ประวัติการเจ็บป่วย
คุณสุวิมล อายุ 55 ปี ปวดเข่าข้างขวาด้านนอก มาประมาณ 2 เดือน สาเหตุเกิดจากการที่ผู้ป่วยออกกำลังกายโดยการทำเวทเทรนนิ่ง แล้วหัวเข่าขวาเกิดอุบัติเหตุกระแทก ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดเข่าขวาร้าวลงหน้าแข้งขวา งอเข่าขวาได้ไม่เต็มที่ และไม่สามารถนั่งท่าที่ต้องพับเข่าได้ เช่น ท่าคุกเข่า ท่าพับเพียบ นอกจากนี้ผู้ป่วยไม่สามารถลงน้ำหนักเข่าข้างขวาอย่างเต็มที่ได้ โดยเฉพาะขณะขึ้นลงบันได
สรุปอาการของผู้ป่วยมีดังนี้
- ปวดเข่าขวาด้านนอก
- ปวดร้าวลงหน้าแข้งขวา
- ปวดมากเมื่องอพับเข่า
- งอพับเข่าขวาได้ไม่เต็มที่
- นั่งท่าที่ต้องพับเข่าไม่ได้ เช่น คุกเข่า พับเพียบ
- ลงน้ำหนักเข่าข้างขวาได้ไม่เต็มที่ ขณะขึ้น – ลงบันได
ผู้ป่วยมีอาการมาได้ 2 เดือน และได้เข้ารับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ มาตลอด ดังนี้
- รักษากับแพทย์แผนปัจจุบัน
- รักษากับนักกายภาพบำบัด โดยการ Shock Wave, Ultrasound จำนวนทั้งสิ้น 3 ครั้ง
- อาการของผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร
ผู้ป่วยจึงได้ลองค้นหาใน Facebook เรื่องของการรักษาอาการปวดเข่า โดยการแพทย์ทางเลือก จนมาเจอกับ ชนัชพันต์คลินิก จึงได้ตัดสินใจมาเข้ารับการรักษา โดยมีอาการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
หลังเข้ารับการรักษาไป 2 ครั้ง :
- อาการดีขึ้นแทบ 100%
- อาการปวดเข่าขวาด้านนอกหายไป
- อาการปวดร้าวลงหน้าแข้งขวาหายไป
- งอเข่าได้สุด พับเข่าได้สุด โดยไม่เจ็บ
- สามารถนั่งคุกเข่า พับเพียบได้ปกติ
- สามารถลงน้ำหนักเข่าข้างขวาได้อย่างเต็มที่ แม้ขณะขึ้นลงบันได
ตำแหน่งกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่พบปัญหาจากอาการปวดเข่าข้างเดียว ปวดเข่าด้านนอก งอเข่าไม่สุด
จากการตรวจวินิจฉัยพบว่า อาการปวดเข่าขวาของผู้ป่วยเกิดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นรอบเข่า ซึ่งคาดว่ามาจากการออกกำลังกายที่ผิดจังหวะ หรือไม่ถูกท่า
ซึ่งบริเวณที่บาดเจ็บนั้นจะมีพังผืดมาเกาะรัด ทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าขยับได้ไม่เต็มที่เหมือนดังปกติ และทำให้มีการอักเสบ ปวดตึงตามมา ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าขณะขยับในบางจังหวะ ซึ่งในเคสนี้จะเป็นจังหวะของการขึ้นลงบันได้ รวมถึงส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถงอเข่า พับเข่าได้สุด
และหากพังผืดได้ลุกลามไปรบกวนเส้นประสาทบริเวณรอบข้าง ก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ ซึ่งในเคสนี้คือ การปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาทหน้าแข้ง
ซึ่งจะขออธิบายตำแหน่งของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่ส่งผลต่ออาการปวดเข่าด้านนอกร้าวลงหน้าแข้ง ดังนี้
1. กลุ่มกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณเข่า ได้แก่
1.1 เส้นเอ็นบริเวณรอบหัวเข่า
- เส้นเอ็น Lateral collateral ligament (เอ็นเข่าด้านนอก)
- เส้นเอ็น Medial collateral ligament (เอ็นเข่าด้านใน)
- เส้นเอ็น Anterior Cruciate Ligament (เอ็นไขว้หน้า)
- เส้นเอ็น Posterior Cruciate Ligament (เอ็นไขว้หลัง)
1.2 กล้ามเนื้อ Popliteus muscles
2. กลุ่มกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณขา ได้แก่
- เส้นเอ็น Iliotibial band
- กลุ่มกล้ามเนื้อ hamstring muscles
- กลุ่มกล้ามเนื้อ Quadriceps muscles
3. เส้นประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- เส้นประสาท Deep Tibia nerve
1. กลุ่มกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณหัวเข่า
1.1 เส้นเอ็นบริเวณรอบหัวเข่า ประกอบไปด้วย
1.1.1 เส้นเอ็น Medial collateral ligament (เอ็นเข่าด้านใน)
ตำแหน่ง : เป็นเอ็นข้อเข่าด้านใน (อยู่ด้านเดียวกับนิ้วโป้งเท้า)
1.1.2. เส้นเอ็น Lateral collateral ligament (เอ็นเข่าด้านนอก)
ตำแหน่ง : เป็นเอ็นข้อเข่าที่อยู่ด้านนอก (อยู่ด้านเดียวกับนิ้วก้อยเท้า)
การทำงาน : เอ็นเข่าด้านใน และเอ็นเข่าด้านนอก มีหน้าที่ในการยึดหัวเข่าให้อยู่ในตำแหน่งปกติ ช่วยในการหมุนข้อเข่า ป้องกันไม่ให้หัวเข่าแบะออกด้านนอก หรือในมากเกินไป ช่วยในการเดินบนพื้นเอียงได้ดี เช่น ไหล่ถนน
หากเส้นเอ็น 2 มัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิด อาการเจ็บหัวเข่าด้านนอก หรือเจ็บเข่าด้านใน เข่าบวม การขยับขาท่อนล่างทำได้ไม่เต็มที่ รู้สึกขัดๆ ที่ข้างเข่า
1.1.3. เส้นเอ็น Anterior Cruciate Ligament : ACL (เอ็นไขว้หน้า)
เอ็นไขว้หน้า เป็นเอ็นข้อเข่าที่อยู่ด้านหน้าเข่า โดเยเป็นเอ็นที่ยึดลูกสะบ้า และขาท่อนล่างไว้ มีหน้าที่ในการยึดเข่าให้อยู่ในตำแหน่งเดิม และสร้างความมั่นคงและแข็งแรงให้แก่เข่า และควบคุมการเคลื่อนไหวของเข่า ให้สามารถหมุนในทิศทางต่างๆ ได้ดี
หากเส้นเอ็นมัดนี้มีปัญหา หรือได้รับบาดเจ็บจนปริ หรือฉีกขาด จะส่งผลให้เข่าไม่สามารถรับน้ำหนักได้เต็มที่ เกิดเสียงในข้อเข่า อาจรู้สึกเข่าหลวม และทำให้มีปัญหาในการเดิน การวิ่ง และการเล่นกีฬาออกกำลังกายได้
1.1.4. เส้นเอ็น Posterior Cruciate Ligament : MCL (เอ็นไขว้หลัง)
เอ็นไขว้หลังเป็นเอ็นข้อเข่าที่อยู่ด้านหลังเส้นเอ็น Anterior Cruciate Ligament (เอ็นไขว้หน้า) มีหน้าที่ยึดเข่า และลูกสะบ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ป้องกันไม่ให้ขาท่อนล่างขยับผิดตำแหน่ง
หากเส้นเอ็นมัดนี้มีปัญหา หรือได้รับบาดเจ็บจนทำให้ปริ หรือฉีกขาด จะส่งผลให้เกิด อาการบวมที่บริเวณเข่า มีอาการปวดเข่ามาก งอเข่าได้ไม่สุด และมีการเดินลำบาก มักจะเดินกระเผลก รู้สึกเข่าไม่แข็งแรง เสียวในข้อเข่า มักจะเป็นอาการคล้ายๆ “เข่าทรุด”
1.2 กล้ามเนื้อ Popliteus
ตำแหน่ง : เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณด้านหลังข้อเข่า
การทำงาน : มีหน้าที่ในการหมุนข้อเข่า ช่วยให้การเคลื่อนไหวของต้นขาสัมพันธ์ไปกับขาท่อนล่าง และเป็นกล้ามเนื้อที่ช่วยในการงอเข่า
หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดข้อพับเข่า ปวดเข่าด้านข้าง อาจไม่สามารถหมุนข้อเข่า หรืองอเข่า/พับเข่าได้เต็มที่
2. กลุ่มกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นบริเวณต้นขา ได้แก่
2.1 เส้นเอ็น Iliotibial band หรือ ITB
Iliotibial band เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาด้านข้าง ตั้งแต่กระดูกสะโพกลากผ่านต้นขาไปจนถึงเข่าด้านนอก
มีหน้าที่ในการยืด และงอเข่า ซึ่งมีความสำคัญมากในการเดิน และวิ่ง
หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดเข่าด้านนอก ผู้ป่วยไม่สามารถยืด และงอเข่าได้ไม่เต็มที่ หรือมีอาการเจ็บเมื่อยืด และงอเข่าโดยเฉพาะเวลาเดิน หรือวิ่ง
2.2 กลุ่มกล้ามเนื้อ Hamstring muscles
Hamstrings เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาด้านหลัง ซึ่งมีกล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกันอยู่ 3 มัด ได้แก่
- กล้ามเนื้อ Biceps femoris
- กล้ามเนื้อ Semitendinosus
- กล้ามเนื้อ Semimembranosus
กลุ่มกล้ามเนื้อ Hamstrings มีหน้าที่ช่วยในการพับเข่า/งอเข่า เป็นมัดกล้ามเนื้อที่มีความสำคัญ ในการ เดิน วิ่ง นั่งยองๆ และ ย่อตัว
หากกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิด อาการปวดใต้พับเข่า หรือบางรายอาจมีอาการปวดต้นขาด้านหลังได้
2.3 กลุ่มกล้ามเนื้อ Quadriceps muscles
กลุ่มกล้ามเนื้อ Quadriceps muscles เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่บริเวณต้นขาด้านหน้า ซึ่งมีกล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกันอยู่ 4 มัด ได้แก่
- กล้ามเนื้อ Rectus femoris
- กล้ามเนื้อ Vastus intermedius
- กล้ามเนื้อ Vastus lateralis
- กล้ามเนื้อ Vastus medialis
กลุ่มกล้ามเนื้อ Quadriceps muscles มีหน้าที่ ช่วยในการเหยียดข้อเข่าให้ตรง ช่วยสร้างความมั่นคงให้แก่ลูกสะบ้า เป็นกลุ่มมัดกล้ามเนื้อที่มีความสำคัญ ในการ เดิน และ วิ่ง
หากกลุ่มกล้ามเนื้อมัดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดต้นขา ลงน้ำหนักที่ขามากไม่ได้ เหยียดขาได้ไม่สุด
3. เส้นประสาทต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
เส้นประสาท Deep Tibial nerve
เส้นประสาท Deep Tibial nerve เป็นเส้นประสาทที่อยู่บริเวณขาท่อนล่างด้านหน้า ใกล้กับกระดูก Tibia มีหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณขาด้านหน้าแข้งตั้งแต่ด้านเข่าไปจนถึงด้านปลายเท้า
หากเส้นประสาทชุดนี้มีปัญหา จะส่งผลให้เกิดอาการปวดร้าวบริเวณหน้าแข้ง
กลับสู่สารบัญสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่าข้างเดียว ปวดเข่าด้านนอก งอเข่าไม่สุด พับเข่าไม่สุด ปวดขณะขึ้นลงบันได
1. การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
การปวดเข่าสามารถเกิดจากการออกกำลังกาย หรือการเล่นกีฬา เช่น การวิ่ง การเตะฟุตบอล การเล่นบาสเก็ตบอล การตีแบด เป็นต้น
ซึ่งการเล่นกีฬาดังกล่าว จะมีการใช้หัวเข่าในการเคลื่อนไหวค่อนข้างมาก มีการใช้หัวเข่าเพื่อเปลี่ยนทิศทางแบบกระทันหัน หรืออาจมีการกระทบกระแทกจากการกระโดด หรือการปะทะกับผู้อื่น ส่งผลให้หัวเข่าเกิดอาการบาดเจ็บ และเกิดการอักเสบบริเวณเอ็น และกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าได้
2. การอยู่ในท่าทางที่ไม่ถูกสุขลักษณะเป็นระยะเวลานานๆ
ยกตัวอย่างเช่น การนั่งยองๆ การนั่งคุกเข่า นั่งท่าเทพบุตร/เทพธิดา หรือการนั่งขัดสมาธิเพชรเป็นระยะเวลานานๆ
ซึ่งการอยู่ในท่าทางเหล่านี้เป็นระยะเวลานานๆ นั้น จะส่งผลให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นรอบหัวเข่าเกิดเป็นปม trigger point ขึ้น ซึ่งปม trigger point นี้จะไปขวางกั้นไม่ให้เลือดสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ ได้เต็มที่ กล้ามเนื้อ และเอ็นจึงเกิดอาการล้า และปวดตึงขึ้นในที่สุด
3. อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่เข่า
ยกตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซด์ล้มเข่ากระแทกพื้น การหกล้มเข่ากระแทกพื้น การเดินขึ้น-ลงเขาแล้วหัวเข่าเกิดการผิดจังหวะ
ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ จะส่งผลให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ หรือเอ็นรอบข้อเข่า เมื่อปล่อยทิ้งไว้ร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดมาเกาะบริเวณนั้นๆ ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นๆ เกิดอาการแข็ง ไม่ยืดหยุ่น และอาจเกิดการยึดล็อคตามมา ส่งผลให้หัวเข่าไม่สามารถขยับ หรือ พับ/งอ ได้เต็มที่ และอาจมีอาการปวดร่วมด้วย
4. การปวดเข่าที่มีผลต่อเนื่องมาจากการปวดหลัง หรือสะโพก
อาการปวดเข่าข้างเดียวในหลายๆ ครั้งไม่ได้มีต้นเหตุในการปวดมาจากหัวเข่า แต่มันพลพวงมาจากการที่ผู้ป่วยเคยปวดหลัง หรือมีอาการปวดหลังเป็นประจำ
ทั้งนี้เกิดจากการกล้ามเนื้อหลัง สะโพก และเข่า มีความยึดโยงกัน ดังนั้นหากกล้ามเนื้อหลังเกิดอาการเกร็งตัวมากๆ จะสามารถดึงรั้งให้กล้ามเนื้อสะโพกเกิดอาการเกร็งตัวตาม และเมื่อกล้ามเนื้อสะโพกเกิดอาการหดรั้ง ก็จะดึงรั้งให้กล้ามเนื้อหัวเข่ามีปัญหาตามมา
กลับสู่สารบัญทำไมการนวดสลาย Trigger Point และ พังผืด จึงสามารถรักษาอาการปวดเข่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากหัวข้อก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่าหากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นรอบบริเวณเข่า มีอาการเกร็งตัวอยู่เป็นระยะเวลานานจนเกิดการบาดเจ็บ และเกิดเป็นปม trigger point ขึ้น กล้ามเนื้อและเอ็นบริเวณนั้นจะไม่สามารถได้รับสารอาหาร และออกซิเจนได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้กล้ามเนื้อและเอ็นนั้นๆ เกิดอาการล้า อ่อนแอ และมีอาการ ตึง ปวด ในที่สุด
นอกจากนี้ หากกล้ามเนื้อ หรือเอ็นรอบหัวเข่าเกิดการฉีกขาด จากการเล่นกีฬา การโดนกระแทก หรือจากอุบัติเหตุต่างๆ ร่างกายจะเริ่มสร้างพังผืดไปเกาะรัดบริเวณที่บาดเจ็บ ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเกิดอาการแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เต็มที่ดังเดิม ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเข่าเวลาขยับ และอาจมีอาการงอ/พับ/เหยียดได้ไม่สุด หรือไม่เต็มที่ และสามารถพัฒนากลายเป็น ข้อเข่าเสื่อมได้ในอนาคต
และเมื่อใดก็ตามที่พังผืดได้ลุกลามไปเบียดหรือรบกวนเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียง ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติไปตามแนวเส้นประสาทนั้นๆ ซึ่งในเคสนี้คือเส้นประสาท Tibial nerve ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดร้าวลงข้างหน้าแข้ง
ดังนั้นวิธีที่จะสามารถรักษาอาการปวดเข่าได้มีประสิทธิภาพ จะต้องเป็นวิธีที่สามารถกำจัดปม trigger point และ กำจัดพังผืด ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการปวด/ตึง/ชาได้ และด้วยวิธีนวดแก้อาการของทางคลินิกนั้น จะโฟกัสการนวดไปที่การสลาย trigger point และพังผืดบริเวณกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นรอบบริเวณเข่า ที่ทำให้เกิดอาการปวด ตึง ยึดล็อค เป็นหลัก ซึ่งเป็นการแก้ไขอาการที่รวดเร็วและตรงจุด โดยไม่ต้องผ่าตัด
โดยเมื่อ trigger point และพังผืดถูกสลายออกแล้ว กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นก็จะคลายตัวอย่างถาวร เลือดก็จะสามารถนำพาสารอาหาร และออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อได้ตามปกติ ข้อต่อกระดูกที่เคยแข็งล็อค ก็จะกลับมาเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม อาการปวดเกร็ง และอาการอักเสบก็จะหายไป ผู้ป่วยก็จะกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และจะไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต สามารถกลับไปออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาได้เต็มที่ โดยไม่มีข้อห้าม หรือข้อจำกัดใดๆ
ข้อควรรู้ก่อนการนวดสลาย trigger point และพังผืด
การนวดสลาย trigger point และพังผืด เป็นวิธีการนวดแก้อาการด้วยศาสตร์เฉพาะของทางคลินิก ซึ่งจะแตกต่างจากการนวดไทยทั่วไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการรักษาของทางคลินิกจะเน้นกำจัดสาเหตุหลักของอาการปวดเข่าได้อย่างถาวร
อย่างไรก็ตามการรักษานี้ ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของความเจ็บขณะนวด ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องเป็นผู้ที่สามารถทนต่อความเจ็บได้ระดับหนึ่ง ซึ่งหากผู้ป่วยสามารถทนเจ็บได้มาก คุณหมอจะสามารถสลายพังผืดออกได้มาก ทำให้สามารถเห็นผลการรักษาที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจนในระยะเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่จะบอกได้ว่าผู้ป่วยจะหายเร็ว หรือช้านั้น คือระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการมา ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยเพิ่งเริ่มมีอาการแล้วรีบมารักษา การรักษาจะง่าย และเห็นผลค่อนข้างไว แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยมีอาการเรื้อรัง หรือปล่อยให้มีอาการเป็นๆ หายๆ มาหลายครั้งโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การรักษาก็จะยาก และกินเวลานานหลายครั้ง
สำหรับผู้ป่วยที่สนใจมารักษา สามารถอ่านข้อพึงระวังในการรักษาด้วยวิธีสลายพังผืด ได้ที่นี่ สิ่งที่ต้องรู้ ก่อนเข้ารับการรักษา ด้วยวิธีนวดแก้อาการสลายพังผืด
กลับสู่สารบัญบทส่งท้าย
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า อาการปวดเข่า สามารถเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรม หรือกิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นประจำ ที่ทำให้กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นรอบเข่าเกิดการเกร็งตัว แข็งตึง และอักเสบสะสมเรื้อรังจนเกิดพังผืดไปเกาะคลุม และเมื่อพังผืดลุกลามไปเกาะข้อเข่า จะทำให้มีอาการปวด และตึงเกร็งของข้อเข่าได้
ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ พังผืดจะถูกสลายออกได้ง่าย และเร็ว อาการปวดเข่าก็จะดีขึ้นได้รวดเร็ว
แต่ในเคสของคุณสุวิมล ผู้ป่วยมีอาการหัวเข่าบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย และพังผืดได้มีการลุกลามไปรบกวนเส้นประสาทบริเวณรอบข้าง ซึ่งผู้ป่วยเองก็มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดีขึ้น และเมื่อได้ทำการรักษาจนพังผืดสลายออกจนหมด อาการจะดีขึ้นได้อย่างถาวร และไม่กลับมาเป็นซ้ำๆ อีกในอนาคต