สารบัญเนื้อหา
- ประวัติการเจ็บป่วย
- ตำแหน่งกล้ามเนื้อที่พบปัญหาในอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบักร่วมด้วย
- สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบักร่วมด้วย
- ทำไมการนวดสลายพังผืด และ Trigger point จึงสามารถรักษาอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบักร่วมด้วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด และ Trigger point
- บทส่งท้าย
ประวัติการเจ็บป่วย
จากประวัติคุณสุวสี อายุ 45 ปี มีอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักข้างซ้าย เป็นๆหายๆ มาตลอดระยะเวลา 5 ปี สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ผู้ป่วยนั่งทำงานในท่าเดิม เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกัน เนื่องจากผู้ป่วยต้องทำงานหน้าคอมอยู่ตลอด เมื่ออาการสะสมมากขึ้น จึงทำให้มีอาการชาแขนซ้ายในบางอิริยาบถ และจะมีอาการแสบร้อนสะบักข้างซ้ายเพิ่มขึ้นมา และจะมีอาการเมื่อยคอ และ ปวดสะบักซ้ายมากขึ้น ในท่าโน้มตัว หรือก้มตัว
ขอสรุปอาการของผู้ป่วยมี ดังนี้
- ปวดเมื่อยต้นคอ
- ปวดสะบักซ้าย
- แสบร้อนสะบักซ้าย
- ชาแขนซ้าย
- เมื่อโน้มตัว หรือก้มตัว จะมีอาการปวดเมื่อย และชามากขึ้น
ผู้ป่วยมีอาการปวดเมื่อยเรื้อรังมานาน 5 ปี ซึ่งในระหว่างนั้น ผู้ป่วยได้เคยเข้ารับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- รักษาแพทย์แผนปัจจุบัน ด้วยการรับประทานยา
- หลังเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว อาการไม่ดีขึ้น
ผู้ป่วยจึงได้ลองค้นหาวิธีการรักษาแพทย์ทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถรักษาอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบัก จากใน Google จนมาเจอกับ ชนัชพันต์คลินิก จึงได้ตัดสินใจมาเข้ารับการรักษา โดยมีอาการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หลังเข้ารับการรักษาไป 2 ครั้ง :
- ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นประมาณ 90 %
- ไม่มีอาการปวดเมื่อยต้นคอแล้ว
- อาการปวดสะบักซ้ายลดลง
- อาการแสบร้อนสะบักซ้ายลดลง จะแสบร้อนเฉพาะตอนนั่งนานๆ
- ไม่มีอาการชาแขนซ้ายแล้ว
- เมื่อโน้มตัว หรือก้มตัว ไม่มีอาการปวดเมื่อย และชาแล้ว
หลังเข้ารับการรักษาครั้งที่ 4 :
- ผู้ป่วยอาการดีขึ้น 100% และดีได้นาน 2 ปี
- ไม่มีอาการปวดเมื่อต้นคอแล้ว
- ไม่มีอาการปวดสะบักซ้าย
- ไม่มีอาการแสบร้อนสะบักซ้าย เวลานั่งนานๆ
- ไม่มีอาการชาแขนซ้ายแล้ว
- เมื่อโน้มตัว หรือก้มตัว ไม่มีอาการปวดเมื่อย และชาแล้ว
ตำแหน่งกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่พบปัญหาจากอาการเมื่อยคอ ปวดสะบัก และแสบร้อนสะบัก
สำหรับผู้ป่วยท่านนี้ มีอาการเมื่อยคอ ปวด และแสบร้อนสะบัก จากการนั่งทำงานท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อ คอ บ่า สะบัก เกิดการตึง และเกร็งตัว จนเกิดเป็นปมในกล้ามเนื้อที่เรียกว่า trigger point ขึ้น ปม trigger point นี้จะไปขัดขวางไม่ให้เลือดนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้เต็มที่ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น เกิดอาการเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่คลายตัวออก ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกปวดมากขึ้น
และเมื่อกล้ามเนื้อบริเวณนั้น เริ่มมีการสะสมของ trigger point มากขึ้น ร่างกายจะสร้างพังผืดไปเกาะคลุมบริเวณนั้นๆ ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้น แข็งเป็นก้อน ไม่ยืดหยุ่น และหากปล่อยไว้ ไม่รักษา พังผืดจะเริ่มลุกลามไปบริเวณรอบข้าง
ซึ่งในเคสนี้ ผู้ป่วยมีปม Trigger point และ พังผืด ทั้งในบริเวณคอ บ่า และสะบัก ทำให้มีอาการเมื่อยต้นคอ และปวดสะบักเป็นๆ หายๆ และมีอาการแสบร้อนสะบัก และชาลงแขนข้างซ้าย
ซึ่งจะขออธิบายตำแหน่งของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท ที่ส่งผลต่ออาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบัก ดังนี้
1. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ ได้แก่
- กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid
- กล้ามเนื้อ Scalene
2. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก ได้แก่
- กล้ามเนื้อ Supraspinatus
- กล้ามเนื้อ Infraspinatus
3. กลุ่มกล้ามเนื้อหลังช่วงบน ได้แก่
- กล้ามเนื้อ Trapezius
- กลุ่มกล้ามเนื้อ Rhomboid
4. เส้นประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- เส้นประสาท Radial nerve
1. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ ได้แก่
1.1. กล้ามเนื้อ Scalene
เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณซอกคอด้านข้าง เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็ก 3 ชุด มีหน้าที่ในการช่วยหมุนคอ เอียงศีรษะ และก้มศีรษะ
หากกล้ามเนื้อ scalene เกิดการตึงตัว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณคอ บ่า สะบัก และหากกล้ามเนื้อมัดนี้ มีอาการเกร็งตัวจนไปเบียดเส้นประสาทรอบข้าง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดร้าวลงแขนร่วมด้วย
1.2. กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid
กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid เป็นมัดกล้ามเนื้อที่ลากจากฐานกะโหลกศีรษะด้านข้าง ไปเกาะบริเวณกระดูกไหปลาร้า
กล้ามเนื้อมัดนี้ จะช่วยในการเอียงศีรษะ และหมุนต้นคอ หากกล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid เกิดอาการเกร็งตัว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเมื่อยคอ และบ่า และหากกล้ามเนื้อมัดนี้เกร็งตัวจนไปบีบรัด หรือรบกวนเส้นประสาทข้างเคียง จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการชาลงแขนได้
2. กลุ่มกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก ได้แก่
2.1. กล้ามเนื้อ Supraspinatus
เป็นกล้ามเนื้อบริเวณขอบบนของสะบัก และหัวไหล่ ช่วยในการยก และกางแขน หากมีการยกของหนัก หรือต้องกางแขนนานๆ จะทำให้เกิดการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อชุดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดสะบักช่วงบน
2.2. กล้ามเนื้อ Infraspinatus
เป็นกล้ามเนื้อขอบสะบักด้านใน ทำหน้าที่ช่วยพยุงให้ข้อไหล่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และช่วยในการหมุนหัวไหล่ หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีอาการตึงเกร็ง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดสะบักด้านใน
3. กลุ่มกล้ามเนื้อหลังช่วงบน ได้แก่
3.1 กล้ามเนื้อ Trapezius
เป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่ครอบคลุม ตั้งแต่ต้นคอจนถึงกึ่งกลางหลัง และครอบคลุมไปถึงสะบักทั้ง 2 ข้าง มีหน้าที่ในการช่วงดึงกล้ามเนื้อคอ และ หลังให้ตั้งตรง ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ Trapezius ช่วงบน ผู้ป่วยมักจะมีอาการตึงกล้ามเนื้อช่วง คอ บ่า และไหล่
3.2 กลุ่มกล้ามเนื้อ Rhomboid
จะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ Rhomboid Minor และ กล้ามเนื้อ Rhomboid Major ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อยึดระหว่างสะบัก 2 ข้าง เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยในการทำท่าดึง และยกของเข้าหาลำตัว
ดังนั้นหากกลุ่มกล้ามเนื้อ Rhomboid เกิดอาการเกร็งตัว จะทำให้มีอาการปวดร้าวบริเวณขอบสะบักด้านใน (ด้านที่ใกล้กับกระดูกสันหลัง)
4. เส้นประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
4.1 เส้นประสาท Radial nerve
เป็นเส้นประสาทส่วนปลายที่อยู่บนิเวณรักแร้ด้านหลัง และทอดผ่านแขนท่อนบน มีหน้าที่ รับความรู้สึกบริเวณ แขน ข้อมือ และมือ เมื่อเส้นประสาทนี้ถูกรบกวน หรือถูกกดทับ จะส่งผลให้เกิดอาการชาบริเวณแขนในบางอิริยาบถได้
กลับสู่สารบัญสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบักร่วมด้วย
อาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย และแสบร้อนสะบัก มักเป็นภาวะที่เกิดจากการทำงาน หรือการอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานานๆ การบาดเจ็บบริเวณต้นคอจากการออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา หรือสามารถเกิดจากอุบัติเหตุกระแทก และมีการเหวี่ยงสะบัดของกระดูกต้นคอ ทำให้กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อบริเวณต้นคอเกิดอาการเกร็งตัว และมีปม trigger point เกิดขึ้น
ซึ่งปม trigger point นี้จะไปขัดขวางไม่ให้เลือดนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้เต็มที่ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นเกิดอาการเกร็งตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่คลายออก และในที่สุดร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดเข้ามาเกาะรัดบริเวณดังกล่าว
เมื่อมีพังผืดเกาะรัดมากในระดับหนึ่ง กล้ามเนื้อ และข้อกระดูกบริเวณนั้นๆ จะเกิดอาการแข็ง ตึง ไม่ยืดหยุ่น เกิดอาการเมื่อย ปวดบริเวณนั้นๆ
และหากพังผืดมีการลุกลามไปยังบริเวณกล้ามเนื้อรอบข้าง ก็จะทำให้อาการปวดขยายบริเวณออกไปที่บ่า สะบัก หากพังผืดที่เกาะรัดเริ่มหนาตัวจนไปรบกวนเส้นประสาทบริเวณข้างเคียง ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการผิดปกติร้าวไปตามแนวของเส้นประสาทนั้นๆ เช่น ปวดร้าวลงแขน ชาลงแขน หรือแสบร้อนไปตามแนวสะบัก เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบักร่วมด้วย มีดังนี้
1. การอยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นเวลานานๆ หรือใช้งานกล้ามเนื้อต้นคอในท่าเดิมนานๆ เช่น
- การทำงานหน้าจอคอมนานๆ โดยที่กล้ามเนื้อต้นคอเกร็งอยู่ในท่าเดิมทั้งวัน
- การที่จอคอมอาจไม่ได้อยู่ในระดับสายตา จึงทำให้ต้องมีการก้ม หรือเงยคออยู่ตลอดเวลา
- การก้มใช้โทรศัพท์ การก้มคอทำงานเป็นระยะเวลานาน
- การนอนตะแคงบนหมอนสูงๆ
- การสะพายของหนักๆ บนบ่าเป็นประจำ หรือการแบกของหนักขึ้นบ่า
ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าว ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอและบ่า เกิดอาการอ่อนล้า และเกร็งตัว จนเกิดเป็นปมที่เรียกว่า Trigger Point ซึ่งเมื่อเกิดปมนี้ ร่างกายจะไม่สามารถนำพาออกซิเจน และสารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดอาการเกร็งตัวได้เต็มที่ ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ เกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดบริเวณคอ และบ่าเป็นๆหายๆ และเมื่อมีการอักเสบขึ้นเรื่อยๆ ร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดเข้ามาเกาะรัดเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ มีอาการแข็ง ยึดล็อค ไม่ยืดหยุ่น และส่งผลเกิดอาการปวดเมื่อยเมื่อมีการขยับ
2. การได้รับอุบัติเหตุ ได้แก่
2.1 การประสบอุบัติเหตุในยานพาหนะ ไม่ว่าจะเป็นการขับชนรถผู้อื่น หรือถูกรถผู้อื่นชนท้าย หรือการประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำของพาหนะโดยสาร เป็นต้น
การประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์นั้น ในหลายๆ ครั้ง ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเมื่อยคอ ปวดสะบัก หรือ แสบร้อนสะบักในทันที แต่มักจะเป็นเหตุให้เกิดอาการเมื่อยคอ ปวดสะบัก แสบร้อนสะบัก ในภายหลัง กล่าวคือ
เมื่อประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์นั้น ข้อกระดูกต้นคอจะถูกเหวี่ยงสะบัด และเกิดบาดเจ็บ แต่ในผู้ป่วยหลายๆ เคส ไม่ได้มีอาการปวดคอ ปวดสะบักทันที หรือถ้ามีก็อาจจะมีแค่อาการคอเคล็ดเล็กน้อย และดีขึ้นเองในภายหลัง ทั้งนี้เพราะ ตรงบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บนั้น ยังไม่มีพังผืดมาเกาะหนาในทันทีหลังจากเกิดเหตุ ผู้ป่วยจึงยังไม่มีอาการปวดเมื่อยคอ และ ปวดสะบัก และกว่าผู้ป่วยจะเริ่มรู้ตัว ก็มักจะเป็นเวลาหลายปีต่อมา เพราะพังผืดเริ่มเกาะคลุมเนื้อเยื่อบริเวณกล้ามเนื้อรอบข้อกระดูกต้นคอ และกล้ามเนื้อสะบัก จนหนา และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ และสะบักเกิดอาการแข็งเกร็ง ไม่ยืดหยุ่น ปวด และอักเสบ และพัฒนาเป็นอาการชาแขน และแสบร้อนสะบักได้ในที่สุด
2.2 การถูกกระแทก หรือถูกกระชากบริเวณคอบ่า ไหล่ หรือการล้มแล้วเอาไหล่ หรือแขนกระแทกพื้น
การประสบอุบัติเหตุในลักษณะนี้ แม้ว่าผู้ป่วยจะไม่ได้มีแผล และรอยฟกช้ำ หรืออาจจะมีแต่แผล หรือรอยฟกช้ำเล็กน้อย และเมื่อได้มีการทำ x-ray หรือ mri หลังการประสบอุบัติเหตุแล้ว อาจไม่พบว่ามีการเคลื่อนของกระดูกคอก็ตาม แต่กล้ามเนื้อรอบข้อกระดูกต้นคออาจได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ ส่งผลให้มีการอักเสบบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ บริเวณดังกล่าว และทำให้มีการก่อตัวของพังผืดสะสมไปเรื่อยๆ จนลุกลามเข้ากล้ามเนื้อบ่า สะบัก ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อกระดูกคอ และสะบักเกิดอาการแข็ง ไม่ยืดหยุ่น มีการอักเสบ และมีอาการปวดเกิดขึ้น และตึงเกร็งจนไปกดทับเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการชาแขน และแสบร้อนสะบักในที่สุด
3. การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หรือจากการเล่นกีฬา ได้แก่
- การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่หนักเกินไป เช่น การยกเวทหนักๆ ที่เกินกว่ากล้ามเนื้อจะรับไหว
- การที่ต้องซ้อมกีฬา และมีการเกร็งอยู่ในท่าเดิมนานๆ
- การไม่ได้ยืดเหยียดร่างกายให้พร้อมก่อนการเล่นกีฬา
- การออกกำลังกายที่ไม่ถูกท่า
- การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาแล้วผิดจังหวะ เช่นการทำท่า head stand แล้วเผลอหมุน/บิดคอ เป็นต้น
- การได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณคอบ่าขณะเล่นกีฬา เช่น การชกมวยโดนที่กราม/หน้า/ศีรษะ การเล่นบาสเก็ตบอลแล้วโดนกระแทกเข้าที่ไหล่ เป็นต้น
เมื่อเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อคอบ่าขณะออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬา กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ จะเกิดการอักเสบ และเกร็งตัวขึ้น หากไม่รีบแก้ไข ร่างกายก็จะเริ่มสร้างพังผืดที่เกาะบริเวณที่เคยเกิดการบาดเจ็บ ซึ่งหากปล่อยไว้จนพังผืดลุกลาม จะส่งผลให้มีอาการปวดเมื่อยคอ และสะบักได้ และหากพังผืดเริ่มไปเบียด หรือรบกวนเส้นประสาทที่เลี้ยงลงแขน ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ เช่น ปวดลงแขน แขนชา เป็นต้น
กลับสู่สารบัญทำไมการนวดสลายพังผืด และ Trigger point จึงสามารถรักษาอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบัก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากหัวข้อก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่า หากกล้ามเนื้อต้นคอมีอาการเกร็งตัวอยู่เป็นระยะเวลานานจนเกิดการบาดเจ็บ และอักเสบ หรือการที่ต้นคอได้รับแรงกระแทก หรือการเหวี่ยงสะบัดจนเกิดเป็นการอักเสบซ้ำๆ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบๆ กระดูกต้นคอ และกล้ามเนื้อสะบัก มีความตึงเกร็งจนขมวดเป็นปม กลายเป็น Trigger point ส่งผลให้เลือดนำสารอาหาร และออกซิเจน ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณคอ และสะบักได้ไม่เต็มที่ จึงเป็นเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเมื่อยต้นคอ และปวดสะบักได้
เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ และสะบักเกิดอาการเกร็งตัวแบบไม่คลายตัว เป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดขึ้นมาเกาะบริเวณที่มีการตึงเกร็งนั้นๆ และเมื่อพังผืดลุกลามไปเกาะบริเวณกล้ามเนื้อรอบข้อกระดูกต้นคอ และสะบัก จะทำให้กระดูกต้นคอเกิดอาการแข็ง ไม่ยืดหยุ่น ขยับได้ไม่อิสระ ส่งผลให้เกิดการอักเสบ และปวดเมื่อยเวลาขยับคอ และสะบัก และหากพังผืดบริเวณดังกล่าวเริ่มไปกดทับเส้นประสาท ผู้ป่วยจะเกิดอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ ซึ่งในเคสนี้คือ อาการชาลงแขน และแสบร้อนตามแนวสะบักได้
ดังนั้นวิธีที่จะสามารถรักษาอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบักได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องเป็นวิธีที่กำจัดพังผืด และ Trigger point ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบักได้ และด้วยวิธีนวดแก้อาการของทางคลินิกนั้น จะโฟกัสการนวดไปที่การสลายพังผืด และ Trigger point บริเวณ กล้ามเนื้อต้นคอ และสะบัก ที่เกิดอาการแข็ง เกร็งตัว จากการที่มีพังผืดไปเกาะรัด ซึ่งเป็นการแก้ไขอาการที่รวดเร็ว และตรงจุด โดยไม่ต้องผ่าตัด
โดยเมื่อพังผืด และ Trigger point ถูกสลายออกแล้ว กล้ามเนื้อก็จะคลายตัวอย่างถาวร เลือดก็จะสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อได้ตามปกติ ข้อต่อที่เคยแข็ง ก็จะกลับมาเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม อาการปวดเกร็ง และอาการผิดปกติตามแนวเส้นประสาท ซึ่งได้แก่ อาการชาแขน และอาการแสบร้อนสะบักก็จะหายไป ผู้ป่วยจะกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอีกครั้ง และจะไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต สามารถกลับไปออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้เต็มที่ โดยไม่มีข้อห้าม หรือข้อจำกัดใดๆ
รีวิวการรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม
ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลายพังผืด และ Trigger point
การนวดสลายพังผืด และ Trigger point เป็นวิธีการนวดแก้อาการด้วยศาสตร์เฉพาะของทางคลินิก ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดไทยทั่วไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการรักษาของทางคลินิกจะเน้นกำจัดสาเหตุหลักของอาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบักอย่างถาวร
อย่างไรก็ตามการรักษานี้ ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความเจ็บขณะนวด ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทนต่อความเจ็บได้ระดับหนึ่ง ซึ่งหากผู้ป่วยสามารถทนเจ็บได้มาก คุณหมอจะสามารถสลายพังผืด และ Trigger point ออกได้มาก ทำให้สามารถเห็นผลการรักษาที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจนในระยะเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่จะบอกได้ว่าผู้ป่วยจะหายเร็ว หรือช้านั้น คือระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการมา ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการแล้วรีบมารักษา การรักษาจะง่าย และเห็นผลค่อนข้างไว แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง หรือปล่อยให้มีอาการเป็นๆ หายๆ มาหลายครั้งโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาก็จะยาก และกินเวลานานหลายครั้ง
สำหรับผู้ป่วยที่สนใจมารักษา สามารถอ่านข้อพึงระวังในการรักษาด้วยวิธีสลายพังผืด และ Trigger point ได้ที่นี่ สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีนวดแก้อาการสลายพังผืด
กลับสู่สารบัญบทส่งท้าย
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า อาการเมื่อยคอ ปวดสะบักซ้าย แสบร้อนสะบัก สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรม หรือกิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นประจำ ที่ทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ และสะบัก เกิดการเกร็งตัว แข็งตึง และอักเสบสะสมเรื้อรังจนเกิด Trigger point และเกิดพังผืดไปเกาะรัด และเมื่อพังผืดลุกลามไปเกาะกล้ามเนื้อรอบข้อกระดูกต้นคอ และสะบัก จะทำให้สามารถพัฒนาไปเป็นอาการเมื่อยคอ ปวดสะบัก ชาแขน และ แสบร้อนสะบักได้
ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ พังผืด และ Trigger point จะถูกสลายออกได้ง่าย และเร็ว อาการเมื่อยคอ ปวดสะบัก แสบร้อนสะบัก และชาแขนจะดีขึ้นได้รวดเร็ว และจะไม่เป็นๆ หายๆ เรื้อรัง และไม่ทรุดหนักจนกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ในอนาคต