักษา อาการดีขึ้นช่วงหนึ่ง แต่กลับมาเป็นอีก ไม่หายขาด

ผู้ป่วยจึงได้ค้นหาวิธีรักษาทางเลือก จนได้มาเจอชนัชพันต์คลินิก และตัดสินใจมารักษา โดยมีอาการเปลี่ยนแปลงดังนี้

หลังเข้ารับการรักษาไป 1 ครั้ง :

  • ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นมาก
  • ไม่มีอาการปวดตาตุ่มเท้าด้านนอก ข้างขวาแล้ว
  • ไม่มีอาการบวมบริเวณตาตุ่มเท้าด้านนอก ข้างขวาแล้ว
  • บิดข้อเท้าออกด้านนอก ไม่เจ็บแปล๊บแล้ว
  • ยังมีอาการตึงน่อง และเอ็นร้อยหวาย ข้างขวา เล็กน้อย
  • ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน และเล่นกีฬาได้เต็มที่
  • ผู้ป่วยสามารถห่างการรักษาได้นาน 1 ปี

ผู้ป่วยห่างการรักษาไป 1 ปี และเริ่มมีอาการกลับมาอีกครั้ง ซึ่งอาการจะคล้ายๆ เดิม คืออาการปวดข้อเท้าขวาด้านนอก ปวดตาตุ่มขวาด้านนอก ตึงเอ็นร้อยหวาย และน่องขวา และเวลาบิดข้อเท้าออกจะเจ็บ เนื่องจากการเล่นกีฬาฟุตบอล

หลังจากเข้ารับการรักษาครั้งที่ 2 (ห่างจากครั้งแรก 1 ปี) :

  • อาการดีขึ้นมาก
  • ไม่มีอาการปวดตาตุ่มเท้าด้านนอก ข้างขวาแล้ว
  • ไม่มีอาการบวมบริเวณตาตุ่มเท้าด้านนอก ข้างขวาแล้ว
  • บิดข้อเท้าออกด้านนอก ไม่เจ็บแล้ว
  • ไม่ตึงน่อง และเอ็นร้อยหวาย ข้างขวาแล้ว
  • ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และกลับไปเตะฟุตบอลได้อย่างเต็มที่
  • ผู้ป่วยสามารถห่างการรักษาได้ 1 ปี ก่อนกลับมารักษาอีกครั้ง เพราะอาการปวดข้อเท้าข้างซ้ายจากการเล่นกีฬา
กลับสู่สารบัญ

ตำแหน่งกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่พบปัญหาในอาการเอ็นข้อเท้าอักเสบ ปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่ม

อาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก เท้าบวม ในเคสของผู้ป่วยท่านนี้ เกิดจากการที่กล้ามเนื้อข้อเท้า และเอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุข้อเท้าพลิก ทำให้เกิดพังผืดเข้าไปเกาะรัดเนื้อเยื่อบริเวณที่บาดเจ็บ ส่งผลให้กล้ามเนื้อ และเอ็นบริเวณนั้นเกิดอาการแข็ง ยึดล็อค ไม่ยืดหยุ่น ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อขยับข้อเท้าในบางอิริยาบถ

นอกจากนี้ การที่พังผืดไปเกาะรัดเนื้อเยื่อบริเวณรอบข้อเท้า จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ไม่สามารถได้รับสารอาหาร และออกซิเจนจากเลือดได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ เกิดการอักเสบเรื่อยๆ อยู่ ด้านในตลอดเวลา จนเมื่อการอักเสบมากจนถึงจุดหนึ่ง จะเกิดอาการข้อเท้าบวม และไม่ยุบลงง่ายๆ

และเมื่อกล้ามเนื้อ และเอ็นบริเวณข้อเท้าถูกพังผืดเกาะรัดมากๆ ร่างกายจำเป็นต้องใช้เอ็น และมัดกล้ามเนื้อใกล้เคียง มาช่วยข้อเท้าในการขยับ ส่งผลให้เอ็น และมัดกล้ามเนื้อรอบข้างเกิดอาการล้า และบาดเจ็บตามไปด้วย อาการปวดจึงลุกลามไปยังกล้ามเนื้อ และเอ็นรอบข้าง เช่น เอ็นร้อยหวาย น่อง ขา เป็นต้น

โดยตำแหน่งที่พบการบาดเจ็บบ่อยๆ จะมีดังนี้

1. กลุ่มเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้า ได้แก่

  • เส้นเอ็น Calcaneofibular ligament (CFL)
  • เส้นเอ็น Anterior talofibular ligament (ATFL)

2. กลุ่มกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณขาท่อนล่าง ได้แก่

  • เส้นเอ็น Achilles tendon
  • กล้ามเนื้อ Gastrocnemius muscles
  • กล้ามเนื้อ Fibularis Longus
  • กล้ามเนื้อ Fibularis Bravis

3. เส้นประสาท ได้แก่

  • เส้นประสาท Sural Nerve

 

1. กลุ่มเส้นเอ็นบริเวณข้อเท้า ได้แก่

1. เส้นเอ็น Calcaneofibular ligament (CFL)

เอ็นชุดนี้จะอยู่บริเวณข้อเท้าด้านนอก ใกล้ๆ กับ บริเวณกระดูกส้นเท้า เป็นเส้นเอ็นที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงของข้อเท้า มีหน้าที่ช่วยในการกระดกปลายเท้าขึ้น-ลง และบิดข้อเท้าเข้าด้านใน

หากเส้นเอ็นชุดนี้เกิดการบาดเจ็บ จะทำให้มีอาการปวดตาตุ่มด้านนอก หรือที่เรียกว่า “อาการข้อเท้าแพลงด้านนอก”และอาจมีอาการบวมของข้อเท้า หรือตาตุ่มร่วมด้วย การบาดเจ็บของเอ็นชุดนี้ มักเกิดจากการเล่นกีฬา หรือล้มแล้วบิดเท้าเข้าด้านใน ซึ่งมักเกิดขึ้นร่วมกับ เส้นเอ็น Anterior talofibular ligament (ATFL)

2. เส้นเอ็น Anterior talofibular ligament (ATFL)

เอ็นชุดนี้จะอยู่บริเวณข้อเท้าด้านนอก เป็นเส้นเอ็นที่เกาะอยู่บริเวณข้อเท้า ตรงกระดูกข้อเท้า และกระดูกน่อง เป็นเส้นเอ็นที่ช่วยในการทำหน้าที่บิดข้อเท้าเข้าด้านใน และการกระดกปลายเท้าลง

เส้นเอ็นนี้มักจะเกิดการบาดเจ็บได้บ่อยที่สุดจากอาการขาพลิก ขาแพลง ซึ่งเมื่อเกิดการบาดเจ็บแล้ว จะทำให้เกิดอาการปวด และบวมรอบบริเวณตาตุ่มด้านนอก และไม่สามารถลงน้ำหนักเท้าได้เต็มที่

2.กลุ่มกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณขาท่อนล่าง ได้แก่

1. เส้นเอ็น Achilles tendon

เป็นเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณขาท่อนล่างด้านหลัง ใต้กล้ามเนื้อน่องยาวไปจนถึงกระดูกส้นเท้า ทำหน้าที่ในการเดิน วิ่ง กระโดด การเคลื่อนไหวขาท่อนล่าง และ การกระดกปลายเท้าขึ้น

หากเส้นเอ็นชุดนี้เกิดการเกร็งตัว จะทำให้เกิดการปวดตึงบริเวณเอ็นร้อยหวายได้

2. กล้ามเนื้อ Gastrocnemius muscles

กล้ามเนื้อมัดนี้เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณน่อง ทำหน้าที่ช่วยในการเดิน วิ่ง กระโดด และ และการยืนท่าทางต่างๆ

เมื่อกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดอาการเกร็งตัว จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการตึง เมื่อย หรือปวดบริเวณน่อง

3. กล้ามเนื้อ Fibularis Longus

กล้ามเนื้อมัดนี้เป็นกล้ามเนื้อที่ลากยาวจากเข่าด้านนอกไปจนถึงข้อเท้าด้านนอก เป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ช่วยพยุงอุ้งเท้าด้านนอก และช่วยในการกระดกปลายเท้าขึ้น และลงด้วย

หากกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดการเกร็งตัว จะส่งผลให้เกิดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อขาด้านนอก

4. กล้ามเนื้อ Fibularis Brevis

กล้ามเนื้อมัดนี้เป็นกล้ามเนื้อที่ลากผ่านกระดูกน่อง และผ่านกระดูกส้นเท้า ไปจนถึงกระดูกด้านนิ้วก้อยเท้า เป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยในการทำหน้าที่ในการบิดข้อเท้าออกจากลำตัว และการกระดกปลายเท้าขึ้น

หากกล้ามเนื้อมัดนี้เกิดการบาดเจ็บ จะส่งผลให้เกิดอาการปวดไปตามแนวเส้นเอ็นรอบข้อเท้าด้านนอก และยังทำให้ข้อเท้าด้านนอกเกิดการบวมได้อีกด้วย

3. เส้นประสาทที่เกี่ยวข้อง

1. เส้นประสาท Sural Nerve

เส้นประสาท Sural Nerve เป็นเส้นประสาทส้นเท้า ที่แตกแขนงออกมาจาก Tibial Nerve ลากยาวตั้งแต่เอ็นร้อยหวาย ไปจนถึงปลายเท้าด้านนิ้วก้อย ทำหน้าที่รับความรู้สึก บริเวณตาตุ่มด้านนอกเท้า ส้นเท้า และข้อเท้า

หากเส้นประสาท Sural Nerve ถูกรบกวน จะทำให้มีอาการปวดตาตุ่มด้านนอกเมื่อมีการบิดเท้าออก

กลับสู่สารบัญ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก ข้อเท้าบวม

1. การเล่นกีฬา

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่มีการใช้ข้อเท้าหนักๆ เช่น การเตะฟุตบอล หรือกีฬาที่มีการกระโดดมากๆ เช่น บาสเก็ตบอล เป็นต้น หรืออาจจะเกิดจากการล้มเสียจังหวะ หรืออาจเกิดจากการที่ไม่ได้วอร์มข้อเท้าให้พร้อมก่อนเล่นกีฬา

2. การใส่รองเท้าส้นสูง

การใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ และใส่ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้เอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อน่องถูกใช้งานหนัก จนเกิดอาการล้า และเกิดปม trigger point ในบริเวณเหล่านี้ ซึ่งปม trigger point จะไปขัดขวางไม่ให้สารอาหาร และออกซิเจนถูกลำเลียงไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวาย เกิดอาการ เมื่อย ตึง ปวด ขึ้นได้

3. อุบัติเหตุที่เกิดบริเวณข้อเท้า

อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยได้แก่ ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง ข้อเท้าซ้น รวมถึงการเดินตกท่อ อุบัติเหตุเหล่านี้ มักจะทำให้เอ็นบริเวณข้อเท้าเกิดการปริ หรือฉีกขาดเล็กน้อย ซึ่งร่างกายจะสร้างพังผืดไปเกาะคลุมบริเวณที่บาดเจ็บในเวลาต่อมา พังผืดที่ไปเกาะคลุมนั้นๆ จะขัดขวางไม่ให้เลือดนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บได้เต็มที่ ผู้ป่วยจะปวดข้อเท้าเป็นๆ หายๆ เพราะอาการอักเสบยังคงมีอยู่ด้านใน ไม่หายไป

และเมื่อพังผืดเริ่มเกาะรัดมากขึ้น เส้นเอ็นบริเวณนั้นๆ จะ เกิดอาการแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น เกิดอาการยึดล็อค ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดแปล็บเวลาขยับข้อเท้า หรือไม่สามารถขยับข้อเท้าได้เต็มที่

กลับสู่สารบัญ

ทำไมการนวดสลายพังผืด และ trigger point จึงสามารถรักษาอาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก ข้อเท้าบวม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาด้วยวิธีการนวดสลายพังผืด และ trigger point นั้น สามารถรักษาอาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก ข้อเท้าบวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการกำจัดที่ต้นเหตุหลักของอาการปวด และอาการตึงโดยตรง ซึ่งได้แก่

ปม trigger point ซึ่งคือปมกล้ามเนื้อที่เกิดหลังจากที่กล้ามเนื้อน่อง และเอ็นร้อยหวายเกิดการเกร็งตัวสะสม ซึ่งในเคสนี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยอยู่ในอิริยาบทที่ไม่เหมาะสมจากการเล่นกีฬาเป็นเวลานาน เมื่อเกิด trigger point ขึ้น เลือดจะไม่สามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอ่อนแอ อักเสบ และเกิดอาการปวดอยู่บ่อยๆ ไม่หายขาด

พังผืด จะเกิดขึ้นเมื่อเอ็นข้อเท้าบริเวณนั้นๆ เกิดการบาดเจ็บ ปริ หรือฉีกขาด ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถนำพาสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้สะดวก ผู้ป่วยจะมีอาการอักเสบในข้อเท้าอยู่ตลอด และอาจทำให้มีอาการข้อเท้าบวมเป็นๆ หายๆ

และหากปล่อยไว้ ไม่ได้รักษาให้ตรงจุด พังผืดจะเริ่มลุกลามไปเกาะตามแนวกล้ามเนื้อรอบข้าง เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้างจะต้องทำงานหนักขึ้น และเริ่มบาดเจ็บตาม (เพราะเอ็นมัดที่เคยถูกใช้ง่ายถูกพังผืดเกาะจนแข็ง และไม่ยืดหยุ่น ไม่สามารถใช้งานได้ดีดังเดิม ร่างกายจึงต้องใช้กล้ามเนื้อรอบๆ ช่วยทำงานมากขึ้น)

เมื่อพังผืดลุกลามจนเกาะรัดบริเวณเอ็นและกล้ามเนื้อในหลายๆ จุดของข้อเท้า ข้อเท้าจะเกิดการยึดล็อค ไม่สามารถขยับได้เต็มที่ เกิดอาการปวดเวลาขยับ เดิน วิ่ง หรือมีอาการปวดแปล็บเวลาเดินลงน้ำหนัก

ดังนั้นการรักษาที่จะตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการ กำจัดเอาพังผืด และคลายปม trigger ออก เมื่อพังผืดถูกสลายทิ้ง และเมื่อ trigger point ถูกคลายออกจนหมด กล้ามเนื้อบริเวณน่อง และเอ็นร้อยหวาย รวมถึงเอ็นบริเวณข้อเท้า จะกลับมายืดหยุ่น และมีสุขภาพดีดังเดิม อาการปวด ตึง และเจ็บแปล๊บบริเวณน่องไปจนถึงข้อเท้าก็จะหายไป และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต

กลับสู่สารบัญ

ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด และ trigger point

การนวดสลายพังผืด เพื่อรักษาอาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก ข้อเท้าบวม เป็นอีกหนึ่งการรักษาทางเลือก สำหรับผู้ที่มีอาการดังกล่าว แต่ไม่อยากทานยาไปตลอด ไม่อยากผ่าตัด หรือรักษามาหลายวิธีแต่อาการยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร

การรักษาด้วยวิธีนวดสลายพังผืด และ trigger point นี้เป็นการกำจัดถึงต้นตอของอาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก ข้อเท้าบวมได้อย่างตรงจุด แต่ถึงแม้ว่าการรักษาด้วยการนวดนี้จะสามารถรักษาอาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก ข้อเท้าบวม ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จริง แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความเจ็บที่เกิดขึ้นขณะรักษา และการรักษาในหลายเคสจะเป็นการรักษาต่อเนื่องที่ไม่ได้มาเพียง 1 ครั้งแล้วหายขาดทันที เพราะฉะนั้นผู้ป่วยจำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลการรักษาเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์แก่ตัวู้ป่วยเอง โดยสามารถอ่านรายละเอียดการรักษาก่อนเข้าใช้บริการได้ที่นี่ สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีนวดแก้อาการสลายพังผืด

กลับสู่สารบัญ

บทส่งท้าย

จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า อาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก ข้อเท้าบวม สามารถเกิดขึ้นได้อุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขาพลิก ขาแพลง หรือการออกกำลังกาย/เล่นกีฬาแล้วเกิดการบาดเจ็บ ทำให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นรอบข้อเท้าเกิดการเกร็งตัว แข็งตึง เกิดเป็น trigger oint และพังผืดขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดข้อเท้า เอ็นร้อยหวาย และน่องได้

ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ trigger point และพังผืดจะถูกสลายออกได้ง่ายและเร็ว อาการปวดข้อเท้า ปวดตาตุ่มด้านนอก ข้อเท้าบวม ก็จะดีขึ้นได้รวดเร็ว ได้รับผลลัพธ์ที่ดีอย่างถาวร ไม่ลุกลาม และกลายเป็นอาการที่ทรุดหนักต่อไป และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต